'ไอพี' สำคัญไฉนในยุคโควิด! ทำไม 'เอสเอ็มอี' ควรรู้

'ไอพี' สำคัญไฉนในยุคโควิด! ทำไม 'เอสเอ็มอี' ควรรู้

การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property, IP) ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กับสิ่งที่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในสหภาพยุโรปควรรู้ เหตุใดการคุ้มครอง IP จึงมีความสำคัญในช่วงโควิดแพร่ระบาด!

161942941963

วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium-sized Enterprises, SME) เป็นกระดูกสันหลังของเศรษฐกิจของสหภาพยุโรป พวกเขาเป็นตัวแทน 99% ของภาคธุรกิจทั้งหมดในสหภาพยุโรป ซึ่งคิดเป็นมากกว่าครึ่งหนึ่งของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของยุโรป และมีการว่าจ้างงานประมาณ 100 ล้านคน ความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างผลการดำเนินงานทางเศรษฐกิจและการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property Rights, IPR) มีความแข็งแกร่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับ SME

SME ที่เป็นเจ้าของ IPR สร้างรายได้ต่อพนักงานสูงกว่าผู้ประกอบการ SME ที่ไม่ได้เป็นเจ้าของ IPR ใด ๆ เลยถึง 68% ตามผลการศึกษาล่าสุดที่เผยแพร่ในปี 2021 โดยสำนักงานสิทธิบัตรยุโรป (European Patent Office, EPO) และทรัพย์สินทางปัญญาของสหภาพยุโรป (European Union Intellectual Property, EUIPO) เกี่ยวกับ IPR และผลประกอบการของบริษัทในสหภาพยุโรป จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการคุ้มครอง IPR กลายเป็นสิ่งสำคัญต่อความสำเร็จของ SME ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ SME จะต้องตระหนักถึงคุณค่าของทรัพย์สินทางปัญญา (IP) และวิธีที่จะนำไปสร้างให้เกิดประโยชน์มากที่สุด

IP เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ไม่มีตัวตน อันประกอบด้วยทรัพย์สินทางปัญญาและทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม IPR สามารถได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย ภายใต้สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า การออกแบบอุตสาหกรรม ลิขสิทธิ์ การคุ้มครองพันธุ์พืช อีกทั้งยังรวมถึงกฎหมายความลับทางการค้า การแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม กฎหมายแพ่งและอาญา

SME จะได้รับประโยชน์จากการคุ้มครอง IP และคว้าโอกาสทางธุรกิจทั่วโลกได้ หากพอร์ตการลงทุนด้าน IP ของพวกเขาได้รับการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ กลยุทธ์ IP ที่แข็งแกร่งยังช่วยให้ SME ดึงดูดเงินทุนจากนักลงทุนที่มีศักยภาพ ทำให้พวกเขาก้าวสู่ระดับสากลในตลาดเกิดใหม่ ตามรายงานร่วมระหว่าง EPO และ EUIPO ในปี 2019 อุตสาหกรรมที่เน้น IPR สร้างรายได้ประมาณ 45% ของ GDP ทั้งหมดในสหภาพยุโรป ซึ่งมีมูลค่า 6.6 ล้านล้านยูโร ภาคส่วนเหล่านี้ถือเป็นการค้าส่วนใหญ่ระหว่างสหภาพยุโรปกับประเทศอื่นทั่วโลก ซึ่งประกอบด้วยสินค้า 96% ที่ส่งออกจากสหภาพยุโรป

161942944079

การคุ้มครอง IP ยังมีความสำคัญต่อการส่งเสริมนวัตกรรมด้วยการให้ผลตอบแทนจากการลงทุนในการวิจัยและพัฒนา (R&D) นอกจากนี้กลยุทธ์การคุ้มครอง IP ที่เตรียมการวางแผนไว้อย่างดีจะช่วยให้ SME ป้องกันไม่ให้ผู้อื่นมาใช้ประโยชน์จาก IP ของพวกตนได้ฟรี ที่สำคัญ SME ที่เป็นเจ้าของ IPR ที่ถูกต้องจะมีสิทธิเรียกร้องให้ดำเนินการบังคับใช้เพื่อหยุดกิจกรรมที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของตน

การคุ้มครอง IP เป็นกุญแจสู่ความสำเร็จของการขยายธุรกิจสำหรับ SME จากสหภาพยุโรป ในภูมิภาค SEA

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA) เป็นจุดหมายปลายทางที่มีศักยภาพสำหรับ SME จากสหภาพยุโรป ด้วยนโยบายที่เปิดกว้างและแรงจูงใจในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ ภูมิภาคนี้เป็นประเทศที่เศรษฐกิจเฟื่องฟูโดยมี GDP รวมกัน 3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2018 (ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก) และมีประชากร 649.1 ล้านคน

161942946040

ภูมิภาค SEA เป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับ 3 ของสหภาพยุโรปที่อยู่นอกยุโรป (รองจากสหรัฐฯ และจีน) โดยมีการค้าขายสินค้าระหว่างกันมากกว่า 237.3 พันล้านยูโรในปี 2018 สหภาพยุโรปเป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับ 2 ของภูมิภาค SEA รองจากจีนคิดเป็นประมาณ 14% ของการค้าทางทะเล สหภาพยุโรปเป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศ SEA ที่มีสัดส่วนการลงทุนโดยตรงของต่างชาติ (Foreign Direct Investment, FDI) ในภูมิภาค SEA คิดเป็นมูลค่า 337 พันล้านยูโร

จนถึงปัจจุบัน สหภาพยุโรปมีข้อตกลงการค้าเสรีสองฉบับที่บังคับใช้กับเวียดนามและสิงคโปร์ตามลำดับ ซึ่งก็ได้แก่ ข้อตกลงการค้าเสรีสหภาพยุโรปกับเวียดนาม (EU-Vietnam Free Trade Agreement, EVFTA) และข้อตกลงการค้าเสรีสหภาพยุโรปกับสิงคโปร์ (EU-Singapore Free Trade Agreement, EUSFTA) และกำลังเจรจาข้อตกลงความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่ครอบคลุมกับอินโดนีเซีย ข้อตกลง FTA (Free Trade Agreement ข้อตกลงการค้าเสรี) เหล่านี้อำนวยความสะดวกในการเข้าถึงตลาด ผ่านการกำจัดภาษีศุลกากร และอุปสรรคทางการค้าอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ภาษีจากทั้งสองฝ่ายรวมทั้งช่วยกระตุ้นกระแสการลงทุน ข้อตกลงแต่ละข้อประกอบด้วยข้อกำหนดเรื่อง IPR ที่ครอบคลุม พร้อมพันธะสัญญาในการปรับปรุงการคุ้มครอง IPR และการบังคับใช้ตามมาตรฐานสากล

รายงานขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Co-operation and Development, OECD) และ EUIPO ที่เผยแพร่ในปี 2019 แสดงให้เห็นว่า บริษัทที่ประสบปัญหาการปลอมแปลงและการละเมิดลิขสิทธิ์ยังเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในยุโรปเสียส่วนใหญ่ จีนยังคงเป็นแหล่งกำเนิดสินค้าลอกเลียนแบบและสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ที่ใหญ่ที่สุด

แต่ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บางประเทศก็ติดอันดับต้น ๆ ของ 25 แหล่งสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าความเสี่ยงต่อการถูกละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาในภูมิภาค SEA ของ SME จากสหภาพยุโรปนั้นอยู่ในระดับสูง และ SME จากสหภาพยุโรปควรพิจารณาสิ่งนี้เมื่อเตรียมกลยุทธ์ด้านทรัพย์สินทางปัญญาของตน

ในบริบทที่ COVID-19 กำลังแพร่ระบาดอยู่ขณะนี้ การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาในสภาพแวดล้อมออนไลน์ดูเหมือนจะเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในประเทศแถบ SEA ผ่านอีคอมเมิร์ซและแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย เนื่องจากไม่มีกฎระเบียบที่เข้มงวดที่จะจัดการกับการละเมิด IP ทางออนไลน์นั่นเองเจ้าของ IP ควรขอขึ้นทะเบียนเพื่อป้องกัน IPR ของตนในแต่ละประเทศที่มีสนใจจะลงทุน การขึ้นทะเบียนที่สำนักงาน IP และในทะเบียนศุลกากรอาจช่วยให้การบังคับใช้ประสบความสำเร็จ

161942949868

คอยติดตาม IP Key South-East Asia และ South-East Asia IP SME Helpdesk เพื่อรับทราบเรื่องราวความสำเร็จของบรรดา SME ในสหภาพยุโรปซึ่งดำเนินธุรกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และว่าการคุ้มครอง IPR มีส่วนสนับสนุนธุรกิจของพวกเขาเช่นไรบ้างในช่วงเวลาที่เกิดโรคระบาดครั้งใหญ่

สหภาพยุโรปสนับสนุนธุรกิจ SME จากสหภาพยุโรปอย่างไรบ้างในภูมิภาค SEA
นอกเหนือจากข้อตกลงการค้าแบบทวิภาคี ซึ่งมีข้อผูกพันสำหรับการคุ้มครองและการบังคับใช้ IPR ที่เพิ่มขึ้นแล้ว สหภาพยุโรปยังให้ความสำคัญกับการเจรจาเกี่ยวกับ IP (IP Dialogue) และโครงการความร่วมมือทางเทคนิคด้าน IP เพื่อสนับสนุนธุรกิจของสหภาพยุโรปที่ซื้อขายและลงทุนในภูมิภาคนี้ ซึ่งก็รวมถึงเหล่า SME ด้วย

คณะกรรมาธิการยุโรปได้เปิดตัวโครงการริเริ่มต่อไปนี้เพื่อสนับสนุนธุรกิจ SME ของสหภาพยุโรป:

South-East Asia IP SME Helpdesk เป็นความคิดริเริ่มของคณะกรรมาธิการยุโรปเพื่อสนับสนุน SME ในการปกป้องและบังคับใช้ IPR ของตนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริการทั้งหมดที่นำเสนอโดย Helpdesk ไม่มีค่าใช้จ่าย
โดยสรุปบริการของ Helpdesk ครอบคลุม (i) สายด่วนสอบถาม (คำแนะนำที่เป็นความลับสำหรับ SME ในสหภาพยุโรป โดยเฉพาะทางด้าน IP ที่เกี่ยวข้องกับ SEA ภายใน 3 วันทำการ) (ii) คำแนะนำเกี่ยวกับ IP และข้อเท็จจริงของแต่ละประเทศ และ (iii) การอบรมนอกสถานที่ทางออนไลน์

IP Key South-East Asia เป็นโครงการระยะเวลาสี่ปีที่ได้รับทุนจากสหภาพยุโรปและดำเนินการโดยสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาของสหภาพยุโรป (European Union Intellectual Property Office, EUIPO) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการคุ้มครองและการบังคับใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมทางกฎหมายและเศรษฐกิจที่เหมาะสมที่เอื้อต่อการค้าและการลงทุนในภูมิภาค

ด้วยการมีส่วนร่วมในการปรับปรุงกรอบการทำงาน IP และการดำเนินการตามแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด IP Key SEA มีเป้าหมายเพื่อสร้างโอกาสที่เท่าเทียมกันสำหรับองค์กรในท้องถิ่นและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในสหภาพยุโรป IP Key SEA คือหนึ่งในสามโปรแกรม IP Key ที่สำคัญ ซึ่ง EUIPO ดำเนินการ และอีกสองโปรแกรมคือ IP Key China และ IP Key Latin America

สิ่งจูงใจอื่นสำหรับ SME ในสหภาพยุโรป
ขณะนี้ SME จากสหภาพยุโรปสามารถขอความช่วยเหลือเพื่อคุ้มครอง IPR ของตนได้ภายใต้โครงการต่อไปนี้:
- กองทุนสนับสนุนเพื่อธุรกิจ SME: โครงการทุน 20 ล้านยูโรที่สร้างขึ้นเพื่อช่วยเหลือ SME ในการพัฒนากลยุทธ์ด้าน IP และคุ้มครอง IPR ในระดับประเทศและสหภาพยุโรป
- Horizon IP Scan: ช่วย SME จัดการและสร้างมูลค่าให้กับ IP ในความร่วมมือด้านการวิจัยและนวัตกรร