‘ข้อมูลส่วนบุคคล’ เกี่ยวข้องกับ 'ความเสี่ยงทางธุรกิจ' อย่างไร

‘ข้อมูลส่วนบุคคล’ เกี่ยวข้องกับ 'ความเสี่ยงทางธุรกิจ' อย่างไร

การแก้ปัญหาข้อมูลส่วนบุคคลช่วยให้ทุกบริษัทสามารถจัดการกับความเสี่ยงได้ครบทุกมิติอย่างมีประสิทธิภาพ ด้านของผู้บริโภค 85% ต้องการทราบว่าธุรกิจใดบ้างที่รวบรวมข้อมูลของพวกเขา

เพราะหากบริษัทมีความล้มเหลวในการรักษาความปลอดภัยและปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลแล้วอาจนำไปสู่ความเสี่ยงต่างๆ ดังนี้

ความเสี่ยงทางการเงิน: บทลงโทษทางกฏหมายและข้อบังคับ ตลอดจนต้นทุนทางอ้อม เช่น การสูญเสียโอกาสทางธุรกิจและความสามารถในการผลิตที่ลดลง

ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติการ: การหยุดชะงักของกระบวนการทำงาน หรือการสูญหายของข้อมูลสำคัญที่จำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจอาจทำให้เกิดความล่าช้า ลดประสิทธิภาพการผลิต และเพิ่มต้นทุนอีกด้วย

ความเสี่ยงด้านชื่อเสียง: ข่าวในแง่ลบและความไว้วางใจที่ลดลงอาจนำไปสู่การสูญเสียลูกค้าและยอดขายซึ่งอาจก่อให้เกิดความล้มเหลวในการดึงดูดและรักษาพนักงานที่มีความสามารถ รวมถึงซัพพลายเออร์และพันธมิตรทางธุรกิจให้ดำเนินงานร่วมกับทางบริษัท

ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามกฏระเบียบ: ทำให้เกิดบทลงโทษทางกฏหมายและทางการเงิน

ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์: หากข้อมูลทางธุรกิจไม่ถูกต้องครบถ้วนหรือไม่มีการป้องกันที่ดีพอ อาจนำไปสู่การตัดสินใจที่ผิดพลาดและทำให้พลาดโอกาสที่สำคัญไปได้

เมื่อมีการติดตั้งระบบที่ศูนย์ควบคุมความเป็นส่วนตัวแล้ว ธุรกิจต่างๆ จึงจะสามารถประเมินการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความละเอียดอ่อนและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องได้แบบเรียลไทม์ 

สำหรับ dashboard ความเป็นส่วนตัวนั้น สามารถตอบโจทย์ได้ทั้งทีมกฎหมาย ทีมรักษาความปลอดภัยและทีมผู้บริหาร เพื่อช่วยตรวจสอบสถานะและผลกระทบของการจัดการข้อมูลส่วนบุคคล

เช่น การทำ data mapping การจัดทำคลังแอพพลิเคชันของบุคคลที่สามและระบบภายใน การจัดการคำร้องขอข้อมูล (DSR) และการบันทึกรายการกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคล (RoPAs) และการประเมินความเป็นส่วนตัว (DPIA, PIA)

การแก้ปัญหาข้อมูลส่วนบุคคลคือการทำความเข้าใจอย่างรอบด้านเพื่อลดโอกาสเกิดความเสี่ยง หากเราสังเกตดีๆ แล้วจะพบว่า หลายแบรนด์ที่ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าจะทราบดีอยู่แล้วว่า การลดความเสี่ยงทางธุรกิจสามารถทำได้ก็ต่อเมื่อแบรนด์เหล่านี้เข้าใจว่าข้อมูลส่วนบุคคลถูกจัดเก็บไว้ที่ใดและนำไปใช้อย่างไร

เพราะจากการสำรวจพบว่า 85% ของผู้บริโภคต้องการทราบว่าธุรกิจใดบ้างที่รวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลและวิธีที่แบรนด์ใช้ข้อมูลนั้น ทำให้แบรนด์ต่างๆ ได้รับแรงจูงใจให้ปฏิบัติตามข้อกำหนดของโปรแกรมความเป็นส่วนตัว

การมี dashboard ความเป็นส่วนตัวแบบเห็นภาพรวมของโปรแกรมและคำแนะนำต่างๆ เกี่ยวกับเวิร์กโฟลว์จะช่วยเพิ่มกลยุทธ์ทางกฏหมายและความปลอดภัยที่มาพร้อมกับวิธีการที่ทันสมัยในการวัดและทำความเข้าใจความเสี่ยง

การลดความเสี่ยงทางธุรกิจ: dashboard มีอินเทอร์เฟซเฉพาะข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อตรวจสอบเชิงรุกและลดความเสี่ยงธุรกิจ

ที่มาของข้อมูล: ธุรกิจต่างๆ สามารถตรวจสอบการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลและระบุโอกาสในการปรับปรุงโปรแกรมความเป็นส่วนตัวจากอินเทอร์เฟซ

การจัดลำดับความสำคัญให้ชัดเจน: ทีมจะสามารถพิจารณางานที่เร่งด่วนและใช้ข้อมูลในการคาดการณ์แนวโน้มของโปรแกรมความเป็นส่วนตัวเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องโดยการปรับปรุงทั้งโฟกัสและความเร็ว

Privacy ROI: บริษัทต่างๆ สามารถเข้าถึงระบบได้อย่างอัตโนมัติซึ่งจะช่วยประหยัดทั้งเงินและเวลา ยิ่งไปกว่านั้นยังสามารถเชื่อมต่อโปรแกรมความเป็นส่วนตัวไปยังส่วนอื่นๆ ขององค์กรได้อีกด้วย

สำหรับผมแล้วมองว่า ความเป็นส่วนตัวอยู่ใน DNA ของความเสี่ยงทางธุรกิจอยู่แล้ว หากคุณไม่ได้แก้ปัญหาเรื่องความเป็นส่วนตัว แสดงว่าคุณไม่ได้จัดการกับสถานะทางธุรกิจแบบองค์รวม 

การทำความเข้าใจและจัดการปรับปรุงเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวเป็นสิ่งสำคัญในการลดความเสี่ยงทางธุรกิจโดยรวมและรักษาระดับความไว้วางใจให้คงอยู่ครับ