‘กัลฟ์’ ผนึก ‘กูเกิล’ บูมคลาวด์ ต่อยอด ‘ดาต้าเซนเตอร์’ 2 หมื่นล้าน

‘กัลฟ์’ ผนึก ‘กูเกิล’ บูมคลาวด์  ต่อยอด ‘ดาต้าเซนเตอร์’ 2 หมื่นล้าน

“กัลฟ์” ผนึกกำลัง “กูเกิล” รุกตลาดคลาวด์ในประเทศไทย ชูบริการ “Sovereign Cloud” พิทักษ์อธิปไตยข้อมูล มุ่งเจาะองค์กรด้านความมั่นคง ภาครัฐ การเงิน ต่อยอดธุรกิจดาต้าเซนเตอร์ งบลงทุน 2 หมื่นล้านบาท ปูทางนำประเทศไทยสู่อนาคตที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมดิจิทัล และ AI

KEY

POINTS

  • ให้บริการ “Sovereign Cloud” ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ
  • รวมจุดแข็งด้านเทคโนโลยีของ Google เข้ากับความเป็นผู้นำของกัลฟ์ด้านการผลิตไฟฟ้า และโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล
  • กัลฟ์เป็นพันธมิตรผู้ให้บริการ “Managed GDC Provider (MGP)” ของ Google รายแรกในไทย และในอาเซียน                                                                                                                                                                                                                                                   

“กัลฟ์” ผนึกกำลัง “กูเกิล” รุกตลาดคลาวด์ในประเทศไทย ชูบริการ “Sovereign Cloud” พิทักษ์อธิปไตยข้อมูล มุ่งเจาะองค์กรด้านความมั่นคง ภาครัฐ การเงิน ต่อยอดธุรกิจดาต้าเซนเตอร์งบลงทุน 2 หมื่นล้านบาท ปูทางนำประเทศไทยสู่อนาคตที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมดิจิทัลและ AI

สารัชถ์ รัตนาวะดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัท กัลฟ์ เอดจ์ จำกัด (“Gulf Edge”) ในเครือกัลฟ์ และกูเกิลคลาวด์ประกาศข้อตกลงระยะเวลายาวสำหรับการให้บริการ “Sovereign Cloud” ในประเทศไทย

‘กัลฟ์’ ผนึก ‘กูเกิล’ บูมคลาวด์  ต่อยอด ‘ดาต้าเซนเตอร์’ 2 หมื่นล้าน โดยความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ครั้งนี้จะรวมจุดแข็งของกูเกิลด้านเทคโนโลยี  AI ที่ล้ำสมัยสำหรับองค์กร โครงสร้างพื้นฐาน นักพัฒนา ข้อมูล ความปลอดภัย และเครื่องมือการทำงานร่วมกันระดับองค์กร เข้ากับความเป็นผู้นำของกัลฟ์ในด้านการผลิตไฟฟ้า และโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลสำหรับประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านพลังงานสะอาด ศูนย์ข้อมูล และโทรคมนาคมผ่านบริษัทในเครือ

สำหรับ การให้บริการจะเป็นไปตามข้อกำหนดที่เข้มงวดด้านถิ่นที่อยู่ของข้อมูล ความปลอดภัย และความเป็นส่วนตัว ความร่วมมือเชิงกลยุทธ์นี้มุ่งเพิ่มขีดความสามารถให้กับองค์กรต่างๆ ในอุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศไทย โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมที่ต้องจัดเก็บ และประมวลผลข้อมูลที่มีความสำคัญหรือเป็นความลับ เช่น การให้บริการทางการแพทย์ ความปลอดภัยสาธารณะ พลังงาน และสาธารณูปโภค

ขณะเดียวกัน ช่วยส่งเสริม และสนับสนุนดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน ด้วยนวัตกรรม AI ชั้นนำของโลก และการวิเคราะห์ที่มีประสิทธิภาพสูง ควบคู่ไปกับอธิปไตยในการดำเนินงาน (Operational Sovereignty) อธิปไตยในการจัดเก็บข้อมูล (Data Sovereignty) และอธิปไตยในการใช้งานซอฟต์แวร์ (Software Sovereignty) ที่อยู่ภายใต้ขอบเขตข้อบังคับของประเทศ 

ความร่วมมือนี้จะช่วยให้อุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศไทยสามารถใช้ประโยชน์จาก Google Cloud AI ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย และเป็นเอกเทศ ตามการปฏิบัติข้อกำหนดด้านการจัดเก็บข้อมูลภายใน และการป้องกันข้อมูลความสำเร็จที่จะเกิดขึ้นยังถือเป็นบันไดก้าวสำคัญของประเทศ เพราะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถทางดิจิทัลให้กับอุตสาหกรรมต่างๆ รวมถึงสร้างโอกาสที่สำคัญในการเติบโตทางธุรกิจ

ครอบคลุมทุกมิติ ‘ความปลอดภัย’

จากข้อตกลงดังกล่าว Gulf Edge จะได้รับสิทธิจากกูเกิลคลาวด์เพื่อดำเนินธุรกิจระบบคลาวด์ “Google Distributed Cloud (GDC)” ในฐานะผู้ให้บริการ “Managed GDC Provider (MGP)” สำหรับองค์กรต่างๆ ในประเทศไทย

มุ่งเน้นไปที่การให้บริการคลาวด์ประเภท Google Distributed Cloud air-gapped (“GDC air-gapped”) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ Google Sovereign Cloud ที่ทำงานภายใต้สภาพแวดล้อมตามความต้องการของผู้ใช้งานคลาวด์ และตัดขาดจากการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตสาธารณะโดยสิ้นเชิง ผ่านการให้คำปรึกษาและบริการจากผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงการจัดการดูแลระบบอย่างครบวงจร

ส่วนของการให้บริการ เปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถเลือกได้ว่าจะทำการติดตั้งผลิตภัณฑ์ GDC air-gapped ในพื้นที่ของผู้ใช้งานหรือภายในดาต้าเซนเตอร์ของกลุ่มบริษัทกัลฟ์ พร้อมมีตัวเลือกฮาร์ดแวร์ที่หลากหลายตอบโจทย์ตามความต้องการของผู้ใช้งาน

‘กัลฟ์’ ผนึก ‘กูเกิล’ บูมคลาวด์  ต่อยอด ‘ดาต้าเซนเตอร์’ 2 หมื่นล้าน GDC air-gapped จะมีการรักษาความปลอดภัยหลายชั้น เพื่อให้ได้รับการควบคุมสูงสุด ขณะเดียวกันยังคงเป็นไปตามกฎระเบียบของไทย และปกป้องข้อมูลที่เป็นความลับ รวมถึงความปลอดภัยของฮาร์ดแวร์ ความปลอดภัยของผู้ให้บริการและผู้รับบริการ ความปลอดภัยของแอปพลิเคชัน ความปลอดภัยเครือข่าย การเข้ารหัส การระบุตัวตนและการจัดการ การเข้าถึง การดำเนินการด้านความปลอดภัย การดำเนินการที่เชื่อถือได้ และการตรวจสอบและทดสอบการปฏิบัติตามข้อกำหนด

ลูกค้าสามารถมั่นใจได้ว่าข้อมูล การดำเนินงาน และซอฟต์แวร์ยังคงอยู่ภายใต้การควบคุมของลูกค้า และอยู่ภายใน                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                             

ขอบเขตของประเทศไทยโดยสมบูรณ์ เป็นไปตามกรอบกฎหมายและข้อบังคับ อาทิ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ต่อยอด ‘ดาต้าเซนเตอร์’ 2 หมื่นล้าน.

ส่วนของการลงทุนเพื่อให้บริการดังกล่าว จะมีการเพิ่มทีมเพื่อรองรับความต้องการตลาดทั้งภาครัฐ และเอกชน ทั้งยังเป็นการต่อยอดการให้บริการธุรกิจดาต้าเซนเตอร์ของบริษัทเอง

“ความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งที่จะไปต่อยอดการให้บริการดาต้าเซนเตอร์ 50 เมกะวัตต์ ของกัลฟ์ ซึ่งแบ่งการก่อสร้างเป็น 2 เฟส เฟสละประมาณ 25 เมกะวัตต์ โดยเฟสที่ 1 จะแล้วเสร็จและพร้อมให้บริการประมาณเดือนมี.ค.2568 จากนั้นขยายต่อสู่เฟสต่อไปภายใน 2 ปี รวมใช้งบลงทุนประมาณ 2 หมื่นล้านบาท”

กัลฟ์คาดว่าจะสามารถรับรู้รายได้บริการดาต้าเซนเตอร์ เดือนมี.ค.2568 ส่วนบริการคลาวด์ประมาณกลางปี 2568 แม้เชิงรายได้คลาวด์ และดาต้าเซนเตอร์จะสร้างสัดส่วนน้อยมากเมื่อเทียบกับธุรกิจไฟฟ้า แต่ระยะยาวเชื่อว่าจะสร้างประโยชน์ต่อองค์กรธุรกิจ และการพัฒนานวัตกรรมในประเทศไทยโดยภาพรวม

สำหรับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย หลักๆ จะเป็นหน่วยงานด้านความมั่นคง การเงินการธนาคาร และหน่วยงานที่ให้ความสำคัญกับการรักษาความปลอดภัยข้อมูล ฯลฯ

เขากล่าวว่า การตัดสินใจร่วมมือระหว่างกัน เกิดจากการที่เล็งเห็นถึงความสามารถที่โดดเด่นของผลิตภัณฑ์ที่สามารถแยกการทำงานออกจากอินเทอร์เน็ตสาธารณะโดยสิ้นเชิง ขณะที่ยังสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี AI

ด้วยความสามารถในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี AI และการวิเคราะห์ขั้นสูงของกูเกิลคลาวด์ในผลิตภัณฑ์ GDC จะทำให้องค์กรในอุตสาหกรรมต่างๆ ในไทย สามารถใช้เทคโนโลยีเพื่อนำเสนอการให้บริการ และองค์ความรู้แบบใหม่ ทั้งยังเน้นย้ำความมุ่งมั่นของบริษัทในการเป็นผู้นำทางเทคโนโลยี และการพัฒนาที่ยั่งยืน

เชื่อมั่นว่ากัลฟ์มีศักยภาพ และความพร้อมที่จะรุกตลาดได้อย่างเต็มรูปแบบ และเชื่อว่าตลาดยังมีช่องว่างจากทั้งความต้องการของภาคธุรกิจ ภาครัฐ และ “Cloud First Policy” ที่ช่วยเพิ่มแรงบวกให้กับการลงทุนคลาวด์

พร้อมกันนี้ ปูทางไปสู่ความร่วมมือด้านอื่นๆ กับทางกูเกิล รวมถึงการขยายธุรกิจไปยังบริการด้านอื่นๆ ในระบบนิเวศคลาวด์ทั้งด้าน AI และไซเบอร์ซิเคียวริตี้

'กัลฟ์' ประเดิมพันธมิตรรายแรก ‘ไทย - อาเซียน’

คาราน บาจวา รองประธาน กูเกิล คลาวด์ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวเสริมว่า กัลฟ์นับเป็นพันธมิตรผู้ให้บริการ MGP ของกูเกิลรายแรกในไทย และในอาเซียน เหตุที่ตัดสินใจทำงานร่วมกันเนื่องจากเห็นถึงศักยภาพและความพร้อม จากทั้งความแข็งแกร่งด้านอินฟราสตรักเจอร์ วัฒนธรรมองค์กร บุคลากร รวมถึงการเข้าถึงและเข้าใจตลาด

‘กัลฟ์’ ผนึก ‘กูเกิล’ บูมคลาวด์  ต่อยอด ‘ดาต้าเซนเตอร์’ 2 หมื่นล้าน ที่ผ่านมา กูเกิลมักเลือกทำงานร่วมกับพันธมิตรที่มีความน่าเชื่อถือ เช่นเดียวกับความร่วมมือครั้งนี้ที่ไม่ใช่ว่าใครก็สามารถให้บริการได้ ที่สำคัญต้องมีดาต้าเซนเตอร์ที่มีมาตรฐานและความปลอดภัยที่สูงมาตรฐานเดียวกับที่กูเกิลใช้ภายใน

หวังว่าจะสามารถเข้ามาตอบโจทย์ด้านการพัฒนานวัตกรรม รองรับเวิร์กโหลด ซึ่งที่ผ่านมาองค์กรไทยอาจใช้ศักยภาพของคลาวด์ได้ไม่เต็มที่ กังวลเรื่องความปลอดภัย และที่จะโฟกัสอย่างมากคือ การผลักดันการพัฒนานวัตกรรม การใช้คลาวด์ ดาต้า และ AI

กูเกิล มีมุมมองว่า ไทยเป็นตลาดที่มีโอกาสเติบโตสูง มีดีมานด์จากทั้งฝั่งของภาครัฐ และเอกชน อีกทางหนึ่งนโยบาย Cloud First ของรัฐบาลไทยยังเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยผลักดันให้เกิดการใช้งานคลาวด์ที่มากขึ้น และจะยิ่งมีทิศทางเชิงบวกหากไทยมีการจัดทำงบประมาณเพื่อลงทุนด้านคลาวด์ที่ชัดเจน

คำมั่นต่อประเทศไทย และรัฐบาลไทยของกูเกิล ให้ความสำคัญกับการจัดหาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่มีความยืดหยุ่น และขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมสำหรับประเทศ ความร่วมมือครั้งนี้จะช่วยให้ภาครัฐ และภาคอุตสาหกรรมสามารถเร่งการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลตามความต้องการของแต่ละองค์กร ภายใต้ข้อกำหนดต่างๆ ของประเทศที่เข้มงวด

ขณะเดียวกันช่วยให้องค์กรต่างๆ ขยายขีดความสามารถใหม่ๆ ในการวิเคราะห์ข้อมูล เปิดเผยข้อมูลเชิงลึก เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และสร้างแอปพลิเคชันตามความต้องการขององค์กร โดยมั่นใจได้ว่าองค์กรจะสามารถควบคุม และปกป้องข้อมูลที่ละเอียดอ่อนได้อย่างสมบูรณ์

 

 

พิสูจน์อักษร....สุรีย์  ศิลาวงษ์