'พริ้นซ์ปากน้ำโพ' ประกาศกร้าวทรานฟอร์มสู่ดิจิทัล งดกระดาษ-ลดปัญหาลายมือหมอ
ตามรอยเส้นทางการทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัลของ “รพ.พริ้นซ์ปากน้ําโพ” ประกาศตัวเป็นสถานพยาบาลผู้นําที่ไม่ใช้กระดาษ ลดปัญหาลายมือหมอ-ข้อผิดพลาดการจ่ายยา ทั้งได้การรับรองมาตรฐานเทคโนโลยีสารสนเทศโรงพยาบาลขั้นสูงสุดระดับ 7 แห่งแรกในไทย และแห่งที่ 2 ของอาเซียน
ดิจิทัลเพิ่มคุณภาพ-ลดผิดพลาด
สาธิตวิทยากร ประธานคณะกรรมการ บริษัท พริ้นซิเพิลเฮลท์แคร์ จํากัด คีย์แมนคนสําคัญที่มีส่วนขับเคลื่อนการปรับเปลี่ยนสู่ระบบดิจิทัล กล่าวว่า โรงพยาบาลพริ้นซ์ ปากน้ําโพ 1 จังหวัดนครสวรรค์ ขนาด 100 เตียง มีผู้ป่วยนอกเข้ารับบริการ 300-400 คนต่อวัน ใช้เวลาประมาณ 3 ปีเดินเครื่องเข้าสู่ระบบดิจิทัลทั้งหมด 360องศา กระทั่งได้รับการรับรองมาตรฐานเทคโนโลยีสารสนเทศโรงพยาบาล tun 7 (HIMSS EMRAM Stage 7) จากลําดับสูงสุด 8 ชั้น โดยปัจจัยหลักที่จะทําให้การดิสรัปสําเร็จคือ การปรับกระบวนการคิด และการทํางานของบุคลากรรวมถึงวัฒนธรรมองค์กรเพื่อยกระดับการบริการทางการแพทย์ให้ก้าวหน้ามากขึ้น
"เราให้ความสนใจด้านเฮลท์ไอทีเมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้วโดยโฟกัสไปในส่วนของ เวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ เพราะมองว่าการที่จะทําให้โรงพยาบาลประสบความสําเร็จในทุกช่องทางต้องอาศัยเรื่องข้อมูลเป็นสิ่งสําคัญ จึงได้จัดฝึกอบรมบุคลากรแผนกนี้และต่อมาได้ลงทุนกว่า 8 ล้านบาททั้งในด้านอุปกรณ์และระบบสิทธิบัตรต่างๆ ดําเนินการติดตั้งซอฟต์แวร์ที่ทําให้เครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถถ่ายโอนข้อมูลระหว่างกันได้ อีกทั้ง โซลูชั่นที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานจัดระเบียบข้อมูลเชิงลึก”
จึงเป็นบทสรุปของการทํางานทั้งหมดที่จะช่วยให้แพทย์ พยาบาล สามารถดูข้อมูลการรักษาจากระบบได้ทุกที่ทุกเวลา แม่นยํา ลดปัญหาด้านเอกสาร และการจัดเก็บ ลดความผิดพลาดในการอ่านลายมือแพทย์เหลือเฉลี่ยเพียง 6-7 ครั้ง จากเดิมเฉลี่ยเดือนละ 300-400 ครั้ง ช่วยลดต้นทุนคุณภาพที่บกพร่อง เช่น ค่าชดเชยจากการรักษาผิดพลาด
ทั้งยังมีระบบแจ้งเตือนแพทย์และพยาบาลเช่นการเตือนเรื่องผลแล็บ นอกจากนี้ยังช่วยในการตัดสินใจรักษาของแพทย์ เนื่องจากมีข้อมูลอ้างอิงกับฐานข้อมูลต่างประเทศซึ่งอัพเดทตลอดเวลาจึงนํามาประยุกต์ใช้กับการรักษาภายในโรงพยาบาล ทําให้อัตราการเสียชีวิตหรือย้ายลงไอซียูลดลงได้ถึง 3%รวมถึงป้องกันการจัดยาผิด 75% เมื่อเทียบกับก่อนใช้ระบบ
ส่วนใหญ่ลูกค้าของพริ้นซิเพิลที่อยู่ใน ต่างจังหวัดจะเป็นระดับกลาง จึงกําหนดราคาต่างจากโรงพยาบาลเอกชนชั้นนํา 50% พร้อมตั้งเป้าที่จะใช้เทเลเฮลท์ หรือการให้คําปรึกษาทางไกล หรือแม้กระทั่งการเรียกแพทย์ไปรักษานอกพื้นที่แต่จะต้องเป็นคนไข้ และแพทย์ในระบบที่เคยทําการรักษากันแล้ว โดยในเฟสถัดไปจะขยายสู่โรงพยาบาลพริ้นซ์ ในอุทัยธานี และอุตรดิตถ์ ตั้งเป้าจะขยายให้ครบทุกโรงพยาบาลในเครือภายในปี 2563 อีกทั้งพร้อมที่จะผลักดันให้เกิดการเชื่อมข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของโรงพยาบาลอื่นๆ ที่ไม่ได้อยู่ในเครือเพื่อให้เกิดการบูรณาการร่วมกัน
รพ.แรกคว้ามาตรฐานไอซีที่ 1
ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาได้ดําเนินการ ทรานส์ฟอร์มอย่างเข้มข้นกระทั่งล่าสุดได้รับ การรับรองมาตรฐานเทคโนโลยีสารสนเทศโรงพยาบาล ขั้นที่ 7 ซึ่งถือเป็นขั้นสูงสุดของมาตรฐาน EMRAM (Electronic Medical RecordAdoption Model) และนับเป็นแห่งเดียวในไทยที่ได้รับมาตรฐานนี้เป็นแห่ง ที่ 2 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และในเอเชียมีเพียง 16 แห่งเท่านั้น จึงถือ เป็นเครื่องการันตีให้ความมั่นใจแก่ผู้มา ใช้บริการ
EMRAM จัดทําโดย HIMSS(Healthcare Information and Management Systems Society) เป็นมาตรฐานรับรองระบบการทํางานเน้นการให้ผู้รับบริการในโรงพยาบาลมีสุขภาพดีด้วยการใช้ระบบข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะกําหนดระเบียบวิธีและขั้นตอนในเรื่องการใช้ระบบไอที ตามที่ HIMSS กําหนดไว้ 8 ระดับ
ระดับ 0-7 เป็นการนําระบบไอทีมา ใช้งานในทุกส่วน ข้อมูลการรักษาจะอยู่ ในระบบ และแพทย์ส่งคําสั่งการรักษา ผ่านระบบไม่น้อยกว่า 95% ฝ่ายสนับสนุนทางการแพทย์ต้องบันทึกเอกสารทางการแพทย์ลงในระบบไม่น้อยกว่า 90% ทั้งยัง มีระบบสนับสนุนการตัดสินใจทางคลินิกคัลแบบครบวงจรตั้งแต่คําสั่งการรักษา จนผู้ป่วยได้รับยาหรือผลเลือดผ่านบาร์โค้ด คิวอาร์โค้ดและอาร์เอฟไอดี
“การใช้งานบนระบบไอทีทั้งหมดทําให้ต้องคํานึงถึงความปลอดภัยของข้อมูล จึงมีแผนหรือระบบสํารองในกรณีที่ระบบหลักใช้งานไม่ได้อีกด้วย พริ้นซิเพิลยังเปิดกว้างรับสตาร์ทอัพด้านเฮลท์แคร์ และส่งเสริมนวัตกรรมหรือโซลูชั่นต่างๆ เพื่อมาประกอบใช้กับโรงพยาบาลมากขึ้น นับเป็นโอกาสครั้งสำคัญของโรงพยาบาลเอกชนไทยที่จะมีการเสริมศักยภาพและสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้มาใช้บริการ และเมื่อเราสามารถทรานฟอร์มตัวเองได้แล้ว ขั้นต่อไปคือการเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยทรานฟอร์มโรงพยาบาลเอกชนไทยให้สามารถก้าวไปได้พร้อมๆกัน” สาธิต กล่าว