คำต่อคำ "ดร.ปริญญา" ฟันธง มติ กสทช. ควบรวม “ทรู-ดีแทค” จงใจละเมิดกฎหมาย
คำต่อคำ "ดร.ปริญญา" ฟันธง มติ กสทช.รับทราบ 3:2:1 เปิดทางให้ “ทรู-ดีแทค” ควบรวมแบบไร้รอยต่อ จงใจละเมิดกฎหมาย มีผลทำให้เกิดการผูกขาดคลื่นความถี่ที่เป็นสมบัติประชาชน ขยายความเหลื่อมล้ำในสังคม และเป็นสิ่งที่ประชาชนยอมไม่ได้
ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล นักวิชาการด้านกฎหมาย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิเคราะห์แง่มุมกฎหมาย กรณีมติคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. รับทราบ เปิดทางให้ “ทรู-ดีแทค” ควบรวมกิจการได้ ในเวทีเสวนา “ย้อนรอยอำนาจกสทช. หลังมติให้ควบรวมทรู-ดีแทค” ที่คณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 2 พ.ย.65 ที่ผ่านมา
ผศ.ดร.ปริญญา กล่าวว่า เรามี กสทช. ขึ้นมาเพื่อดูแลทรัพยากร ก็คือ คลื่นความถี่ เป็นทรัพยากรที่เป็นสมบัติของประเทศ คือเป็นของคนไทยทุกคน เราเห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่จําเป็นต้องมีองค์กรอิสระ ที่มีทั้งความสามารถในการจัดสรรทรัพยากรนี้ให้เกิดประสิทธิภาพ และเกิดความเป็นธรรมอย่างเท่าเทียมทั่วถึงในแง่ของประชาชนที่จะใช้คลื่นความถี่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคสมัยที่คลื่นความถี่มีบทบาทกับชีวิตของผู้คนในสมัยใหม่มากขึ้นเรื่อย ๆ
ตอนที่เกิด กสทช. ก็ปี 2540 ตอนนี้ปี 2565 ยี่สิบห้าปีผ่านไปเราได้เห็นแล้วว่าคลื่นความถี่ยิ่งมีบทบาทต่อชีวิตของพวกเราในยุคสมัยใหม่อย่างไร มันไม่ได้หมายถึงแค่โทรศัพท์โทรหากัน แต่หมายถึง อินเทอร์เน็ต และการติดต่อสื่อสาร ข้อมูลข่าวสาร การทํางานไลฟ์สไตล์ ทุกสิ่งอย่าง เราพึ่งพิงกับสิ่งนี้มากขึ้นเรื่อย ๆ เราจึงยิ่งต้องการ กสทช. ที่มีทั้งความสามารถ และต้องมีความสําเร็จที่ต้องประเมินผลได้ในการจัดสรรคลื่นความถี่ให้ประชาชนเข้าถึงได้ในราคาที่เหมาะสมและเป็นธรรม
ทีนี้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 ก็วางหลักการไว้ชัดเจนที่มาตรา 60 ว่า การใช้ประโยชน์จะคลื่นความถี่จะต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชน โดยมีองค์กรของรัฐที่มีความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อมาทําหน้าที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดของประชาชนก็ คือ กสทช.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
ขอความเห็น แต่ไม่รับฟัง
ผศ.ดร.ปริญญา กล่าวต่อว่า ในเรื่องของการที่จะให้มีการควบรวมระหว่าง “ทรู-ดีแทค” กสทช. ได้มีการตั้งอนุกรรมการชุดต่าง ๆ ขึ้นมา แล้วทุกชุดก็มีความเห็นไปในทางเดียวกันหมดว่าไม่ควรให้เกิดการควบรวม เพราะว่าทรูกับดีแทคเมื่อควบรวมกันแล้วจะเกิดการ มีส่วนแบ่งของกิจการคลื่นความถี่เกินห้าสิบเปอร์เซ็นต์ จะทําให้มีอํานาจเหนือตลาด แล้วข้อสําคัญคือจะทําให้การแข่งขันจะเหลือเพียงแค่สองราย คือ “ทรู-ดีแทค” เมื่อกลายเป็นหนึ่ง อีกข้างหนึ่ง คือ เอไอเอส แล้วตามที่เราทราบกันว่าการแข่งขันจะเกิดขึ้นได้จะต้องมีสามรายขึ้นไป ลําพังเพียงสองรายผมได้เปรียบเทียบอยู่บ่อย ๆ กับระบบพรรคการเมืองที่แต่เดิมมีเพียงแค่สองพรรค
แต่เดิมนักรัฐศาสตร์ของประเทศไทยก็เชื่อทํานองว่า การเมืองไทยจะเจริญก้าวหน้าได้ต้องเอาแบบอเมริกาคือให้พรรคการเมืองเหลือแค่สองพรรค ในระยะหลังมานะสักสิบกว่าปียี่สิบปีที่ผ่านมาก็เห็นกันแล้วว่าการมีสองพรรคนี่ทําให้การเมืองมันไปไหนไม่ได้ คือมีการแบ่งขั้วแบ่งข้าง แต่สุดท้ายก็ไม่ได้แข่งกัน พรรคไหนเป็นรัฐบาลนโยบายก็ไม่ได้เปลี่ยน ขณะที่การมีพรรคที่สามที่สี่ทําให้มีนโยบายใหม่ ๆ เข้าสู่ในสภาได้ การแข่งขันจะเกิดคือต้องมีอย่างน้อยสามรายขึ้นไปที่พอจะแข่งกันได้ ดังนั้นการที่จะเหลือเพียงแค่สองรายที่เกิดจากการควบรวม จึงเป็นเรื่องที่ กสทช. ต้องไม่อาจปล่อยให้เกิดขึ้น โดยเพียงแค่ให้การควบรวมมาแจ้งให้ทราบดังที่ปฏิบัติกันในขณะนี้ตามมติที่เกิดขึ้นไปล่าสุด
ดึงดันมติ “รับทราบ” คืออนุญาตนั่นเอง
ผศ.ดร.ปริญญา กล่าวอีกว่า ความจริงแล้วสิ่งที่เป็นปัญหาที่สุดเลย นอกจากอนุกรรมการทุกชุดที่ กสทช. ตั้งขึ้นมาเองจะมีมติว่าไม่เห็นด้วยกับการที่จะให้ ไม่ควรให้ควบรวม หรือ อนุกรรมการด้านกฎหมายก็เห็นแล้วว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ กสทช. มีอํานาจในการพิจารณา ยังมีการไปหารือกับคณะกรรมการคณะกรรมการกฤษฎีกาซึ่งผมเองก็เคยพูดไปว่าเป็นเรื่องประหลาดมากที่องค์กรอิสระอย่าง กสทช. ที่ผ่านกระบวนการในการสรรหาเหมือนกับองค์กรอิสระเช่น ป.ป.ช. ก.ก.ต. ทุกอย่าง มีศาลต่าง ๆ มาทําหน้าที่เป็นกรรมการสรรหา ศาลฎีกาศาลปกครองสูงสุด เป็นต้น
และก่อนจะนำชื่อขึ้นทูลเกล้าก็ต้องให้ ส.ว. เห็นชอบก่อนเหมือนกับองค์กรอิสระทุกอย่าง แต่ กสทช. ดันไปขอให้คณะกรรมการคณะกรรมการกฤษฎีกาซึ่งเป็นเหมือนกับสํานักงานกฎหมายของรัฐบาลเป็นคนตีความว่าตัวเองมีอํานาจหรือไม่
ทีนี้ ถ้าหากว่าคณะกรรมการคณะกรรมการกฤษฎีกาตีความในทางซึ่งสอดคล้องกับมติของ กสทช. ที่ผ่านมา ก็ยังพอทําเนา แต่มีการไปให้ข่าว โดย รองเลขาธิการ กสทช. ซึ่งรักษาการแทนเลขาธิการ กสทช. ให้ข่าวว่าคณะกรรมการกฤษฎีกาชี้ชัดข้อกฎหมายให้การควบรวมกิจการทรู-ดีแทคเดินหน้าต่อไม่สะดุด การให้ข่าวแบบนี้ ผมก็ไม่ทราบว่าไป รายงานแบบนี้ในที่ประชุม กสทช. ด้วยหรือไม่?
ผมไปดูในข่าว ปรากฏว่าคณะกรรมการกฤษฎีกาพูดคนละอย่างกันเลย คณะกรรมการกฤษฎีกาบอกว่า อํานาจต่างต่างที่ถามมาเป็นเรื่องดุลพินิจของ กสทช. คือคุณก็มีอํานาจในการที่จะดําเนินการไม่ต้องมาถามคณะกรรมการกฤษฎีกา แต่ในเรื่องการควบรวมว่ามีอํานาจในการพิจารณาไหม? เมื่อถามมาก็จะตอบให้ คณะกรรมการกฤษฎีกาก็ตอบว่าเรื่องนี้ กสทช. ก็พูดแต่เพียงว่าที่บอกว่าต้องมีการขออนุญาตให้มีการควบรวมถูกยกเลิกไปแล้วประกาศปี 252549 ที่ว่าต้องมีการขออนุญาตก่อนจึงควบรวมถูกยกเลิกโดยประกาศปี 252561 ยืนยันแต่เรื่องนี้ แต่ประกาศปี 252561 มีข้อ 9
ที่บอกว่าการควบรวมถ้ามันเข้าตามข้อ 8 ของประกาศปี 252549 ต้องมาขออนุญาตก่อนซึ่งข้อกฎหมายชัดเจน แล้วคณะกรรมการกฤษฎีกาก็สรุปชัดเจน คณะกรรมการคณะกรรมการกฤษฎีกาก็มีหนังสือมาชัดเจน บอกว่าเรื่องนี้เข้าลักษณะตามข้อเก้าของประกาศปี 2561 เพราะเป็นการควบรวมที่มีการถือหุ้น หรือซื้อหุ้นในกิจการประเภทเดียวกันเกินร้อยละสิบ
ดังนั้น มันจึงเข้าลักษณะของข้อ 8 ของประกาศปี 252549 ซึ่งก็ต้องมีการมาขออนุญาต และคณะกรรมการ กสทช. มีอํานาจสั่งห้ามการควบรวมได้คณะกรรมการกฤษฎีกาชี้ชัด ทีนี้ถามไปแล้วแต่ กสทช. กลับไม่ฟัง แล้วจะถามไปทําไม เจตนาคืออะไร แล้วข้อสําคัญคือศาลปกครองเองก็ได้มีคําวินิจฉัยในเรื่องนี้มาแล้วว่าเรื่องนี้เป็นอํานาจของ กสทช. ในการพิจารณา
แต่การที่ศาลปกครองเองก็ชี้มาแบบนั้นคณะกรรมการกฤษฎีกาซึ่ง กสทช. เป็นคนถามไปเอง ก็ชี้มาแบบนั้นว่าเป็นเรื่องที่ต้องมาขออนุญาตและมีอํานาจในการห้าม คณะอนุกรรมการทุกชุดก็เห็นแบบนั้น แต่ กสทช. สามท่านกลับไม่รับฟังในสิ่งซึ่งตัวเองได้ไปถามหรือตั้งอนุกรรมการขึ้นมา ทั้งไม่ได้ฟังสิ่งที่เป็นการวินิจฉัยของศาลปกครองไม่ต้องพูดถึงว่าในฝ่ายวิชาการหรือองค์กรผู้บริโภคหรือนักกฎหมายทั้งจากธรรมศาสตร์และก็จุฬาลงกรณ์ได้ทักท้วงกันขนาดไหน
ถ้าหากว่า กสทช. ไม่เคยถามใครไม่เคยตั้งอนุกรรมการไม่เคยมีเรื่องที่ศาลปกครองไม่เคยมีองค์กรผู้บริโภคมาทักท้วงนักกฎหมายต่างต่างไม่เคยมาทักท้วงก็ยังพอทําเนาว่าอาจจะพาซื่อคือไม่ทราบโดยสุจริต แต่นี่ได้มีการถามไปแล้วเขาก็ตอบมาแต่กลับไม่ฟัง แล้วถามไปทําไม สิ่งที่มันเกิดขึ้นที่เป็นผลในทางกฎหมายผมเรียนว่ามันเท่ากับ การอนุญาตให้ควบรวม
การที่บอกว่า กสทช มีอํานาจเพียงแค่ “รับทราบ” ไม่มีอํานาจในการพิจารณาว่าอนุญาตหรือไม่ทั้ง ๆ ที่ ประกาศข้อ 9 (ประกาศปี 2561) ก็ชัดเจนว่า ถ้ามันเข้าลักษณะที่มีการถือหุ้นเกินสิบเปอร์เซนต์ของกิจการประเภทเดียวกันต้องขออนุญาต แล้วถือว่าการมารายงานนี่แหละคือการขออนุญาตจะได้ไม่ต้องมาขอซ้ำซ้อนทั้งรายงานทั้งขออนุญาตก็ถือไว้การมารายงาน พอรายงานปุ๊บ กสทช. เห็นว่ามันเข้าลักษณะที่มีการถือหุ้นประเภทเดียวกันเกิดสิบเปอร์เซ็นต์ก็ต้องเป็นเรื่องของการขออนุญาตแล้ว
อันนี้เป็นสิ่งที่เป็นแนวทางทางกฎหมายที่ชัดเจนทั้งจากคณะกรรมการกฤษฎีกาซึ่งความจริงแล้ว กสทช. ไม่ควรถามตั้งแต่แรกแต่เมื่อไปถามเขาตอบมาแต่กลับไม่ฟังรวมถึงสิ่งที่ศาลปกครองวินิจฉัย ผลลัพธ์คืออะไร ผลลัพธ์คือเท่ากับว่า สองท่านซึ่งเห็นว่าตัวเองเป็นเพียงรับทราบและก็มีอีกท่านหนึ่งที่งดออกเสียง ผมเชื่อมีปัญหาในการปฏิบัติหน้าที่ เพราะว่าการที่ท่านมีมติเช่นนั้นเท่ากับท่านอนุญาตให้ควบรวม
ประเด็น คือ ผมตั้งข้อสงสัยว่าทําไมถึงไม่ยอมที่จะฟังเสียงทักท้วงไม่ฟังศาลปกครองไม่ฟังคณะกรรมการกฤษฎีกาก็คือเป็นเรื่องขอมาดูว่าควรจะอนุญาตหรือไม่ แต่กลับยืนยันแต่เพียงว่าตัวเองไม่มีอํานาจในการพิจารณา นั่นเท่ากับว่าเป็นการ “อนุญาต” นั่นเอง เพราะถ้าหากว่าเรื่องนี้จะต้องมีการพิจารณาจะอนุญาตให้ควบคุมไม่ได้ใช่หรือไม่ คนก็สงสัยแบบนั้น ดังนั้นเมื่อเป็นเช่นนี้ก็แปลว่ามีปัญหาแล้วในเรื่องของการใช้อํานาจหน้าที่ว่าชอบด้วยกฎหมาย หรือเข้าลักษณะ “จงใจฝ่าฝืน ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือไม่” ซึ่งเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา แล้วท่านก็จะตกอยู่ภายใต้การที่ต้องถูกดําเนินการโดย ป.ป.ช. ได้เลยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 235
มติ 2:2:1 ตกไปแล้ว ประธานโหวตซ้ำ คือผิดกฎหมาย
ผศ.ดร.ปริญญา กล่าวว่า ลําพังตัวมติเองก็มีปัญหา ผมก็ไปเอาระเบียบคณะกรรมการ กสทช. ปี 2555 ตามระเบียบว่าด้วยข้อบังคับการประชุมคณะกรรมการ กสทช. ผมให้ท่านดูข้อ 41 การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ใช้หลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ วงเล็บหนึ่งหากเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดเกี่ยวกับการใช้อํานาจตามกฎหมายตามมาตรา 27 (19, 23, 25) ถึงเป็นกรณีการบริหารจัดการภายในให้ใช้เสียงข้างมากของผู้มาประชุม เสียงข้างมากของผู้ประชุมหมายความว่าเช่นมีห้าคนมาประชุมกันสามคน เขามาประชุมใช่ไหมครับ มีสามคนในห้า ก็ใช้แค่สองเสียงมีมติได้เสียงข้างมากของผู้มาประชุมหมายถึงว่า เสียงข้างมากคนมาประชุมมีเท่าไหร่ก็เสียงข้างมากของคนมาประชุม
ขณะที่ (2) ใช้คําว่า กรณีเป็นการวิจัยชี้ขาดในประเด็นอื่น นอกเหนือจากประเด็นตาม (1) ต้องได้รับมติพิเศษ ซึ่งกรณีนี้ในการพิจารณาตัวเองมีอํานาจอนุญาตหรือไม่ เป็นกรณีเข้าตรง (2) เพราะไม่ได้เข้าตามมาตรา 27 (19, 23, 25) จึงเข้า ระเบียบเรื่องการประชุมข้อ 41 (2) คือต้องได้มติพิเศษ กล่าวคือ ได้รับความเห็นชอบจากกรรมการไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนกรรมการทั้งหมด กรรมการทั้งหมดมีห้าคน กึ่งหนึ่งคือสองจุดห้า ครึ่งคนไม่มีก็ต้องสามคนขึ้นไป คราวนี้มติที่บอกว่า กสทช. ไม่มีอํานาจได้แค่รับทราบมีแค่สองเสียง ไม่ถึงสาม หนึ่งเสียงคืองดออกเสียงไป
เพราะฉะนั้นเรื่องนี้มันจึงตกไปไม่ผ่าน มตินี้จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายตั้งแต่แรก การที่เขาใช้วรรคสุดท้ายของมาตรา 41 ในการวินิจฉัยชี้ขาดให้กรรมการหนึ่งคนมีหนึ่งเสียงในการลงคะแนนถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเสียง เป็นเสียงชี้ขาด
ความหมายคืออะไรรู้ไหม เช่น กสทช. เกิดเสียชีวิตไปคนหนึ่ง แล้วเหลือแค่ เหลือแค่สี่คน แล้วเสียงมาสองสอง อย่างนี้ประธานก็ลงซ้ำได้ หรือว่าในการที่ใช้เสียงข้างมากของผู้เข้าประชุมตาม (1) กรรมการมีห้ามาประชุมแค่สี่คนแล้วเสียงออกมาเท่ากันคือสองสอง ประธานลงซ้ำได้ ง่ายๆ คือ มันต้องเป็นเรื่องที่เท่ากันทั้งกรณี (1) และ (2) ประธานถึงจะออกเสียงได้ การให้ประธานออกเสียง ถ้าเป็นมติเสียงข้างมากของผู้เข้าประชุมเช่นกรรมการมีห้าแต่เข้าประชุมสี่แล้วเสียงออกมาสองสอง แบบนี้ประธานลงซ้ำได้ หรือในมติพิเศษต้องได้เห็นชอบจากกรรมการไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมด มันต้องได้ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งก่อน แล้วถึงจะให้ประธานลงซ้ำได้ คราวนี้กรณีของห้าคนก็ต้องได้สามขึ้นไป มติจึงต้องตกไปตั้งแต่แรก
กรณีที่ประธานจะลงซ้ำได้ในมติพิเศษเช่นนี้ คือ กสทช. มีแค่สี่คนแล้วก็ลงกัน สอง สอง พอได้สองเสียงปุ๊บ มันก็ไม่น้อยเกินอยู่แล้วไงเพราะกึ่งหนึ่งคือสองเพราะกสทช. มีสี่ แต่ว่าพอ กสทช มีห้าไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งก็ต้องมีสามเสียงขึ้นไป
ดังนั้นการที่มติออกมาสองเสียงเห็นว่า กสทช. มีอํานาจเพียงแค่ “รับทราบ” สองเสียงบอกว่า เรื่องนี้ กสช. มีอํานาจในการอนุญาตและหนึ่งเสียงก็งดออกเสียงทําให้ ไม่ได้มติที่อย่างน้อยกึ่งหนึ่ง เพราะอย่างน้อยกึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมดคือต้องสามคนขึ้นไป ดังนั้น ประธานจึงไม่มีอํานาจที่จะมาลงซ้ำ แล้วทําให้กลายเป็นสามเสียง เป็นมติที่ประหลาดมากพอคนบอกมติคือ 3:2:1 สามบอกว่าได้แค่รับทราบ สองบอกว่าต้องมีการขออนุญาต แล้วหนึ่งงดออกเสียง เป็นหกไปได้อย่างไรในเมื่อ กสทช. มีแค่ห้าคน
ผมย้ำอีกครั้งว่ามาตรา 41 วงเล็บสุดท้ายกรรมการจะลงซ้ำได้ต่อเมื่อคะแนนได้กึ่งหนึ่งแล้วและเท่ากัน แต่กรณีนี้ไม่มีทางที่จะเท่ากันแล้วได้กึ่งหนึ่งได้เพราะว่าจํานวนเต็มเป็นห้า ดังนั้นเมื่อเป็น 2:2:1 จึงไม่ถึงอย่างน้อยกึ่งหนึ่ง มตินี้จึงตกไปเลย การลงมติของประธานไม่ชอบด้วยกฎหมาย จงใจหรือไม่ถ้าจงใจก็มีปัญหาแล้วเพราะเป็นการใช้อํานาจโดยไม่ชอบ และมติของ กสทช. ที่ว่า 3:2:1 ก็จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะมันตกมาตั้งแต่แรกแล้ว เพราะมันได้แค่สองเสียง ที่ว่าเพียงแค่ “รับทราบ” มตินี้ตกไปตั้งแต่ตอนที่ลงมติครั้งแรกแล้ว ต้องประชุมใหม่
ผิดประเด็นมติ ผิดการลงมติ ผิดหลายชั้นต้องเจอที่ศาลปกครอง
อีกเรื่องหนึ่งคือผู้ที่งดออกเสียง อันนี้เป็นประเด็นปัญหาเพราะว่า กสทช. นั้นมีอํานาจ ในการพิจารณาว่าตัวเองมีอํานาจหรือไม่ ที่ฟังแล้วดูแปลก นี่เป็นอํานาจของ กสทช. ท่านจะมางดออกเสียงได้อย่างไร เรื่องนี้ไม่ใช่ No Vote ของประชาชนในการจะรับหรือไปรับรัฐธรรมนูญ หรือในการจะเลือกผู้สมัคร สส. คนใดคนหนึ่งที่ประชาชนไม่รู้เลือกใครก็งดออกเสียงได้ แต่สิ่งนี้เป็นเรื่องที่ กสทช. มีอํานาจในการพิจารณาหรือไม่ จะมาลอยตัวด้วยการลดออกเสียงเช่นนี้ก็ไม่ถูกต้องแล้ว แต่ผลก็คือทําให้มตินี้ไม่มีทางสําเร็จเพราะว่ามันออกมาสองสอง สองสองหนึ่ง คือไม่ถึงกึ่งหนึ่ง คือสองจุดห้าหรือสามเสียงขึ้นไป สรุปก็คือว่าการงดออกเสียงผมเห็นว่ามีปัญหา กสทช. ท่านที่งดออกเสียง ท่านเข้าใจอํานาจหน้าที่ของท่านผิดไปท่านมีหน้าที่ต้องออกเสียงไม่ใช่งดออกเสียง ผมคิดว่าก็เป็นปัญหาเท่ากันกับคนที่ลงมติว่าตัวเองมีแค่อํานาจ “รับทราบ” เพราะท่านก็ต้องรับผิดชอบในมติของ กสทช. ในการทําหนังสือไปถาม คณะกรรมการกฤษฎีกา และในการตั้งอนุกรรมการชุดต่าง ๆ
โดยสรุปผมเห็นว่า ข้อหนึ่ง มติของ กสทช. นี้ไม่ชอบด้วยกฎหมาย. เพราะคะแนนเสียงไม่ถึงจํานวนที่กำหนดคืออย่างน้อยกึ่งหนึ่ง ต้องได้สามเสียงขึ้นไป ประธานลงซ้ำไม่ได้เพราะมันตกไปตั้งแต่แรก ประธานจะลงซ้ำได้ต่อเมื่อ กสทช. มีสี่คนแล้วออกมาสอง สอง เท่ากัน นี่ กสทช. มีห้า อย่างน้อยกึ่งหนึ่งก็ต้องสามคนขึ้นไปมติจึงตกไป
ข้อสอง กสทช. ทั้งสามท่านผมเห็นว่ามีปัญหาในเรื่องการใช้อํานาจเพราะว่าท่านได้ถามคณะกรรมการกฤษฎีกาท่านตั้งอนุกรรมการขึ้นมา ศาลปกครองก็ได้ชี้เรื่องนี้ไปแล้ว รัฐธรรมนูญมาตรา 235 ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยหรือมีการกล่าวว่า หาว่าผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระ มีพฤติการณ์ตามมาตรา 234 (1) ซึ่งก็คือ จงใจปฏิบัติหน้าที่ หรือใช้อํานาจขัดต่อกฎบัญญัติแห่งกฎหมาย
อันนี้ก็ ปปช. ก็จะมีอํานาจในการไต่สวนและดําเนินการทางกฎหมายต่อไป ผมคิดว่าเรื่องนี้เข้าข่ายจงใจใช้อํานาจขัดต่อกฎหมาย เพราะจะบอกตัวเองเชื่อโดยสุจริตว่า กสทช. ไม่มีอํานาจในการอนุญาต รับฟังไม่ได้แล้วเพราะทางศาลปกครองก็ดีคณะกรรมการกฤษฎีกาก็ดีชี้มาหมดแล้ว และกฎหมายต่าง ๆ ก็ชี้ไปหมดแล้วและเป็นการชี้ในแบบซึ่ง กสทช. เป็นคนถามไปเอง ซึ่งมีรายงานกลับมาแล้วจึงจะอ้างว่าเชื่อโดยสุจริตว่าตัวเองไม่มีอํานาจไม่ได้ อันนี้คือเข้าข่ายจงใจใช้อํานาจโดยขัดต่อกฎหมายแล้ว
ในแง่ข้อกฎหมายต่อศาลปกครอง เรื่องนี้เข้าข้อ 9 ของประกาศปี 2561 เพราะมันมีลักษณะตามข้อ 8 ของประกาศปี 2549 เพราะเป็นการเข้าซื้อถือหุ้นกิจการร้อยละสิบขึ้นไปของกิจการในประเภทเดียวกัน ซึ่งต้องมีการพิจารณาว่าจะอนุญาตหรือไม่? โดยถือเอาไว้รายงานนี้เป็นการขออนุญาตเป็นขั้นตอนก่อนจะให้ควบรวมได้ต้องมีการพิจารณาว่าควรจะอนุญาตให้ควบรวมหรือไม่
ฉะนั้น ต่อให้มติเป็นสามสองจริง มติก็ยังมีปัญหาอยู่ดีเพราะมันไม่ได้เป็นมติพิจารณาว่าจะอนุญาตหรือไม่อนุญาต คือเป็นมติรับทราบ คำถามคือแล้วยังไงต่อ? มันผิด มตินี้คือต้องมีการพิจารณาว่าอนุญาตถึงจะเดินหน้าไปได้ นี่คือเท่ากับว่าเป็นการอนุญาตโดยผิดกฎหมาย การที่บอกตัวเองไม่มีอํานาจในการอนุญาต คืออนุญาต ผมตั้งข้อสังเกตแล้วข้อนี้จะโยงไปสู่การใช้อํานาจโดยมิชอบ เพราะเท่ากับเป็นการอนุญาตโดยไม่ต้องพิจารณาว่าควรอนุญาตหรือไม่
เพราะถ้าหากพิจารณาว่าขออนุญาตหรือไม่ มันจะมีประเด็นหลักเกณฑ์ที่อาจทําให้อนุญาตไม่ได้ จึงต้องอนุญาตด้วยวิธีการนี้ คือด้วยการตีความว่าตัวเองไม่มีอํานาจในการพิจารณา คืออนุญาตให้ควบรวมนั่นเอง ทีนี้ผมก็เรียนว่ามันผิดทั้งในแง่ของประเด็นที่มีมติแล้วการลงมติก็ผิด ผิดหลายชั้นมากเลยนะครับ เรื่องนี้เราต้องไปให้ถึงศาลปกครอง
“ประชาชนต้องจ่ายเงิน” แพงขึ้นกับสมบัติของตนเอง กสทช. ต้องรับผิดชอบ
เราไม่ได้ต้องการที่จะเอาเป็นเอาตายอะไรกับ กสทช. แต่ประเด็นคือคลื่นความถี่เป็นสมบัติสาธารณะของประชาชนทุกคนเราคาดหวัง กสทช. ซึ่งมีเงินเดือนเท่าไรนะครับ? ประธานสามแสนกว่า ส่วนกรรมการก็สองแสนแปดพูดกลมกลมก็ประมาณสามแสน เราคาดหวังจาก กสทช. ที่จะทําหน้าที่ในการปกป้องผลประโยชน์ของประชาชน ทั้งนี้ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 60 ที่ให้ถือประโยชน์ของประชาชนสูงที่สุดในการจัดสรรคลื่นความถี่ แต่ท่านไม่ทําหน้าที่นั้น ดังนั้นมติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ต้องทําให้มันตกไป ขั้นตอนคือก็ต้องไปร้องต่อศาลปกครองโดยมีสองประเด็น ประเด็นแรกคือตัวมติเองขัดต่อระเบียบการประชุมของ กสทช. ข้อ41 (2)
และประเด็นที่สอง ผมคิดว่ามีการใช้อํานาจในแบบที่จงใจใช้อํานาจขัดต่อกฎหมายแล้ว ผมเสนอว่าให้ไปร้อง ป.ป.ช. หรือดําเนินการทางอาญาต่อไปเพราะเป็นการจงใจใช้อํานาจขัดต่อกฎหมายแล้ว เข้าข่ายแล้ว ทั้งหมดนี้ ถ้าหาก กสทช. ท่านทําหน้าที่อันพึงกระทํา เราคงไม่ต้องมาจัด เสวนา เราคงไม่ต้องไปร้องศาลปกครอง ทั้งหมดนี้เราไม่ได้คาดหวังอะไรเลย ขอเพียงแค่ กสทช. ทําหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญและตามกฎหมาย เพราะคลื่นความถี่นั้นเป็นสมบัติของประชาชนทุกคน เป็นเรื่องธรรมดาที่ธุรกิจเขาก็จะมุ่งกําไรสูงสุดมุ่งให้เกิดประโยชน์ต่อตัวเองมากที่สุด
แต่ กสทช. มีหน้าที่ต้องดูแลควบคุม อย่าลืมว่า สุดท้ายแล้วคลื่นความถี่ประชาชนต้องจ่ายเงิน ถ้าไม่เกิดการแข่งขันประชาชนต้องจ่ายเงินเพื่อคลื่นความถี่ซึ่งเป็นสมบัติของประชาชนเองในราคาที่แพงขึ้น กสทช. ต้องรับผิดชอบในเรื่องนี้
ต้อง “แช่แข็ง” การเดินหน้าควบรวมด้วยคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว
หลักการร้องศาลขอคุ้มครองชั่วคราวก็คือว่า ถ้าหากว่ารอให้ มีคําวินิจฉัยหรือพิพากษาแล้วจะสายเกินการ ต่อให้ศาลพิพากษาเห็นตามที่ฝ่ายโจทย์ได้ขอมาหรือผู้ร้องได้ขอมาก็ไม่มีประโยชน์แล้ว เพราะมันเลยเวลาไปแล้ว ดังนั้นการคุ้มครองชั่วคราวจึงหมายความว่าในระหว่างนี้ก็ขอให้ “แช่แข็ง” ไว้ก่อนทําให้ทุกอย่างหยุดอยู่กับที่ไว้ก่อนด้วยการคุ้มครองชั่วคราว
ถามว่าเรื่องนี้เข้ากรณีที่จะขอคุ้มครองชั่วคราวได้ไหม คือการขอควบรวมนี้เขา(เอกชน) ได้รายงานถึง กสทช. ตั้งแต่เดือนเมษาดังนั้นการเดินหน้าควบคุมก็เดินหน้าไปไม่หยุดแล้วยิ่งมีมติแบบนี้เขาก็เดินหน้าต่อไปเลย ถ้าหากว่าข้อกฎหมายว่าเรื่องนี้ต้องมีการพิจารณาว่าอนุญาตหรือไม่ แล้วพิจารณาโดยใช้หลักเกณฑ์ตามกฎหมายก่อนในการจะอนุญาตหรือใม่อนุญาต ซึ่งต้องทําก่อนถึงจะควบรวมได้ นี่ก็เป็นเหตุแล้วครับ
ดังนั้น ยังให้เกิดการควบรวมไม่ได้เพราะว่ามติที่ให้ควบรวมนี้ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และจนกว่าศาลจะมีคำวินิจฉัย
นอกจากมาตรา 27 ของ พ.ร.บ.กสทช. (19, 23, 25) หรือเป็นคดีการบริหารจัดการภายในออกระเบียบต่าง ๆ ภายในตามมาตรา 58 พวกนี้จะใช้มติ เสียงข้างมากของผู้เข้าประชุม ประเด็นคือในการวินิจฉัยเรื่องว่าแค่รับทราบหรือว่าต้อง มีอํานาจในการอนุญาต ต้องใช้มติเสียงข้างมากของผู้เข้าประชุม. หรือต้องได้มติพิเศษคืออย่างน้อยกึ่งหนึ่งของ กสทช. ทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ไม่อยู่ในมาตรา 27 (19, 23, 25) ดังนั้น ต้องใช้มติพิเศษเพราะเป็นเรื่องการควบรวม ซึ่งการควบรวมอยู่ (17) มาตรา 27 ผมได้ 17 สิบเจ็ด เมื่อเป็นมติพิเศษ ซึ่งมติพิเศษคือต้องได้เสียงอย่างน้อยกึ่งหนึ่งของสมาชิก กสทช. ทั้งหมด. ซึ่งเป็นสองจุดห้าคนขึ้นไป นั่นก็คือสามคนขึ้นไปนั่นเอง ได้แค่สองก็ตกไปตั้งแต่แรก แล้วในประเด็นที่จะร้องต่อศาลปกครองก็มีสองประเด็นนี้แล้วดูเหตุประกอบ
เนื่องจากว่ามติออกไปว่ารวมได้เขาก็เดินหน้ารวมไปแล้ว จึงต้องคุ้มครองไว้ก่อนว่าอย่าเพิ่งรวมเพราะการรวมนี้ยังไม่ได้พิจารณาว่าจะอนุญาตให้รวมหรือไม่ โดย กสทช. ไม่ทําตามกฎหมายคือตามข้อบังคับว่าเรื่องการประชุมจะเป็นเหตุในการฟ้องร้อง ส่วนการไม่ทําตามกฎหมายจงใจหรือไม่ ถ้าจงใจก็ผิดกฎหมายอาญา เดี๋ยวผมจะไปเปิดดูให้มั่นใจว่าใน พ.ร.บ.ป.ป.ช. 2561 กสทช. ถูกร้องเรียน ป.ป.ช. ได้ไหม? แต่ก่อนร้องเรียนได้ แต่ พ.ร.บ.ป.ป.ช. ฉบับใหม่นี่ก็มีความประหลาดอยู่หลายอย่าง เช่น ถ้าเป็นนายกหรือเป็นรัฐมนตรีต่อเนื่องกันในสามสิบวัน ไม่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินอย่างแบบนี้ก็ไม่รู้เขาไปเขียนให้ กสทช. ไม่อยู่ในองค์กรอิสระหรือเปล่า
แต่ว่า กสทช. เข้าข่ายการจงใจปฏิบัติหน้าที่โดยขัดกฎหมายแน่นอนต่อให้ไม่อยู่ในเขตอํานาจที่ ป.ป.ช. จะดําเนินการ แต่ก็อยู่ในเขตอํานาจของการเป็นพนักงานเจ้าที่รัฐ ที่เป็นองค์กรอิสระและเป็นองค์กรของรัฐที่ต้องรับผิดชอบหากมีการใช้อํานาจโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
ต้องดำเนินคดีตามกฎหมาย และเรียกร้องรัฐบาลรับผิดชอบ
ผศ.ดร.ปริญญา กล่าวอีกว่า ความจริงแล้วรัฐบาลก็ต้องรับผิดชอบกับปัญหาเรื่องของการควบรวม ประเทศไทยมีปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำมาก แล้วระบอบประชาธิปไตยไม่มีทางที่จะประสบความสําเร็จในสังคมที่เลื่อมล้ำมาก เรื่องนี้เราพูดกันเยอะตอนปี 2553 หลังจากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่ควรจะเกิดที่ราชประสงค์ แต่ผ่านไปสิบสองปีปัญหากับหนักกว่าเดิมโดยเฉพาะยิ่งหนักขึ้นหลังจาก หลังยึดอํานาจปี 2557
คือผมเรียนอย่างนี้ประเทศใดก็แล้วแต่ที่มีการรวมสู่อํานาจทางการเมือง จะตามมาซึ่งการลงสู่หน้าทางเศรษฐกิจ ซึ่งมันพิสูจน์แล้วสําหรับประเทศไทยในช่วงแปดปีที่ผ่านมา ผมเองจึงไม่ได้คาดหวังรัฐบาล แต่ว่าผมคิดว่าผมคาดหวังองค์กรตรวจสอบต่าง ๆ ที่ต้องดําเนินการ ประเทศไทยจากเดิมอันดับของความเหลื่อมล้ำทางความมั่งคั่ง และทรัพย์สินเราเคยอยู่ อันดับไม่ดีอันดับสิบกว่า ๆ แต่นาน ๆ ไป เรากลายเป็นอันดับหนึ่งต่อเนื่องกันมาหลายปีแล้ว
ถามว่า กสทช. ใครเลือก มันก็เรื่องเดียวกันกับคําถามว่าใครเลือก ป.ป.ช. และ กกต. และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ สิ่งต่าง ๆ ที่มันเกิดขึ้น คือองค์กรอิสระศาลรัฐธรรมนูญก็ดี กสทช. ก็ดี เกิดมาจากรัฐธรรมนูญปี 40 และคอนเซ็ปต์ของรัฐธรรมนูญปี 40 คือว่าให้ ส.ว. ที่มาจากการเลือกตั้ง โดยตรงเป็นคนเลือกองค์กรอิสระเหล่านี้ แต่เมื่อ คสช. เป็นคนเลือก ส.ว. แล้วก่อนหน้านี้คือ สนช. ซึ่งก็มี มองว่าเรื่องนี้มันจึงมีปัญหาคือเรื่องที่มาของ กสทช. เรื่ององค์กรอิสระที่ไม่อิสระก็เพราะว่าในช่วงห้าปีแรก คสช. ก็เลือกองค์กรอิสระโดยผ่าน สนช. พอมีรัฐธรรมนูญก็มี สว. มาแทน ซึ่ง สว. ก็มาจาก คสช.
ฉะนั้น องค์กรอิสระ ที่ไม่อิสระ เพราะ คสช. เป็นคนเลือก ก็แปลว่าอะไร คสช. ตั้งใจใช่หรือไม่ที่ให้มีการควบรวมทางธุรกิจที่มากขึ้น และก็จะให้เกิดการควบรวมทางคลื่นความถี่ให้มากขึ้นด้วย อย่างนั้นหรือเปล่า เรื่องนี้ผมคิดว่าคําถามถ้าผมจะถามรัฐบาล คือหนึ่งทําไมไม่ทําหน้าที่ และสอง รัฐบาล คิดอย่างไรกับเรื่องนี้ เพราะว่าท่านเป็นคนเลือกองค์กรอิสระโดยผ่าน สนช. และ สว. ท่านคิดอย่างไร? ท่านจะปฏิเสธความรับผิดชอบได้อย่างไร?
คิดว่าเรื่องนี้เป็นความรับผิดชอบของรัฐบาลที่ต้องทํา แต่เราจะเรียกร้องรัฐบาลอย่างเดียวเห็นจะไม่พอ ผมได้ชี้ประเด็นข้อกฎหมายไปแล้วว่ามติอันนี้ไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างชัดเจน ไม่ได้เพียงแค่ท่านไม่ปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนตามรัฐธรรมนูญมาตรา 60 แต่มันขัดกันเองกับ ข้อบังคับของ กสทช. เองว่าเรื่องนี้ต้องเป็นมติพิเศษ ต้องได้เสียงอย่างน้อยกึ่ง สรุปคือคิดว่าเราต้องดําเนินการทางกฎหมายไปพร้อมกับการเรียกร้องรัฐบาลด้วย
ระบบทุนนิยมเสรี ต้องมีการแข่งขัน
ผศ.ดร.ปริญญา กล่าวว่า เมื่อเราเลือกแล้วที่จะมาในทางที่เป็นระบบเศรษฐกิจแบบให้มีการแข่งขันที่เรียกว่าทุนนิยมเสรี ก็ต้องให้มีการแข่งขัน เพราะถ้าหากผูกขาดเมื่อไหร่มันก็กลายเป็นผูกขาด ถ้าหากเป็นระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ก็คือผูกขาดโดยรัฐบาลที่ไม่ต้องแข่งขัน เรารู้แล้วว่ามันไม่มีประสิทธิภาพและไม่เป็นธรรมด้วย เพราะมีเฉพาะคนที่มีอํานาจรัฐเท่านั้นที่จะได้ประโยชน์
ดังนั้น เราก็คิดว่าเมื่อเราเลือกเป็นทุนนิยมเสรีมันก็ต้องให้มีการแข่งขัน แล้วก็มีการกํากับดูแล เพราะทุนนิยมนั้นโดยธรรมชาติเขาก็จะมุ่งกําไรสูงสุดแม้ตอนหลังมาเราจะพบว่าธุรกิจต่างก็เริ่มจะเข้าใจมากขึ้นว่าเขาจะมุ่งกําไรสูงสุดไม่ได้ แต่ยังต้องมีองค์กรมาดูแลที่ทำให้เกิดการแข่งขันขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งคลื่นความถี่ซึ่งเป็นเรื่องที่รัฐธรรมนูญเขียนไว้ชัดเจนเลยให้มีองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระมาคอยดูแลคลื่นความถี่เป็นทรัพยากรของชาติ และชาติก็คือประชาชนที่เป็นเจ้าของประเทศโดยที่ทำให้เราใช้คลื่นความถี่โดยค่าบริการมัน ไม่แพงเกินไปเพราะยิ่งแพงคนก็ยิ่งเข้าถึงยากก็ยิ่งเกิดความเหลื่อมล้ำ
ขณะนี้มันคือชีวิตของเราคือทุกสิ่งอย่างทั้งข่าวสารข้อมูลทั้งเรื่องของการแสดงความคิดเห็นเรื่องการตรวจสอบเรื่องของการมีส่วนร่วมการโอนเงินการซื้อของทุกสิ่งอย่าง มันอยู่ในชีวิตของเรามากขึ้นเรื่อย ๆ ทํายังไงให้ไม่เกิดการผูกขาด ความจริงแล้ว แม้ว่าจะมีสองราย เราก็จะบอกว่าไม่ได้ผูกขาดหรอกนะครับ แต่การเหลือแค่สองรายใหญ่จะทําให้เกิดการแข่งขันน้อยลงเพราะว่าเขาจะฮั้วกัน เขาจะแข่งขันกันเพียงแค่ระดับหนึ่ง เขาจะไม่แข่งขันกันเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้บริโภคอีกต่อไป
เขาจะแข่งขันกันเพียงแค่พอสมควรเรียกว่า พอระดับหนึ่ง ไม่เอาเป็นเอาตายเพราะมันถือเป็นเรื่องของการแบ่งประโยชน์กัน เพราะเขารู้ว่าถ้าเขาแข่งกันมาก กําไรของทั้งคู่ก็จะน้อยลง เขาจะแข่งกันแค่ระดับหนึ่งเท่านั้น. แต่การมีรายที่สามที่สี่เข้ามาก็จะทําแบบนั้นไม่ได้ เราจําเป็นต้องมีรายที่สามหรือรายที่สี่ ในวงการต่างต่างการเหลือแค่สองรายไม่ใช่การแข่งขันเสรี อย่าลืมว่าการจะได้ใช้คลื่นความถี่มาให้บริการประชาชนต้องขออนุญาตจาก กสทช นี่ไม่ใช่กิจการเสรี เป็นกิจการที่ต้องไปขออนุญาต แล้วต้องมีการดูแลเรื่องการอนุญาต ต้องดูแลให้มีการแข่งขัน นั่นคือต้องมีสามรายขึ้นไป
เราอยากเห็นเรื่องการควบรวมนี้ได้คุยกันใน กสทช. ว่าควรให้เขาควบรวมกันไหม? ไม่ใช่อนุญาตให้ควบรวมโดยที่ไม่เคยคุยเรื่องนี้กันเลยเพราะมันผิด หากได้เข้าที่ประชุมไปแล้วเขาจะคุยกันว่าเราควรอนุญาตให้เขารวมกันดีไหม ฟังความเห็นของทั้งสองข้างอย่างทั่วถึง แล้วตัดสินอย่างเที่ยงธรรมบนพื้นฐานของประโยชน์สูงสุดของประชาชนว่า ถ้าเขาควบรวมกันแล้วมีมาตรการต่าง ๆ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า กับไม่ให้เขาควบคุมกันแบบไหน? มันเกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชนมากกว่า ใช่ไหมครับ
แต่สิ่งที่มันเกิดขึ้นคืออะไร ก็คือไม่มีการประชุมในเรื่องนี้ในการพิจารณาเลยว่าควรจะอนุญาตหรือไม่ เพราะเขาอนุญาตด้วยวิธีการยืนยันว่าตัวเองมีอํานาจแค่ “รับทราบ” เมื่อทราบแล้วอย่างมากก็กําหนดเงื่อนไขว่าควรทํายังไงให้ผู้บริโภคไม่เสียเปรียบ ผมเคยพูดเรื่องนี้ไปครั้งหนึ่งนะครับ ก็จะพูดอีกทีหนึ่งคือในตอนต้นปีแรกสองปีแรกค่าบริการยังไม่ขึ้นหรอกเหมือนกับทางด่วนดอนเมืองโทลเวย์ตอนต้นก็สามสิบบาทเอง ปัจจุบันขึ้นไปเรื่อย ๆ จนนี่ร้อยสิบห้าบาทและยังขึ้นได้อีก สิ่งที่มันจะเกิดขึ้นคือ กสทช. เมื่อท่านหมดวาระไปแล้ว ท่านทราบไหมผลที่มันเกิดขึ้นระยะยาวต่อประเทศไทยคืออะไร เมื่อปล่อยให้รายใหญ่มีอํานาจเหนือตลาดมากถึงขนาดนี้
เพราะฉะนั้นกฎหมายเขาเขียนเอาไว้แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนคอนเซ็ปต์จากการที่ต้องขออนุญาตบอกว่าเป็นการแจ้งให้ทราบโดยประกาศปี 2561 แต่ข้อ 9 เขาเขียนไว้ชัดว่าลักษณะการรวมกิจการมันเข้าลักษณะตามข้อ 8 ของประกาศปี 2549 คือมีการซื้อหุ้นและถือหุ้นเกินร้อยละสิบของกิจการในประเทศเดียวกันจะต้องพิจารณาว่าอนุญาตหรือไม่ แล้วให้การมารายงานเป็นการขออนุญาต แต่ท่านไม่ทําหน้าที่นี้งั้นมติที่ให้ควบรวมโดยไม่พิจารณาก่อนว่าควรอนุญาตหรือไม่จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย แล้วประการที่สอง มติที่เป็น 3:2:1 ก็ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และมีมติรับทราบอย่างเดียว ก็เท่ากับอนุญาตโดยที่ไม่ต้อง พิจารณาว่าคนอนุญาตหรือไม่ ซึ่งเป็นการใช้อํานาจโดยไม่ชอบใช้กฎหมาย และเข้าข่ายจงใจด้วย
ส่วนในข้อที่ว่าควรต้องดําเนินการอย่างไรให้เกิดความรับผิดชอบ เพื่อไม่ให้เกิดการใช้อํานาจ โดยไม่เกรงใจประชาชนแบบนี้อีก เราต้องว่ากันต่อไปและต้องทําด้วย เพราะนี่คือผลประโยชน์ของประชาชนทุกคน ไม่ใช่แค่ ณ วันนี้เวลานี้ แต่มันคืออนาคตข้างหน้า
ถ้าหากกิจการคลื่นความถี่ถูกผูกขาด แล้วมีรายใหญ่ที่มีส่วนแบ่งมากกว่าห้าสิบเปอร์เซ็นต์โตขึ้นเรื่อย ๆ แล้วต่อไปอนาคตข้างหน้า เสรีภาพ และความเสมอภาพในการใช้ทรัพยากรที่เป็นของประชาชนเองจะเหลืออะไร คลื่นความถี่เป็นสมบัติของชาติ นั่นคือเป็นสมบัติของประเทศ กสทช. ต้องทําหน้าที่โดยคํานึงถึงประโยชน์ของประชาชน สูงที่สุด ตามมาตรา 60 ท่านไม่ทําหน้าที่โดยขัดต่อกฎหมาย ผมว่านี่เป็นเรื่องใหญ่และเราคงนิ่งเฉยไม่ได้" ผศ.ดร.ปริญญา ระบุ