สนใจ ทัก!! instagram แพลตฟอร์มทรงพลัง ปลดล็อคธุรกิจ - การค้ายุคใหม่
instagram เป็นแพลตฟอร์มอันดับหนึ่งสำหรับการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับแบรนด์ กลายมาเป็นช่องทางที่คนรุ่นใหม่เลือกใช้เพื่อเชื่อมต่อและรับแรงบันดาลใจ
“ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยังคงฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องและแข็งแกร่ง เปรียบเสมือนเป็นแสงไฟที่ลอดผ่านแรงลมต้านแห่งความท้าทายในระดับโลก”
ดรูฟ โวห์รา กรรมการผู้จัดการ กลุ่มธุรกิจ Meta (ตลาดระดับกลาง) ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก แสดงความคิดเห็น
โดยมีการคาดการณ์ว่าภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีแนวโน้มที่จะเป็นผู้นำในด้านการขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจโลก ในปี 2566 นี้
สำหรับในภูมิภาคเอเชีย โดยเฉพาะในประเทศไทย มีการคาดการณ์ว่าจะมีการเติบโตเชิงเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นระหว่าง 3-3.5% ในปีนี้ ซึ่งเป็นผลมาจากการฟื้นตัวของธุรกิจจากการเปิดประเทศต่างๆ ภายในภูมิภาค รวมถึงศักยภาพของธุรกิจในระดับท้องถิ่น
พื้นที่สำคัญ 'ชุมชน-การซื้อขาย'
Meta พบว่า ลักษณะภูมิทัศน์ช่วงหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของประเทศไทย ธุรกิจต่างๆ ได้ตระหนักถึงศักยภาพของโซเชียลมีเดียและบทบาทที่สำคัญขั้นพื้นฐานในการมอบความบันเทิงและเชื่อมต่อกับลูกค้ามากขึ้น
ผลการศึกษาที่ Meta จัดทำขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ ภายใต้ความร่วมมือกับ Ipsos ระบุว่า ปัจจุบัน ผู้บริโภคชาวไทยนิยมใช้แพลตฟอร์มในเครือของ Meta เพื่อการเชื่อมต่อและความบันเทิงมากที่สุด โดยเฉพาะ Instagram จึงทำให้แพลตฟอร์มเหล่านี้กลายเป็นพื้นที่สำคัญสำหรับทั้งชุมชนและการซื้อขายในประเทศไทยอย่างรวดเร็ว
แต่ละวัน Instagram เป็นพื้นที่ที่จุดประกายการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้คนกับธุรกิจต่างๆ เป็นจำนวนกว่าพันล้านครั้ง โดยนำเสนอการเชื่อมต่อกับชุมชนต่างๆ ผ่านความสนใจที่มีร่วมกัน การแสดงออกถึงความรู้สึกส่วนตัวที่มีต่อแบรนด์ และการมีส่วนร่วมกับวัฒนธรรมใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
ปัจจุบัน การส่งข้อความเชิงธุรกิจกำลังเป็นที่นิยมสำหรับผู้ใช้ Instagram ในประเทศไทย ทั้ง Instagram ได้กลายเป็นแพลตฟอร์มอันทรงพลังที่กำหนดทิศทางอนาคตของการค้าผ่านการค้นพบ (Discovery Commerce)สนใจ ทัก DM!
Meta พบด้วยว่า 75% ของผู้ตอบแบบสอบถามชาวไทยกล่าวว่า พวกเขามีกิจกรรมการซื้อ หลังจากเห็นผลิตภัณฑ์หรือบริการบน Instagram กลายเป็นส่วนสำคัญที่เข้ามากำหนดทิศทางอนาคตของการค้าผ่านการค้นพบ และวิธีการที่แพลตฟอร์มช่วยให้ธุรกิจไทยบรรลุเป้าหมายในปี 2566 ดังนี้
ต่อยอดโอกาสในการส่งข้อความที่ไม่มีใครเหมือน ในทุกขั้นตอนของเส้นทางการซื้อสินค้า : การสนทนาแบบตัวต่อตัวเป็นส่วนสำคัญในการเชื่อมต่อของมนุษย์ การซื้อขาย และความสัมพันธ์ และการส่งข้อความยังมีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือลูกค้าในการค้นพบและมีส่วนร่วมกับแบรนด์
ปัจจุบัน การส่งข้อความยังได้ปลดล็อคความสามารถในการรองรับการสนทนากับลูกค้าในปริมาณที่มากขึ้น โดยมีตัวเลือกจุดเริ่มต้นเพื่อเริ่มการสนทนาอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการส่งข้อความส่วนตัว (ผ่านโปรไฟล์หรือโพสต์) การสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับร้านค้า และการตอบกลับผ่านฟีเจอร์ Stories
หลังสถานการณ์การแพร่ระบาด ทำให้เกือบครึ่งหนึ่งของผู้บริโภคชาวไทยในปัจจุบันแชทเพื่อพูดคุยกับธุรกิจมากขึ้น โดย 42% ใช้การส่งข้อความเชิงธุรกิจมากขึ้นตั้งแต่มีสถานการณ์การแพร่ระบาด
ขณะที่ประเทศไทยยังได้เปิดรับและนำการส่งข้อความมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางในการซื้อสินค้า โดย 62% สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับธุรกิจหรือผลิตภัณฑ์ผ่านแอปพลิเคชันส่งข้อความในเครือของ Meta ในขณะที่ 58% ซื้อสินค้าผ่านช่องทางในเครือของ Meta
ดึงศักยภาพพื้นที่ ‘ผู้บริโภครุ่นใหม่’
ข้อมูลชี้ว่า 72% ของผู้บริโภคที่ค้นพบผลิตภัณฑ์บนแพลตฟอร์มในเครือของ Meta ยังคงใช้งานแพลตฟอร์มอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ขั้นตอนการค้นพบไปจนถึงขั้นตอนการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
สำหรับ Messenger และการส่งข้อความส่วนตัวผ่าน Instagram (Instagram Direct) 52% ของเจนแซดเห็นด้วยว่า Instagram เป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยสร้างความสัมพันธ์และบทสนทนากับแบรนด์ ขณะที่ 45% พร้อมเปิดใจแชร์ความสนใจส่วนตัวของพวกเขาให้ธุรกิจได้รับรู้ผ่านการแชทอีกด้วย
ทุกวันนี้ ผู้คน ครีเอเตอร์ และธุรกิจต่างๆ กว่าสองพันล้านราย เป็นส่วนหนึ่งของคอมมูนิตี้ซึ่งต่างร่วมสร้างคอนเทนต์และโต้ตอบกันในทุกๆ วัน ในจำนวนผู้ใช้ทั้งหมดนี้ มีผู้คนกว่า 90% ที่ติดตามธุรกิจบน Instagram มีถึง 2 ใน 3 ที่บอกว่า Instagram ช่วยให้พวกเขาสามารถสร้างความสัมพันธ์กับแบรนด์ได้อย่างมีความหมายยิ่งขึ้น
ผลการสำรวจชาวไทยโดย Global Web Index เผยว่า Instagram เป็นแพลตฟอร์มอันดับหนึ่งสำหรับการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับแบรนด์ และได้กลายมาเป็นแพลตฟอร์มที่คนรุ่นใหม่เลือกใช้เพื่อเชื่อมต่อและรับแรงบันดาลใจ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนในกลุ่มเจนแซด ซึ่งกว่า 48% เรียนรู้เกี่ยวกับบริการและผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่ไม่เคยรู้จักมาก่อนบน Instagram
สำหรับธุรกิจที่เข้าถึงและเป็นที่นิยมในหมู่ผู้บริโภครุ่นใหม่ประกอบไปด้วย อาหารและเครื่องดื่ม (68%) เทคโนโลยี (65%) ดนตรี (74%) และการดูแลสุขภาพ (57%)