เปิดเคล็ดลับ ‘ปรับตัว -จัดการความเสี่ยง’ ยุค Generative AI

เปิดเคล็ดลับ ‘ปรับตัว -จัดการความเสี่ยง’ ยุค Generative AI

ปัจจุบัน เทคโนโลยี Generative AI หรือ GenAI กำลังเข้ามาเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินธุรกิจในทุกระดับ ทว่าการนำ มาใช้ยังคงมีความซับซ้อนในด้านการกำกับดูแล...

โรนัค เจน ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดเพื่อการเติบโต แมเนจเอนจิ้น (ManageEngine) ผู้ให้บริการโซลูชันการจัดการระบบไอทีสำหรับองค์กร ในเครือโซโห คอร์ป เปิดมุมมองในประเด็น “อนาคตของธุรกิจในยุค Generative AI: การปรับตัวและการเตรียมความพร้อมด้านกฎระเบียบ” ว่า ด้วยศักยภาพในการสร้างสรรค์เนื้อหาและออกแบบกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพ GenAI เปิดโอกาสใหม่ๆ ให้กับธุรกิจมากมาย เปิดเคล็ดลับ ‘ปรับตัว -จัดการความเสี่ยง’ ยุค Generative AI อย่างไรก็ตาม การนำ GenAI มาใช้ยังคงมีความซับซ้อนในด้านการกำกับดูแลความเสี่ยงและการปฏิบัติตามกฎระเบียบ (GRC)

แม้ AI จะเป็นเทคโนโลยีที่น่าตื่นตาตื่นใจ แต่ยังห่างไกลจากความสมบูรณ์แบบ โดยเฉพาะในเรื่องการกำกับดูแลและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

‘3 เสาหลัก’ ลดผลกระทบ

ปัจจุบัน หลายประเทศได้เริ่มตระหนักถึงความจำเป็นในการปกป้องประชาชนจากความเสี่ยงของเทคโนโลยี AI ที่กำลังพัฒนา เช่น รัฐสภายุโรปที่ได้อนุมัติกรอบกฎหมาย AI ฉบับแรกของโลก ซึ่งมีผลบังคับใช้ข้ามหลายภาคส่วน

ขณะที่ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลายประเทศได้มีแผนในการใช้ AI เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลและส่งเสริมโครงการต่างๆ ซึ่งประเทศไทยเองก็เป็นหนึ่งในนั้น แต่ในด้านการกำกับดูแลและการจัดการความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นยังเป็นประเด็นที่ไม่ได้ถูกนำมาพูดถึงอย่างกว้างขวางสักเท่าไหร่

การนำ GenAI มาประยุกต์ใช้กับ GRC : การนำ GenAI มาใช้ในองค์กรจำเป็นต้องพิจารณาถึงผลกระทบต่อเสาหลักของ GRC ได้แก่ การกำกับดูแล ความเสี่ยง และการปฏิบัติตามกฎระเบียบ

โดยเฉพาะการทำงานอัตโนมัติ การจัดการการเปลี่ยนแปลง และการจัดการนโยบาย ซึ่งสามารถช่วยลดภาระงานของผู้เชี่ยวชาญและทีมงาน GRC

กุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จ

หากพิจารณาถึงประโยชน์ที่จะได้รับ GenAI นั้นสามารถยกระดับการทำงานรวมถึงการบริหารจัดการได้ในหลากหลายมิติ

การทำงานอัตโนมัติ : GenAI สามารถทำงานร่วมกับระบบอัตโนมัติ เช่น การสร้างและการรักษานโยบายภายในอยู่ตลอดเวลา

การจัดการการเปลี่ยนแปลง : ช่วยให้ติดตามและประเมินการออกกฎภายในและความคิดเห็นของสาธารณชนในแบบเรียลไทม์

การจัดการนโยบาย : เชื่อมโยงกับนโยบายองค์กรเพื่อลดความผิดพลาดจากมนุษย์

การจัดการการควบคุม : การตรวจจับและการตรวจสอบความเสี่ยงและข้อบกพร่องของการควบคุมสามารถทำได้ผ่าน GenAI

ข้อดีของการใช้ GenAI ในการกำกับดูแล : การผสานรวม AI จะช่วยยกระดับการกำกับดูแลโดยการวิเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลภัยคุกคามและรายงานด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบ

รวมถึงการตรวจจับรูปแบบและความผิดปกติ การสร้างแบบจำลองความเสี่ยงที่ขับเคลื่อนด้วย AI ใช้การวิเคราะห์ขั้นสูงเพื่อระบุแนวโน้มและความสัมพันธ์ เพื่อการตัดสินใจอย่างมีข้อมูล ปลอดภัยและเป็นไปตามกฎหมายและข้อบังคับต่างๆ ช่วยให้ธุรกิจสามารถก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคงในยุคของนวัตกรรมและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

ดังนั้น การนำ GenAI มาใช้ในองค์กรโดยเฉพาะในด้าน GRC ไม่เพียงแต่เป็นสิ่งที่ควรทำเท่านั้น แต่ยังเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง เพื่อให้ธุรกิจสามารถก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคงและปลอดภัย โดยการปรับตัวและการเตรียมพร้อมด้านกฎระเบียบสำหรับการใช้งาน GenAI จะทำให้มั่นใจว่าองค์กรจะสามารถก้าวนำหน้าในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

จึงอาจกล่าวได้ว่า การปรับตัวและการเตรียมความพร้อมด้านกฎระเบียบจะเป็นกุญแจสำคัญในการประสบความสำเร็จในยุค GenAI