"ใบสั่งจราจร" ส่งไปรษณีย์ถึงบ้าน เช็กแบบออนไลน์ ของจริง-ของปลอม
ตรวจสอบให้แล้ว "ใบสั่งจราจร" ส่งไปรษณีย์ถึงบ้าน เช็กแบบออนไลน์ ของจริง-ของปลอม
ฮอตโซเชียล "ใบสั่งจราจร" ส่งไปรษณีย์ถึงบ้าน เช็กแบบออนไลน์ ของจริง-ของปลอม จะรู้ได้อย่างไร
ตำรวจ PCT เตือนข่าวปลอมใบสั่งจราจรว่อนโซเชียล ย้ำใบสั่งจริงครั้งแรกจะมีรูปรถทะเบียน พร้อมข้อหากระทำผิดหากไม่ชำระภายใน 7 วัน ก่อนส่งใบเตือนถึงเจ้าของรถทางไปรษณีย์-ไม่มีภาพรถ โดยต้องมีตำรวจระดับสารวัตรขึ้นไปเซ็นกำกับ แจงสามารถตรวจสอบใบสั่งจริงได้
พ.ต.อ.ชินวุฒิ ตั้งวงษ์เลิศ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปอส.ตร.) หรือ PCT เปิดเผยว่า ตามที่มีข้อความปรากฏในช่องทางออนไลน์ พร้อมภาพใบสั่งจราจร ที่ส่งทางไปรษณีย์โดยไม่มีรูปภาพรถที่ได้กระทำความผิดกฎจราจร โดยข้อความระบุว่า “ค่าปรับจราจร จะต้องมีรูปรถเราตอนผิดกฎจราจรด้วยนะครับ ส่งเป็นใบแบบไม่มีรูป ไม่ใช่จดหมายราชการ แต่เป็นแก๊งค์ดูดเงินนะครับ เริ่มโดนกันแล้วภัยรูปแบบใหม่รับจดหมายลงทะเบียนแล้วเค้าให้สแกนคิวอาร์โค้ด โดนไปแสนกว่าบาทจากบัตรเครดิต เปลี่ยนจาก call center เป็นหนังสือราชการ ถึงตัวเลย ระวังห้ามสแกนบาร์โค้ดเด็ดขาด..ให้บอกคนในบ้านทุกคนด้วยอันตรายจริงๆ”
เรื่องนี้ขอชี้แจงว่า ข้อมูลดังกล่าว “เป็นข้อมูลเท็จ” ข้อเท็จจริงการออกใบสั่งเขียนหรือใบสั่ง อิเล็กทรอนิกส์ตาม พรบ.จราจรทางบกฯ มาตรา 140 และมาตรา 141 ที่ทำการส่งไปรษณีย์ไปยังเจ้าของรถ จะต้องทำการลงระบบ ptm ซึ่งครั้งแรกจะปรากฏรูปรถทะเบียน ข้อหาที่กระทำความผิดโดยระบบอัตโนมัติ ซึ่งหากไม่ชำระค่าปรับภายใน 7 วัน ทางระบบจะส่งใบเตือนไปยังเจ้าของรถทางไปรษณีย์ ซึ่งจะไม่มีภาพรถ ดังปรากฏตามภาพและข้อความที่แชร์ต่อกัน สาระสำคัญจะมีนายตำรวจระดับสารวัตรขึ้นไปเป็นผู้ลงนาม ประกอบกับข้อมูลการชำระค่าปรับทางระบบอิเล็กทรอนิกส์
ผู้ได้รับใบสั่งจราจร สามารถตรวจสอบความถูกต้อง ว่าเป็นใบสั่งจริง คลิกที่นี่
โทรสอบถามโดยตรงที่สถานีตำรวจที่ออกใบสั่งดังกล่าว ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ
หากต้องการตรวจสอบข้อมูลที่อาจถูกบิดเบือนหรือไม่ทราบแหล่งที่มาที่แน่ชัด ที่ส่งต่อกันในสังคมออนไลน์ สามารถตรวจสอบได้ที่ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย (Anti-Fake News Center Thailand) http://antifakenewscenter.com
หากพบเบาะแส หรือข้อสงสัยเรื่องภัยออนไลน์ต่างๆ สามารถแจ้งหรือสอบถามได้ที่ สายด่วน บช.สอท. 1441 หรือ ศูนย์ PCT 081-8663000 หรือผู้เสียหายสามารถแจ้งความผ่านระบบออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ thaipoliceonline และติดตามรูปแบบการประชาสัมพันธ์กลโกงได้ที่ pctpr.police.go.th