'มิว สเปซ' ร่ายแผนธุรกิจลุย 'อวกาศ'
มิว สเปซโชว์ศักยภาพธุรกิจเทคโนโลยีดาวเทียมวงโคจรต่ำ ยันพร้อมหนุนการพัฒนาอุตฯในประเทศ ชี้ในอนาคตอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมคือคำตอบของ 5จี-คลาวด์ ดาต้าเซ็นเตอร์ ระบุมูลค่าตลาดมีมากถึง 4,000 ล้านบาทต่อปี
ดังนั้น เมื่อมีการเปิดเสรีดาวเทียม ดาวเทียมวงโคจรต่ำ หรือ (ลีโอ) จะเป็นประโยชน์และมีความสำคัญอย่างมากต่อระบบการสื่อสารในอนาคต อีกทั้ง ยังเป็นการยกระดับเทคโนโลยีทางด้านการสื่อสารของไทยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อให้มีศักยภาพทัดเทียมกับนานาชาติ รวมไปถึงการรองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ อาทิ 5จี, คลาวด์ สตอเรจ, ออนไลน์ ทรานเซคชั่น สร้างความปลอดภัยในการทำธุรกิจต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น และมิว สเปซพร้อมยื่นขอใบอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)
“มูลค่าตลาดรวมในกิจการอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมอยู่ปีละ 4,000 ล้านบาท ถ้ามองอนาคต 10 ปี ก็รวมน่าจะอยู่ไม่ต่ำกว่า 400,000 ล้านบาท ดังนั้น มิว สเปซ เองมองโอกาสที่จะเข้าไปทำตลาด โดยหากมีรายได้จากแชร์ตลาด 10-15% ก็เป็นโอกาสที่ดีของเรา”
เขา เสริมอีกว่า เป้าหมายหลักของ มิว เปซ คือยกระดับและพัฒนาอุตสาหกรรมอวกาศของไทยสู่นานาชาติ ซึ่งที่ผ่านมา มิว สเปซได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับบมจ.ทีโอที ในการสร้าง สเปซ ชิป หรือพาหนะทางอวกาศขนาดเล็กลำแรกของไทยส่งวัตถุและอุปกรณ์การทดลอง (เพย์โหลด)
โดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือ สร้างดาต้า เซ็นเตอร์ นอกชั้นบรรยากาศของโลก ซึ่งสามารถลดปัญหาสำคัญของการสร้างศูนย์เก็บข้อมูล เช่น การควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสมต่อการปฏิบัติการของระบบภายใต้สภาวะอุณหภูมิต่ำ ซึ่งใช้ปริมาณมากถึง 40% ของพลังงานไฟฟ้าทั้งหมด การนำดาต้า เซ็นเตอร์ออกไปยังสภาวะอวกาศที่เย็นกว่า -270°C ทำให้สามารถกำจัดเรื่องของอุณหภูมิไปได้อย่างมาก
นอกจากนี้ ทีโอที และ มิว สเปซ มีแผนงานในอนาคตที่จะทำการทดสอบการให้บริการสเปซ ไอดีซี แพลตฟอร์ม และการสื่อสารระหว่างดาวเทียมโดยใช้เทคโนโลยี สเปซ เลเซอร์รวมถึงมีแผนที่จะขยายจำนวนเกต์เวย์เพิ่มเติมเพื่อรองรับการใช้งานมัลติ ออบิท แซทเทิลไลท์ และ ลีโอ แซทเทิลไลท์ ในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ และอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เพื่อเตรียมความพร้อมการเป็นผู้ให้บริการเกต์เวย์ในอนาคตต่อไป