รัฐต้องเร่งออกกฎหมาย "social housing"กัน10%บ้านจัดสรร-คอนโด
นักวิชาการแนะรัฐออกกฎหมาย " social housing" บังคับโครงการบ้านจัดสรร-คอนโด กัน 10 %ไว้เพื่อสังคม เตรียมรองรับสังคมสูงวัยสมบูรณ์
รศ.ไตรรัตน์ จารุทัศน์ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางการออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคนคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าว่า รัฐบาลควรสนับสนุนการปรับปรุงเพื่อผู้สูงอายุ อาทิ 1.ภาษีลูกกตัญญู 20,000 บาทแล้วต้องแบ่ง 2 คนน้อยไป ซึ่งเคยมีการทำวิจัยว่าปรับบ้านแต่ละครั้ง งบประมาณราว 50,000-1 แสนบาท จึงอยากให้มีสิทธิหักภาษีส่วนนี้ได้มากขึ้น โดยรัฐบาลจะได้ลดภาระในเรื่องค่ารักษาพยาบาล ที่จะเกิดขึ้นกรณีผู้สูงอายุหกล้ม 2.มีโครงการ”ช็อปช่วยชาติ”รุ่นลูกกตัญญู โดยเมื่อไปซื้ออุปกรณ์ปรับปรุงห้องน้ำ ราวจับ พื้น ลดราคาให้หรือยกเว้นภาษีให้ด้วยการไม่คิดVAT ซึ่งประเทศอื่นมีการดำเนินการ
และ3.ควรมีนโยบาย และออกกฎหมายเรื่อง social housingมารองรับ โดยบังคับโครงการบ้านจัดสรรหรือคอนโด ต้องกันไว้ 10 %เพื่อสังคม หรือเพื่อผู้สูงอายุ ที่มีการทำห้องน้ำเรียบเสมอกันมีราวจับ ในราคาเท่ากับคนปกติ คือสามารถอยู่ปะปนในห้อวทั่วไปได้ เช่น ประเทศสิงคโปร์ หากรับพ่อแม่มาอยู่ด้วย ให้สิทธิพิเศษในการเลือกก่อน ทำให้ได้ห้องที่มีการอออกแบบรองรับการอยู่อาศัยของผู้สูงอายุและราคาพิเศษ ซึ่งอนาคตผู้สูงอายุจะอยู่ร่วมกับลูกหลานอยาในโครงการ เนื่องจากในปี 2576 ประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุ 30 %ของประชากร
“รัฐเองยังเข้าใจผิดเรื่องผู้สูงอายุ คือ ยังมองเป็นฐานสงเคราะห์ ต้องจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ สร้างบ้านพักคนชรา ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็น แต่ไม่เห็นด้วยกับการจ่ายให้ทุกคน เพราะมีคนเดือดร้อนเพียง 10 % ส่วนอีก 90 % เก็บเงินส่วนนี้มาสร้างสวัสดิการแบบให้ลูกหลานลดภาษีซื้ออุปกรณ์ ลดVAT เพื่อให้ทุกคนดูแลตัวเองก็จะได้มากกว่า”รศ.ไตรรัตน์กล่าว
8 ด้านที่รัฐ-เอกชนต้องส่งเสริมสูงวัย
นพ.อัครฐาน จิตนุยานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันเวชศาสตร์ สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กล่าวว่า มาตรการที่รัฐและเอกชนต้องเตรียมดูแลรองรับสังคมผู้สูงอายุ โดยเฉพาะใน 8 ด้าน คือ 1.การจ้างงาน เพราะผู้สูงอายุเบางคนสมองดี มีประสบการณ์ เชี่ยวชาญ เป็นเหมือน Brain Bankยังสามารถทำงานได้ 2.การวางแผนการเงินของผู้สูงอายุ ปัจจุบันผู้สูงอายุรับเบี้ยสูงอายุราว 9.6 ล้านคน งบประมาณราว 8 หมื่นล้านบาท บำนาญราชการ 8แสนคน งบฯราว 3 แสนล้านบาท บำนาญชราภาพประกันสังคม 5.9 แสนคน งบฯ 2 หมื่นล้านบาท ซึ่งใน 3 กลุ่มยังมีความเหลื่อมล้ำมาก รัฐต้องมองถึงแนวทางที่จะให้ผู้สูงอายูอยู่ได้
3.ดูแลเรื่องการเดินทาง ปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้เอื้ออำนวย เช่น ทางลาดชัน ป้องกันอุบัติเหตุ เพื่อให้ผู้สูงอายุออกไปทำกิจกรรมได้ ไม่กลายเป็นติดบ้านติดเตียง 4.การใช้ชีวิต ต้องส่งเสริมให้ออกไปมีกิจกรรม ไม่ใช่อยู่แต่เฝ้าบ้าน 5.ดูเรื่อง Care Giver ในการดูแลกลุ่มติดบ้าน ติดเตียง 6.ดูเรื่อง care coordinator เช่น ผู้ดูแลผู้สูงอายุพาไปหาหมอ เป็นต้น 7.นำกลุ่มBrain Bank มาทำประโยชน์ และ8.เตรียมพร้อมEnd Of Life จะต้องให้ผู้สูงอายุร่วมตัดสินใจก่อนเสียชีวิตว่าต้องการทำอะไร เสียชีวิตแบบไหน และการทำพินัยกรรม