จุดพลุ ‘เวิร์คแอทโฮม’ ปิดประตูเสี่ยงแพร่โควิด-19
การทำงานทางไกลโดยไม่เข้ามาในที่ทำงาน ถือว่ามาทำงานตามปกติ หากพนักงานปฎิบัติถูกต้องตามข้อบังคับ
หากวิกฤติครั้งนี้ ยังให้โอกาสธุรกิจบางประเภท เช่น ธุรกิจซื้อขายสินค้าออนไลน์ และบริการส่งอาหาร โดยเฉพาะ ฟู้ด เดลิเวอร์รี่ ที่เติบโตสวนทาง
แนวทางปฏิบัติเร่งด่วน (Quick Win) ที่บลูบิคแนะนำ ธุรกิจต้องวางแผนต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Plan: BCP) และซักซ้อมให้มั่นใจ สื่อสารภายในองค์กรเพื่อลดความตื่นตระหนก
ขณะที่ ต้องปรับใช้เทคโนโลยีเพื่อให้พนักงานสามารถทำงานคนละที่ได้ เช่น วีอีโอ คอนเฟอร์เรนซ์ และ Collaboration tools ต่างๆ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ลดความเสี่ยงติดเชื้อ จากเครื่องสแกนลายนิ้วมือ ก็อาจมาใช้ระบบจดจำใบหน้า เปลี่ยนชำระเงินเป็นแบบไร้เงินสด
‘ดีอีเอส’ผนึกไอเอสพีหนุนเวิร์คแอทโฮม
ขณะที่ล่าสุด ภาครัฐ นำโดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือดีอีเอส ประกาศความร่วมมือจับ 6 โอเปอเรเตอร์พ่วง 4 แพลตฟอร์มออนไลน์ ลุยให้บริการสื่อสารทางไกล หนุนให้หน่วยงานทำงานที่บ้าน เพื่อลดเสี่ยงโรคโควิด-19 การสื่อสารการเชื่อมต่อจะไม่คิดค่าใช้จ่ายเป็นเวลา 3 เดือน
นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รมว.ดีอีเอส กล่าวว่า ได้หารือร่วมกับผู้ให้บริการสื่อสาร 6 รายในอุตสาหกรรม ได้แก่ บมจ.กสท โทรคมนาคม บมจ.ทีโอที บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) บมจ.ทรูคอร์ปอเรชั่น บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) และ บริษัท ทริปเปิล ทรี บรอดแบนด์ หรือ 3บีบี
รวมถึงผู้ให้บริการแพลตฟอร์มประชุมทางไกล 4 ราย ได้แก่ ซิสโก้ ,ไมโครซอฟท์ ,กูเกิล และไลน์ เพื่อวางแนวทางการปฏิบัติงานนอกสถานที่ให้สามารถทางานได้ทุกที่ ทุกเวลา สร้างโมเดลการทำงานรูปแบบใหม่ในยุคดิจิทัล โดยผู้ให้บริการแอพพลิเคชั่นจะสนับสนุนระบบการประชุมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานนอกสถานที่ ผ่านคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ทั้งระบบปฏิบัติการไอโอเอส แอนดรอยด์ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายให้หน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ
สำหรับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต จะเว้นค่าบริการอินเทอร์เน็ตเคลื่อนที่ให้ผู้ที่ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการทั้งอินเทอร์เน็ตประจำที่ (ฟิกซ์ บรอดแบนด์) และ อินเทอร์เน็ตเคลื่อนที่ (โมบาย บรอดแบนด์) เมื่อเรียกใช้งานผ่าน Range IP Address และ URL ตามที่กำหนด
กระทรวงดีอีเอส จะออกคำสั่งให้การทำงานที่บ้านให้มีผลทางกฎหมาย จะเริ่มไม่คิดค่าบริการ หลังจากหน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจแสดงความจำนงค์ว่า จะใช้แพลตฟอร์มใด จากนั้นจะเริ่มต้นการสนับสนุน สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ (สดช.) จะเป็นศูนย์กลางประชาสัมพันธ์ และให้คำปรึกษา ประสานงานระหว่างหน่วยงานภาครัฐกับเจ้าของแพลตฟอร์มและโอเปอเรเตอร์
สดช.จะทำคู่มือการปฏิบัติราชการนอกสถานท่ี่ และคู่มือใช้งานแอพพลิเคชั่นที่เกี่ยวข้อง สามารถใช้เป็นแนวทางปฏิบัติงานได้ทันที หากส่วนราชการใดมีความประสงค์ที่ใช้แอพพลิเคชันสามารถลงทะเบียนได้ท่ี่ www.onde.go.th ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป