IT & gadget
ธุรกิจอวกาศ...ขาขึ้น
สทอภ. จัดสัมมนากระตุ้นภาคเอกชน มองหาโอกาสธุรกิจด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสนเทศ ช่วยขับเคลื่อนประเทศ มิติใหม่เสริมอนาคตไทย
บุษกร ภู่แส รายงานในงานสัมมนาอุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ : มิติใหม่เสริมอนาคตไทย รศ.สมเจตน์ ทิณพงศ์ ประธานกรรมการบริหาร สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)หรือสทอภ.กล่าวว่า แนวทางในการขับเคลื่อนประเทศไทยต่อจากนี้ การพัฒนาคลัสเตอร์อุตสาหกรรมอวกาศและภูมิสนเทศถือเป็นอีกคลัสเตอร์ หนึ่งที่ควระได้รับความสนใจจากสังคมไทย เนื่องจากสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มสูง( High Value added)ซึ่งจะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศให้เดินหน้าไปในอนาคต สทอภ. ในฐานะองค์การมหาชน จึงได้วางโครงสร้างพื้นฐานรองรับด้วยการสร้างอุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศจำนวน 120 ไร่ รองรับผู้ที่สนใจ ผู้ประกอบการ บริษัท รวมถึงมหาวิทยาลัยเข้ามามีส่วนร่วมในการค้นหานวัตกรรม –บริการที่เกี่ยวข้อง “เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องใหม่ในสังคมไทยจึงต้องมีการจัดอบรมสัมมนาให้ความรู้กับกลุ่มเป้าหมาย หรือผู้สนใจเข้ามาแลกเปลี่ยนความคิดกัน แต่สำหรับในต่างประเทศมีมานานแล้วและมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องทั้งในอเมิกา ยุโรป ญี่ปุ่น เกาหลี รวมทั้งจีน” รศ.สมเจตน์ กล่าวต่อว่า วิธีที่จะชนะการแข่งขันคือนวัตกรรม ซึ่งนวัตกรรมและบริการในตลาด เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสนเทศนั้นไม่สามรถทำได้โดยลำพัง ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องร่วมมือกันเพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงกันเนื่องจากต้องใช้เทคโนโลยีที่หลากหลายมาผสมผสานกันหน่วยงานภาครัฐอย่างเดียวไม่สามาถทำให้สำเร็จได้ต้องมีภาคเอกชนเข้ามาให้การสนับสนุนให้เกิดนวัตกรรม-บริการออกมาเป็นรูปธรรมนายอานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ สทอภ. กล่าวว่า จากเหตุผลดังกล่าวทำให้ทาง สทอภ. ลงทุนสร้างอุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ Space Krenovative Park (SKP) ภายใต้แนวคิด “Inspiring Beyond” บนเนื้อที่ 120ไร่ ใน อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรีขึ้นมา เสมือนเป็นสาธาณูปโภคพื้นฐานให้กับผู้ประกอบการเข้ามาใช้งาน สามรถเข้าถึงเทคโนโลยี โดยไม่ต้องลงทุนเอง เช่น ดาวเทียมสำหรับ ผู้ที่สนใจหรือภาคเอกชนสามาถเข้ามาแลกเปลี่ยนข้อมูล ความคิดเห็นได้และสามาถนำข้อมูลที่มีอยู่ไปต่อยอดธุรกิจ เพื่อรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(เออีซี) จึงถือเป็นโอกาสที่ดีในการรุกตลาด จากเดิมประเทศไทยเป็นผู้นำด้านภูมิสนเทศในประเทศแถบนี้มาก่อน“เป้าหมายของเราคือต้องการเปิดให้ภาคเอกชนร่วมวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ เพื่อนำไปพัฒนาต่อยอดงานวิจัย เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ ”อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ จะเป็น Open Innovation ในการรวมคลัสเตอร์ จากนั้นเป็นเรื่องของ Connectivity ที่เชื่อมโยงความคิด เงินทุน การประชาสัมพันธ์ เพื่อให้เกิด Co-creation ไปสู่นวัตกรรมออกมา นายอานนท์ กล่าวว่า ขณะนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นถึงแนวทางการเดินไปข้างหน้าของผู้ประกอบการไทยในอุตสาหกรรมนี้ ขึ้นอยู่กับว่าจะเลือกเดินในลักษณะไหน เช่น จะเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนดาวเทียมเหมือนเวียดทำ หรือว่า จะคิดนวัตกรรมอื่นที่ยังไม่มีใครทำแต่เราทำขึ้นมาเพื่อป้อนตลาด ยกตัวอย่าง ประเทศฝรั่งเศสมีการนำเอาถังนมไปผลิตเป็นถังเชื้อเพลิงในอวกาศ หรือการใช้วิธีการผลิตเซรามิกในการผลิตชิ้นส่วนป้อนดาวเทียม เป็นต้น “เราสามารถนำเอาความรู้พื้นฐานเดิมที่มีอยู่มาต่อยอดในการผลิตนวัตกรรมที่เป็นชิ้นส่วนสำคัญในอวกาศได้ โดยไม่จำเป็นต้องไปซื้อเทคโนโลยีใครมาใช้เหมือนในอดีต ทำให้เราสามรถแข่งขันในตลาดได้” สทอภ. จึงเปรียบเสมือนเป็นผู้บริหารจัดการต้นน้ำที่ให้ข้อมูลและเทคโนโลยี แต่ในการพัฒนาสินค้า บริการเอกชนจะเป็นผู้ที่เข้ามาสนับสนุน และดำเนินการ ในขั้นตอนที่เป็นปลายน้ำนั้นภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทสำคัญถึง 80% “วงจรในการพัฒนาสินค้าและบริการในอุตสาหกรรมอวกาศและภูมิสนเทศถือเป็นวงจรที่ดีเพราะธุรกิจขยายได้เรื่อยๆตามเทคโนโลยีที่พัฒนาอยู่ตลอดเวลาจึงเกิดความยั่งยืน ใครที่โดดเข้ามาเกาะกระแสทันก็มีโอกาสประสบความสำเร็จสูง ส่วนคนที่ไม่เข้ามามีโอกาสตกกระแสไปอย่างน่าเสียดาย เพราะธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอวกาศและภูมิสนเทศกำลังอยู่ในช่วงขาขึ้น” ขณะเดียวกัน สทอภ. เตรียมที่จะตั้งสถาบันวิชาการมาเพื่อผลิตบุคคลากรในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกร่วมกับทางมหาวิทยาลัยต่างๆออกมารองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมอวกาศและภูมิสนเทศในอนาคต