กสทช.ทุบโต๊ะสาง 'เน็ตชายขอบ'
เคลียร์ปัญญาสัญญาทีโอทีคาดประมูลรอบใหม่ มี.ค.นี้
สำหรับเนื้อหาในหนังสือดังกล่าว กสทช.ได้ชี้แจงชัดเจนถึงเงื่อนไขในการรับงานเพื่อจ่ายเงินค่าจ้างตามที่คณะที่ปรึกษาเห็นชอบ ได้แก่ อุปกรณ์ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนถูกต้องตามจำนวนจุดบริการที่ติดตั้งเรียบร้อยแล้ว ได้แก่ ชุดอุปกรณ์ Internet Node (OLT) ตู้พัก SDP (Aerial Outdoor Splitter) ชุดหัวต่อ (Aerial Straight Joint Closure) สายใยแก้วนำแสง (Drop Optical) 2 แกน ที่ต้องให้บริการสัญญาณอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในพื้นที่ USO Network และบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงสาธารณะ (Wi-Fi) หมู่บ้าน กับโรงเรียนและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพส่วนตำบล (รพ.สต.) ตามจำนวนจุดบริการที่ได้ตรวจสอบครบถ้วนถูกต้องและมีคุณภาพสัญญาณอินเทอร์เน็ตเป็นไปตามข้อกำหนดในสัญญาเดิม
และต้องให้บริการสัญญาณอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงไปยังจุดบริการของการจัดให้มีสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile Service) กลุ่มที่ 2(ภาคเหนือ 2) และกลุ่มที่ 3(ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ซึ่งสำนักงาน กสทช. ได้รับมอบบริการจากผู้ให้บริการกลุ่มดังกล่าวแล้ว รวมทั้งการคิดค่าบริการอินเทอร์เน็ตแบบ Dynamic IP แก่หน่วยงานหรือบุคคลที่อยู่อาศัยในพื้นที่ ในอัตราที่กำหนดของสัญญาเดิมอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาบริการระยะที่ 2
เขา กล่าวว่า ส่วนศูนย์ยูโซ่ ทีโอที สามารถทำตามเงื่อนไขสัญญาที่ต้องทำตาม 8 ขั้นตอนได้ครบถ้วนและสามารถรับเงินค่าจ้างได้เพียง 9 อาคาร เท่านั้น จากจำนวนทั้งสิ้น 391 อาคาร แม้ว่าทีโอทีอ้างว่าสามารถทำได้จริง 138 อาคาร แต่ที่ปรึกษายึดหลักการตรวจงานที่ต้องดำเนินการและถ่ายรูป 8 ขั้นตอนนั้น ทำให้ตรวจรับได้จริงๆแค่ 9 อาคาร ที่เหลืออีก 129 อาคารที่ไม่ดำเนินการตาม 8 ขั้นตอนของสัญญานั้น ที่ปรึกษาจะดำเนินการลงไปยังพื้นที่ทั้ง 129 อาคารเพื่อตรวจสอบโครงสร้างว่าได้มาตรฐานและแข็งแรงปลอดภัยหรือไม่ จึงค่อยพิจารณารับเฉพาะในส่วนที่สามารถรับได้
รวมถึงอาคารอีก 253 อาคาร ที่เสร็จไม่ทันตามกำหนดด้วย ที่ปรึกษาก็จะดำเนินการลงไปสำรวจพื้นที่และรับเฉพาะงานที่ทดสอบแล้วว่าแข็งแรง ปลอดภัยและได้มาตรฐานเท่านั้น โดยค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ทีโอที ต้องเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งกสทช.จะหักจากเงินค่าจ้างที่ต้องให้ทีโอที ซึ่งที่ปรึกษาต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน เพื่อเปิดโครงการในส่วนที่ค้างให้เอกชนรายอื่นเข้ามาประมูลโครงการต่อไป