วช. ชูนวัตกรรม “แท่นจับเลื่อยตัดกระดูก” แบบแม่นยำ ลดติดเชื้อในการผ่าตัด
ผลงานวิจัยพร้อมใช้ “แท่นจับเลื่อยตัดกระดูก" เพื่อความง่ายและแม่นยำ ผลงาน ทศพร เฟื่องรอด นักวิจัยจากวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ศรีสวางวัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ที่ช่วยลดสั่นสะเทือน การติดเชื้อในการผ่าตัด ถูกจัดแสดงใน "มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2564" พร้อมเตรียมส่งออกสู่ตลาด
นวัตกรรม “แท่นจับเลื่อยตัดกระดูกเพื่อความง่ายและแม่นยำ ของ ดร.ทศพร เฟื่องรอด นักวิจัยจากวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ศรีสวางวัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
โดย ทศพร เล่าให้ฟังถึงแนวคิดว่า หนึ่งในปัญหาที่พบบ่อยของการปฏิบัติการทางคลินิกในห้องผ่าตัดกระดูก ข้อจำกัดและอุปสรรคในการใช้อุปกรณ์เลื่อยตัดกระดูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งแพทย์ศัลยกรรมกระดูกที่มีประสบการณ์ดังกล่าวหรือแพทย์ศัลยกรรมที่เพิ่งจบใหม่ ส่งผลให้การตัดกระดูดไม่เรียบ และมีโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดได้ในระหว่างการผ่าตัด ซึ่งอาจส่งผลต่อผลลัพธ์ของการรักษาได้ นอกจากนี้เลื่อยตัดกระดูกแบบที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ยังพบปัญหา อาทิเช่น ขาดความสามารถในการรับแรงและควบคุมเลื่อยระหว่างการผ่าตัด ยังไม่สามารถวัดมุมในการตัดกระดูกได้ ดังนั้นการตัดกระดูกจึงเป็นการคาดคะเนมุมโดยประมาณ ยังขาดความแม่นยำของมุมในการผ่าตัดกระดูกเปลี่ยนแนวสำหรับผู้ป่วยเข่าโกง และการปนเปื้อนเชื้อโรคระหว่างการผ่าตัดที่เกิดจากการส่งอุปกรณ์เลื่อยในห้องผ่าตัด เป็นต้น
ทศพร กล่าวต่อว่า นวัตกรรมแท่นจับเลื่อยตัดกระดูกเพื่อความง่ายและแม่นยำ ช่วยในการประคองและลดการสั่นสะเทือน ส่งผลให้การตัดกระดูกมีความเรียบมากยิ่งขึ้นรวมทั้งเพิ่มความแม่นยำในการผ่าตัด และลดปริมาณการสูญเสียของเนื้อกระดูกที่เกิดขึ้นในรอยต่อของกระดูกที่ผ่าไป ตลอดจนลดการปนเปื้อนในการรับส่งเครื่องมือ หรือความผิดพลาดที่เกิดขึ้นระหว่างผ่าตัด จุดเด่นของผลงาน 1. มีระบบ ergonomic arm ในการชดเชยน้ำหนักของเลื่อยขณะผ่าตัด 2. มีระบบ image processing ในการวัดมุมและระยะในการผ่าตัด 3. มีระบบ interlock safety system ในการป้องกันการผิดพลาดในการผ่าตัด 4. มีระบบ temperature control ในการป้องกันความร้อนที่เกิดจากการเสียดสีของใบเลื่อยและกระดูก และ 5. สามารถใช้ติดกับเลื่อยตัดกระดูกได้ทุกรุ่น
ขณะนี้ นวัตกรรม “แท่นจับเลื่อยตัดกระดูก" เพื่อความง่ายและแม่นยำ อยู่ในขั้นตอนการพัฒนและต่อยอดในเชิงพาณิชย์ ได้ทดสอบปฎิบัติการแล้วผลเป็นที่น่าพอใจ ตอนนี้จะพัฒนาเรื่องของมาตราฐานเพื่อที่จะได้จด อย. ให้ผ่าน เพื่อที่จะนำไปขายในปี 2566 ให้ได้
ทั้งนี้นวัตกรรม “แท่นจับเลื่อยตัดกระดูก" เพื่อความง่ายและแม่นยำได้รับการสนับสนุนจาก วช. ให้เข้าร่วมประกวดในเวทีนานาชาติ “The 48th International Exhibition of Inventions Geneva” ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส เมื่อปี 2563 จนสามารถคว้ารางวัลเหรียญเงินมาครอง