วช. ชู 8 ผลงานวิจัยจาก RUN ยกระดับสู่อาเซียน

วช. ชู 8 ผลงานวิจัยจาก RUN ยกระดับสู่อาเซียน

RUN นำ 8 ผลงานวิจัยเด่นจาก 8 มหาวิทยาลัยเครือข่ายฯ ร่วมโชว์ในงานแถลงข่าวการจัดงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2565” ตอบโจทย์ BCG ยกระดับสู่ภูมิภาคอาเซียน

เครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย (University Network : RUN) โดย นพ.วชิร คชการ ประธานเครือข่าย RUN ได้นำงานวิจัยบางส่วนจาก 8 มหาวิทยาลัย มาร่วมจัดแสดงนิทรรศการภายในงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2565 (Thailand Research Expo 2022) ครั้งที่ 17” เพื่อนำเสนอความก้าวหน้าผลงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่มีคุณภาพ เชื่อมโยงบูรณาการองค์ความรู้ไปสู่การใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ 

นพ.วชิร กล่าวว่า พันธกิจหลักของ RUN คือ มุ่งเน้นการประสานความร่วมมือและสร้างความเข้มแข็งในการวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มศักยภาพ และสร้างขีดความสามารถทางการศึกษา วิจัยและพัฒนา ของประเทศและยกระดับสู่ภูมิภาคอาเซียน 

วช. ชู 8 ผลงานวิจัยจาก RUN ยกระดับสู่อาเซียน

RUN

รวมทั้งประสานความร่วมมือในการพัฒนาศักยภาพนักวิจัย บัณฑิตศึกษา นักศึกษาและบุคลากรทางการวิจัยในการร่วมกันดำเนินงานทางด้านการวิจัย การแลกเปลี่ยนและใช้ทรัพยากร ตลอดจนปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยในระหว่างพันธมิตรการวิจัย รวมถึงสร้างและขยายเครือข่ายความร่วมมือด้านการวิจัยกับมหาวิทยาลัย ภาครัฐ ภาคเอกชนหรือเครือข่ายอื่น ๆ และถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีสู่สังคม ภาคผลิตและภาคบริการ

ซึ่งมหาวิทยาลัยในโครงการ ประกอบด้วย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยนเรศวร 

สำหรับในปีนี้ RUN ได้นำผลงานวิจัยเด่นกว่า 30 งานวิจัย และ คลัสเตอร์วิจัยทั้ง 10 คลัสเตอร์ ภายใต้แนวคิด “Driving BCG Economy Through R&I” นำผลงานวิจัยเด่น 8 ผลงาน จาก 8 มหาวิทยาลัยเครือข่าย มาร่วมจัดแสดงภายในงาน ได้แก่

วช. ชู 8 ผลงานวิจัยจาก RUN ยกระดับสู่อาเซียน

เที่ยวกรีน กินคลีน เสพศิลป์เมืองน่าน

  1. ชุดโครงการวิจัย เที่ยวกรีน กินคลีน เสพศิลป์เมืองน่าน: การสรรสร้างเมืองน่านเพื่อยกระดับสู่การท่องเที่ยวสีเขียวอย่างยั่งยืน (Creating Nan City toward Sustainable Green Tourism) โดย สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  2. ภาวะการดื้อยาต้านมาลาเรียทางชีวโมเลกุลในประเทศไทย ในทศวรรษที่ผ่านมา คณะเวชศาสตร์เขตร้อน โดย มหาวิทยาลัยมหิดล
  3. มาตรฐานสินค้าเกษตร (KU Standard) ข้อบังคับสำหรับการจัดการบ้านนกแอ่นกินรังตามการปฏิบัติที่ดีทางการเกษตร และการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางบำรุงผิวหน้าจากรังนก โดย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 
  4. อุปกรณ์ตรวจวัดมุมการเปลี่ยนแปลงการทรงตัวและแจ้งเตือนก่อนสูญเสียการทรงตัว โดย คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  5. ซุปสุขภาพจากข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วงผสมสมุนไพรต่อความจำขณะทำงาน การเหนื่อยล้า อาการตาแห้ง คุณภาพการนอนและโภชนาการส่วนบุคคล โดย มหาวิทยาลัยขอนแก่น  
  6. Gastronomy Tourism : LANNA Gastronomy "คิดถึงเชียงใหม่" โดย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
  7. การวิจัยเพื่อพัฒนาการผลิตปูทะเลตลอดห่วงโซ่อุปทานโดยการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อสร้างจังหวัดชายแดนภาคใต้สู่เมืองปูทะเล โดย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 
  8. ผลิตภัณฑ์สเปรย์พ่นปากผสมสารสกัดฟ้าทะลายโจรป้องกันการติดเชื้อไวรัส โดย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ทั้งนี้ ขอเชิญชวนอาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ  นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป เข้าร่วมชมการแสดงนิทรรศการผลงานวิจัย ของเครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย (Research University Network : RUN)  ในงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2565 (Thailand Research Expo 2022) ครั้งที่ 17 ” ซึ่งกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 – 5 สิงหาคม 2565 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ