“ปี 2564” น้ำท่วมใหญ่หรือไม่ ? และควรเตรียมพร้อมรับมืออย่างไร!

“ปี 2564” น้ำท่วมใหญ่หรือไม่ ? และควรเตรียมพร้อมรับมืออย่างไร!

ย้อนกลับไปเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ได้เกิดน้ำท่วมใหญ่ของประเทศไทย จนถูกยกว่าเป็น "มหาอุทกภัยแห่งทศวรรษ" และจากเหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้เกิดการเรียนรู้และเกิดการรับมือ จนกระทั่งปัจจุบันมีกระแสตั้งแต่ต้นปีว่าจะมีปริมาณของน้ำฝนมากกว่า 60-80% จึงมีการติดตามอย่างใกล้ชิด

มอนิเตอร์น้ำท่วม-น้ำแล้ง

จากกระแสตั้งแต่ต้นปีว่าจะมีปริมาณของน้ำฝนมากกว่า 60-80% เพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงได้มีการผลักดันเพื่อให้เกิดการตั้งรับที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งในเรื่องของน้ำท่วมไหลหลาก น้ำท่วมตลิ่ง หรือแม้กระทั่งน้ำท่วมฉับพลันได้

ทางกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ อว. จึงได้มีการจัดเสวนาออนไลน์ขึ้น โดยดึงผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายภาคส่วน ร่วมให้ข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับแนวโน้มสถานการณ์น้ำของประเทศไทยประจำปี 2564 รวมไปถึงความเสี่ยงของสถานการณ์น้ำท่วมใหญ่ น้ำแล้ง เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและรับมือกับปัญหาที่จะเกิดขึ้น โดยการใช้งานวิจัยและนวัตกรรมของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงภาคประชาชนในการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าว

 

พิจิตต รัตตกุล  ประธานเครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งต่อภัยพิบัติไทย และอดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า น้ำท่วมกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่จะมาจาก 2 แหล่งด้วยกัน โดยมาจากด้านภาคเหนือ และน้ำจากฝน เพราะฉะนั้นจะเป็นสาเหตุสำคัญ ซึ่งอาจจะมีน้ำทะเลหนุนบ้างเล็กน้อย แต่อย่างไรก็ตามน้ำจาก 2 แหล่งที่ส่งผลกระทบต่อการน้ำท่วมนั้นมีวิธีระบาย 2 ด้านด้วยกัน ป้องกัน เบี่ยงไปทิศทางอื่น เพื่อไม่ผ่านเข้าเมือง เนื่องจากกทม. คือพื้นที่ทิ้งน้ำประมาณ  1.7 แสนตารางกิโลเมตร ทางด้านเหนือทั้งหมด 

 

 

ฉะนั้นจะมี 2 ทาง คือป้องกันไม่ให้เกิดการไหลของน้ำในปริมาณที่มาก หรือ การระบายออกให้เร็วขึ้น ส่วนปัญหาจะท่วมหรือไม่นั้นคำตอบคือจะท่วมก็ต่อเมื่อการที่เราพัฒนาการซ่อมแซมเพิ่มเติมระบบต่างๆ


เป็นมากกว่าแก้ปัญหา“น้ำ”
ดังนั้นกรุงเทพฯ ไม่จำเป็นต้องย้ายหนีน้ำท่วม “เจ้าพระยาเดลต้า” มีคำตอบ โดยจะอยู่พื้นที่ 12 ลุ่มน้ำตอนล่าง พื้นที่ริมน้ำ 1.2 ล้านไร่ (เพราะปลูก 1 ล้านไร่) รองรับน้ำได้ในปัจจุบัน 1.5 ล้านลูกบาศก์เมตร ครอบคลุม กรุงเทพฯ ปทุมธานี อยุธยา ชัยนาท สิงห์บุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง ลพบุรี สมุทรสาคร สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา สมุทรสงคราม โดยมีเป้าหมายเพื่อความอุดมสมบูรณ์ ปลอดน้ำท่วม น้ำแล้ง เป็นแหล่งพัฒนาเศรษฐกิจเกษตร อุตสาหกรรม และพาณิชย์เมือง 
 

โดยมีกิจกรรมคือเปิดทางน้ำสายหลักเพิ่มขึ้นเพื่อลด Load ลำน้ำเดิม ระบบชลประทานย่อย คลองส่งน้ำและพัฒนาแหล่งน้ำในฤดูแล้ง ป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งแบบยั่งยืน ให้ SLR จาก Climate Change มีผลกระทบน้อยที่สุด และDike ชายฝั่งแนวหัวกอไก่ อีกทั้ง Integrated dike สำหรับชุมชนและพาณิชย์อุตสาหกรรม ตอนใต้อยุธยาก่อนเข้าปริมณฑล ผันสู่ลำน้ำใหญ่ อีกทั้งแผนเกษตรกรรมใหม่ สอดคล้องปริมาณน้ำที่ไหลผ่านให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งจะเป็นการหนุนให้ชุมชนและเมืองใหม่เกิดขึ้นในพื้นที่ เพื่อลดภาระของเมืองใหญ่ดั้งเดิม

ขณะเดียวกันยังชี้ว่า “อย่าหนีกรุงเทพฯ น้ำจะไม่ท่วมหากเอาชนะความถี่ ความเข้มของน้ำได้”

ปริมาณน้ำฝนที่จะเกิดขึ้น

ด้าน สุทัศน์  วีสกุล  ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) ชี้ว่า สถานการณ์น้ำในประเทศไทย 8 เดือนที่ผ่านมา ประเทศไทยฝนตกน้อยประมาณร้อยละ 5 น้อยกว่าค่าปกติ โดยเฉพาะเหนือเขื่อนภูมิพล เหนือเขื่อนสิริกิติ์ พื้นที่ส่วนใหญ่โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และพื้นที่ทำนาที่ใหญ่ที่สุดของ

ประเทศนั่นคือลุ่มน้ำเจ้าพระยาฝนตกน้อยกว่าปกติทั้งสิ้น โดยเฉพาะเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาซึ่งอยู่ในฤดูฝนอย่างชัดเจน ฝนตกน้อยผิดปกติไปมาก มีปริมาณฝนน้อยกว่าค่าปกติ 13% ซึ่งจะเป็นพื้นที่เดิมคือภาคเหนือ และตะวันออกเฉียงเหนือ

ส่วนปริมาณฝนสะสม 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ช่วง 2 สัปดาห์แรกของเดือนกันยายน มีฝนตกหนักในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก 

เนื่องจากร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ประกอบกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน อ่าวไทย และประเทศไทยที่มีกำลังแรง ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันอออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ฝั่งตะวันตก สำหรับพื้นที่เหนือเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ยังมีฝนตกน้อย

ทั้งนี้จากการที่ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม จำเป็นต้องใช้น้ำเพื่อการเกษตรเป็นหลัก แต่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาเป็นพื้นที่เพาะปลูกใหญ่ของประเทศใช้น้ำจาก 4 เขื่อนหลักได้แก่ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อย และเขื่อนป่าสัก ซึ่งเมื่อปลายปีที่ผ่านมา ฤดูแล้ง

เริ่มตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2563 จนกระทั่งถึง 30 เมษายน 2564 รวมระยะเวลา 6 เดือน ประเทศไทยมีน้ำอยู่ประมาณ 5,771 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งในฤดูแล้งไม่มีฝนตกจึงเกิดการใช้มากกว่าเก็บ ส่งผลให้เหลือน้ำประมาณ 2,263 ล้านลูกบาศก์เมตร 

จนกระทั่งเริ่มต้นฤดูฝน 1 พฤษภาคม 64 มีน้ำอยู่ประมาณ 2,265 ลูกบาศก์เมตร จนถึงปัจจุบันเก็บน้ำได้แค่ 1พันล้านลูกบาศก์เมตรเท่านั้น รวมประมาณ 3 พันล้านลูกบาศก์เมตร จนถึง 1 พฤศจิกายน ควรมีน้ำประมาณ 8 พันล้านลูกบาศก์เมตร เพื่อให้มีน้ำในการบริหารจัดการ ทำการเกษตร และทำให้ชาวน้าสามารถทำนาปรังได้ในปีหน้า แต่ดูเหมือนว่าเป็นโจทย์ที่ยากพอสมควร 

หากเปรียบเทียบข้อมูลปัจจุบันปริมาณน้ำของ 4 เขื่อนหลักกลุ่มกับปี 2554 ที่เกิดสถานการณ์น้ำท่วมใหญ่ แสดงให้เห็นชัดว่าปีนี้มีน้ำน้อยกว่าครึ่งหนึ่งจาก 10 ปีที่ผ่านมา ดังนั้นการปล่อยน้ำจากเขื่อนที่จะส่งผลต่ออุทกภัยจึงเป็นไปได้ยากเนื่องจากต้องเก็บกักน้ำไว้ 


ต่อมาเป็นการคาดการณ์ในอีกประมาณ 1-2 เดือนต่อจากนี้ ซึ่งเป็นเดือนที่จำเป็นอย่างมากที่จะต้องติดตามสถานการณ์การใช้ดัชนี หรือ มหาสมุทรทั้ง 3 อย่าง คือค่าดัชนี ONI ของมหาสมุทรแปซิฟิก ,ค่าดัชนี PDO มหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ และดัชนี DMI ของมหาสมุทรอินเดีย ทั้ง 3 มหาสมุทรส่งผลต่อสภาพอากาศ และอุตุนิยมวิทยาในประเทศไทย

จาการคาดการณ์พบว่าสภาพฝนของประเทศไทยใน 3 เดือนนับจากนี้ (กันยายน ถึงพฤศจิกายน 2464 )จะคล้ายกับสภาพฝนปี 2551 คาดว่าฝนจะตกถึงเกือบร้อยละ 40 ของฝนปีนี้ โดยเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม ฝนเพิ่มมากขึ้นมากกว่าปกติ และคาดว่ามีพายุเคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทยอย่างน้อย 1 ลูกประมาณปลายเดือนกันยายน อาจทำให้เกิดอุทกภัยในระดับเมือง และท้องถิ่น เป็นจุดและตามริมตลิ่งจึงควรเตรียมพร้อม แต่ในช่วงนี้จะมีน้ำไหลลงเขื่อนเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นเขื่อนจึงจำเป็นต้องเก็บกักน้ำไว้ให้ได้มากที่สุด เพื่อไว้ใช้ในฤดูแล้งหน้าพร้อมทั้งประชาชนและเครือข่ายชุมชน พลิกวิกฤติเป็นโอกาสเก็บน้ำสร้างอาชีพ

 

ส่วนเดือนพฤศจิกายน มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจำมีกำลังแรง และอาจมีหย่อมความกดอากาศต่ำเคลื่อนตัวเข้าสู่อ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักจนเกิดอุทกภัยได้จึงควรเตรียมพร้อมรับมือและเก็บน้ำไว้ใช้เช่นเดียวกัน

ทั้งนี้เมื่อนำข้อมูลคาดการณ์มาทำตาราง ดูปริมาณน้ำในเขื่อนประกอบเป็นตัวบ่งชี้ว่า เขื่อนใดเมื่อมีปริมาณน้ำมากแล้วปริมาณฝนคาดการณ์ก็จะมากด้วยนั่นคือ เขื่อนแม่มอก เขื่อนนฤบดินทรจินดา เขื่อนลำพระเพลิง ส่วนเขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนภูมิพลนั้น ปริมาณน้ำน้อย คาดว่าในอีก 2 เดือนข้างหน้าก็จะมีปริมาณน้ำมาเติมได้เท่าไร

น้ำจะท่วมหรือไม่ ?

สุดท้ายแล้วปีนี้จะเหมือนน้ำท่วมใหญ่ปี2554 หรือ 2560 หรือไม่นั้น ต้องใช้ดัชนีทะเลทั้ง 3 ดัชนีพร้อมกันและเปรียบเทียบค่าสูงสุด และเปรียบเทียบการแปรปรวนพบว่าปีนี้แตกต่างจากปี 54 และ 60 โดยสิ้นเชิง แต่ไม่ทำให้เกิดน้ำท่วมใหญ่ แต่จะมีปริมาณฝนมากขึ้นในเดือนกันยายน และตุลาคม และในปีนี้ปริมาณฝนจะไหลลงเขื่อนน้อยกว่าปี 54 ค่อนข้างมาก

 

ทางด้าน ธเนศร์  สมบูรณ์  ผู้เชี่ยวชาญด้านที่ปรึกษาอุทกวิทยา กรมชลประทาน เผยว่า สถานการณ์น้ำของประเทศไทยในปี 2564 อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่กว่า 35 แห่ง มีปริมาณน้ำเก็บกัก 57% และปริมาณน้ำใช้การ 35% ส่วนในปี 2554 มีปริมาณน้ำประมาณ 83% ทั้งนี้หากดูในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาระหว่างปี 2554 กับปี 64 ต่างกันค่อนข้างจะมาก ซึ่งปี 54 มีประมาณ 90% ส่วนปี 64 มีเพียง 39% รับน้ำได้อีก 1.5 หมื่นล้านลูกบาศก์เมตร จึงค่อนข้างแตกต่างอย่างมาก

โดยกรมชลประทานมีการเตรียมตัวรับสถานการณ์อย่างไรนั้นจะเห็นได้ว่าคีย์เวิร์ดต้นน้ำคือกักเก็บน้ำ กลางน้ำคือหน่วงน้ำ และปลายน้ำคือเร่งระบายน้ำ นี่คือแนวทางการบริหารจัดการน้ำของกรมฯที่กำลังดำเนินการอยู่ ซึ่งจะเห็นได้ว่าอิทธิพลจากน้ำท่วมเกิดได้จากน้ำเหนือ น้ำฝน และน้ำทะเลหนุน จะเห็นได้ว่าสถานการณ์ปัจจุบันอ่างเก็บน้ำทั้ง 4 มีน้ำใช้การเพียง 3.2 พันล้านลูกบาศก์เมตรเท่านั้น 
ทั้งนี้ต้องระวังในเรื่องของน้ำฝนและน้ำทะเลหนุนที่อาจส่งผลต่อน้ำท่วมได้

ซึ่งเครื่องมือการบริหารจัดการน้ำจากตอนบน (ภาคเหนือ) ตอนล่าง (อ่าวไทย) จะใช้เครื่องมือให้สอดคล้องกับปัจจุบัน อาทิ การทำทุ่งบางระกำในพื้นที่ลุ่มทุ่งบางระกำ ตัดยอดน้ำในแม่น้ำยม อีกทั้งจัดระบบการปลูกพืช ทำทุ่ง ส่วนทุ่งตอนล่างมีการทำโครงการมาหลายปีโดยกักเก็บน้ำได้ 1.5 พันล้านลูกบาศก์เมตร ปัจจุบันการเพาะปลูกพื้นที่ดังกล่าวมีการปลูกเร็วกว่าปีที่แล้ว ซึ่งทุ่งทั้ง 12 ทุ่งสามารถเก็บเกี่ยวได้เดือนตุลาคม และหากมีน้ำเหนือมาทุ่งนี้จะช่วยตัดยอดน้ำได้ หรือแม้กระทั่งโครงการประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

 

ทั้งนี้ในเรื่องของการบริหารจัดการน้ำในเขตกรุงเทพฯ และรอยต่อกรุงเทพฯ ตอนนี้ร่องมรสุมยังพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน ประกอบกับลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ก็ยังมีกำลังแรง อีกทั้งพายุที่ยังมีช่วงปลายเดือน เราจึงเพิ่มศักยภาพในการติดตั้งเครื่องสูบน้ำริมแม่น้ำบางปะกง และติดตั้งเพิ่มริมคลองชายทะเลเพื่อเร่งการระบายน้ำตั้งแต่ทุ่งรังสิต สู่ลาดกระบัง บางบ่อ เพื่อตัดน้ำออก ทั้งหมดนี้เป็นแผนในการรับมือที่อาจจะมีฝนตกมากในเขตกรุงเทพฯ โดยเฉพาะภาคกลางตอนล่าง

ส่วนในปี 65 ที่อาจจะเกิดภาวะแล้ง โดยทางหลากหลายองค์กรได้มีการประสานงานร่วมกันกับเครือข่าย เพื่อกำหนดทรัพยากร คน เพื่อลงสู่พื้นที่ได้ทันการณ์ โดยจะบริหารจัดการน้ำโดยเรียงลำดับความสำคัญคือ สำหรับการอุปโภค บริโภคของลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างโดยเฉพาะกรุงเทพฯ ต้องไม่เกิดการขาดแคลน 2.ระบบนิเวศประปาต้องไม่เค็ม และสำรองน้ำต้นฤดูฝนปีหน้า 3.เพื่อการเกษตร และเพื่ออุตสาหกรรมและอื่นๆ