สกสว. ขับเคลื่อนงานใต้โครงสร้างใหม่! ตั้งเป้าสู่การเป็นองค์กรสมรรถนะสูง

สกสว. ขับเคลื่อนงานใต้โครงสร้างใหม่! ตั้งเป้าสู่การเป็นองค์กรสมรรถนะสูง

สกสว.เดินหน้าปรับโครงสร้างองค์กร ตอกย้ำศักยภาพ ขับเคลื่อนระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้บรรลุตามพันธกิจ เจตนารมณ์และความคาดหวังได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านการศึกษาและออกแบบการปรับปรุงโครงสร้างองค์กร โดยคณะนักวิจัยจากภายนอก เพื่อศึกษาข้อมูลอย่างรอบด้าน

ศ.ปิยะวัติ บุญ-หลง ประธานกรรมการอำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เป็นประธานเปิดการประชุมคณะกรรมการอำนวยการ สกสว. ครั้งที่ 10/2564 ผ่านระบบการประชุมออนไลน์ เพื่อหารือความคืบหน้าในการดำเนินงานด้านต่างๆ ของ สกสว.

หนึ่งในประเด็นสำคัญที่มีการพิจารณากันวันนี้คือ การขออนุมัติโครงสร้างองค์กร สกสว.ซึ่งเป็นวาระสืบเนื่องมาจาก คณะกรรมการอำนวยการ สกสว. และผู้อำนวยการ สกสว. ได้แก่ ข้อมูลพื้นฐานและกฎหมาย การศึกษาเปรียบเทียบกับองค์กรในต่างประเทศหลายแห่ง ตลอดจนการสุ่มสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้บริหาร พนักงาน และผู้มีส่วนได้ส่วนได้เสีย และจัดกระบวนการมีส่วนร่วมของบุคลากร สกสว. อย่างต่อเนื่อง

โดยคณะกรรมการอำนวยการ สกสว. ในการประชุมครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ผ่านมามีมติเห็นชอบกับโครงสร้างองค์กรและอัตรากำลัง สกสว. ที่คณะนักวิจัยได้ออกแบบขึ้น และเห็นชอบให้ทดลองเปลี่ยนผ่านโครงสร้างองค์กร เป็นระยะเวลา 6 เดือน (ตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ – 30 กันยายน 2564) ที่ผ่านมา

 

ทั้งนี้จากผลการดำเนินงานที่ผ่านมาพบว่า โครงสร้างใหม่สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สกสว. ทำงานร่วมกับหน่วยงานภาคีในฐานะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและดำเนินงานตามพันธกิจได้ดียิ่งขึ้น แม้ว่าจะพบปัญหาเชิงกลไกการทำงานอยู่บ้าง แต่ก็ถือเป็นปกติของระยะเปลี่ยนผ่าน ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าการปรับโครงสร้างครั้งนี้ ส่งเสริมให้ สกสว. เป็นองค์กรสมรรถนะสูงได้ และสามารถบรรลุเป้าหมายในการส่งมอบผลลัพธ์ คือการพัฒนาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาประเทศได้ ด้วยเหตุนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการอำนวยการ สกสว. วันนี้ จึงมีมติอนุมัติโครงสร้างของ สกสว. ซึ่งประกอบด้วย

1.สำนัก ตามฟังก์ชัน (Function Based: FB) 6 สำนัก ได้แก่ (1) สํานักกลยุทธ์แผนและงบประมาณ (2) สํานักบริหารงบประมาณ ววน. (3) สํานักกลยุทธ์และพัฒนากองทุน (4) สํานักพัฒนาระบบ ววน. (5) สํานักติดตามและประเมินผล และ (6) สํานักบริหารและพัฒนาองค์กร

 

2. กลุ่มภารกิจ ตามเป้าหมายและกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย (Outcome-Stakeholder Based: OSB) 4 กลุ่มภารกิจ ได้แก่ (1) กลุ่มภารกิจการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2) กลุ่มภารกิจการพัฒนา ววน. ด้านความสามารถในการแข่งขัน (3) กลุ่มภารกิจการพัฒนา ววน. ด้านสังคม สิ่งแวดล้อม เชิงพื้นที่ และลดความเหลื่อมล้ำ และ (4) กลุ่มภารกิจการพัฒนา ววน. ด้านกําลังคนและสถาบันความรู้

3. หน่วยพิเศษ ตามฟังก์ชัน (Unit: U) 2 หน่วย ได้แก่ (1) หน่วยข้อมูลและสำนักงานผู้อำนวยการ (2) หน่วยตรวจสอบภายใน โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (1 ตุลาคม 2564) เป็นต้นไป จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง โดยให้คณะทำงานนำผลการดำเนินงานมารายงานให้คณะกรรมการอำนวยการ สกสว. ทราบ เป็นระยะๆ ต่อไป