ดีอี-ดีป้า ลุยต่อเมืองย่าโม จัดแข่งบิน-ซ่อมโดรนเกษตรพื้นที่ภาคอีสาน

ดีอี-ดีป้า ลุยต่อเมืองย่าโม จัดแข่งบิน-ซ่อมโดรนเกษตรพื้นที่ภาคอีสาน

กระทรวงดีอีลุยต่อยอด โครงการ 1ตำบล 1 ดิจิทัล (ชุมชนโดรนใจ) คิกออฟ Thailand AgricultureDrone Competition 2024 การแข่งขันบินและควบคุมโดรนเพื่อการเกษตร และ การแข่งขันซ่อมบำรุงโดรนเพื่อการเกษตร รอบคัดเลือกระดับภูมิภาค

นายพรรณธนู วรรณกางซ้าย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ กระทรวงดีอี เป็นประธานในพิธีเปิดการแข่งขัน โดยมี นายสมเกียรติ วิริยะกุลนันท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ให้การต้อนรับ และมี นายบุญทวี ดวงนิราช ปฏิบัติหน้าที่แทนผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาชุมชน ดีป้า พร้อมผู้บริหาร ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน กลุ่มชุมชน เกษตรกร และประชาชนที่สนใจร่วมงานเป็นจำนวนมาก

ทั้งนี้ กระทรวงดีอีมีนโยบายส่งเสริมการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาเสริมสร้างศักยภาพของประเทศในทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาคการเกษตรซึ่งถือเป็นเสาหลักของเศรษฐกิจไทย โดยมุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farming) มาใช้ลดต้นทุน เพิ่มคุณภาพผลผลิต และขีดความสามารถทางการแข่งขัน โดยเฉพาะโดรนเพื่อการเกษตร อีกหนึ่งเทคโนโลยีสำคัญที่ช่วยให้เกษตรกรสามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของโลกดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดีอี-ดีป้า ลุยต่อเมืองย่าโม จัดแข่งบิน-ซ่อมโดรนเกษตรพื้นที่ภาคอีสาน

ซึ่งการแข่งขันบินและควบคุมโดรนเพื่อการเกษตร และการแข่งขันซ่อมบำรุงโดรนเพื่อการเกษตรในโครงการ 1 ตำบล 1ดิจิทัล (ชุมชนโดรนใจ) ซึ่งนอกจากจะเป็นเวทีแสดงทักษะและความสามารถของผู้เข้าแข่งขันแล้วยังเป็นโอกาสสำคัญสำหรับการแลกเปลี่ยนความรู้ทักษะเกี่ยวกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล ก่อนนำมาประยุกต์ใช้ในภาคเกษตรกรรม ซึ่งเป็นหนึ่งนโยบายสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่เศรษฐกิจดิจิทัลอย่างยั่งยืน

ด้าน นายสมเกียรติ กล่าวว่า จังหวัดนครราชสีมาเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพทางการเกษตรสูง เป็นแหล่งเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจสำคัญของประเทศ เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง อ้อย และข้าวหอมมะลิ ซึ่งเทคโนโลยีโดรนเป็นเครื่องมือช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการทำการเกษตร สามารถใช้โดรนฉีดพ่นสารเคมี สำรวจและตรวจสอบพื้นที่เกษตร จัดแปลงเกษตร บริหารจัดการผลผลิต ลดต้นทุนด้านแรงงาน และยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรในท้องถิ่น ซึ่งการแข่งขันบินและควบคุมโดรนเพื่อการเกษตร และการแข่งขันซ่อมบำรุงโดรนเพื่อการเกษตรครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการยกระดับภาคเกษตรกรรมไทยสู่ยุคดิจิทัล

ขณะที่ นายบุญทวี กล่าวเพิ่มเติมว่า การแข่งขันบินและควบคุมโดรนเพื่อการเกษตร และการแข่งขันซ่อมบำรุงโดรนเพื่อการเกษตรในรายการ Thailand AgricultureDroneCompetition 2024 มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีหลักในการส่งเสริมและต่อยอดศักยภาพนักบินและควบคุมโดรนเพื่อการเกษตร และช่างซ่อมบำรุงโดรนเพื่อการเกษตรทั่วประเทศ โดยเดินสายจัดการแข่งขันใน 5 ภูมิภาค เริ่มจากภาคใต้ ภาคกลางและตะวันตก ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ เพื่อคัดเลือกทีมที่ทำเวลาดีที่สุด ถูกต้องที่สุด และครบถ้วนตามภารกิจ เข้าร่วมการแข่งขันรอบชิงแชมป์ระดับประเทศ ดีอี-ดีป้า ลุยต่อเมืองย่าโม จัดแข่งบิน-ซ่อมโดรนเกษตรพื้นที่ภาคอีสาน

สำหรับการแข่งขันรายการ ThailandAgriculture Drone Competition2024 รอบคัดเลือกระดับภูมิภาค (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ณ ไร่สุวรรณ จังหวัดนครราชสีมา มีผู้สมัครเข้าร่วมการแข่งขันบินและควบคุมโดรนเพื่อการเกษตร 123 ทีม และผู้สมัครเข้าร่วมการแข่งขันซ่อมบำรุงโดรนเพื่อการเกษตร 29 ทีม โดยผลการแข่งขันแบ่งออกเป็น

ทีมผู้ชนะการแข่งขันบินและควบคุมโดรนเพื่อการเกษตร ประกอบด้วย

รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีมสิงห์เหนือแพร่ รับเงินรางวัลมูลค่า 50,000 บาท

รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่หนึ่ง ได้แก่ ทีมคนตื่นโดรน รับเงินรางวัลมูลค่า 30,000 บาท

รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่สอง ได้แก่ ทีม โดรนเกษตรตีสาม  รับเงินรางวัลมูลค่า 10,000 บาท

ทีมผู้ชนะการแข่งขันซ่อมบำรุงโดรนเพื่อการเกษตร ประกอบด้วย

รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีมหงษ์ไทย รับเงินรางวัลมูลค่า 30,000 บาท

รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่หนึ่ง ได้แก่ ทีมหวานเจี๊ยบ รับเงินรางวัลมูลค่า 20,000 บาท

รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่สอง ได้แก่ ทีมสิงห์เหนือแพร่ 2 รับเงินรางวัลมูลค่า 10,000 บาท

พร้อมกันนี้ ทีมแข่งขันบินและควบคุมโดรนเพื่อการเกษตรที่มีคะแนนสูงที่สุด 25 อันดับ และทีมซ่อมบำรุงโดรนเพื่อการเกษตรที่มีคะแนนสูงสุด 6 อันดับ ได้รับสิทธิ์เข้าร่วมแข่งขันรอบชิงแชมป์ประเทศไทยในเดือนพฤศจิกายนนี้ ที่สถาบันพัฒนามันสำปะหลัง จังหวัดนครราชสีมา

สำหรับการแข่งขัน ThailandAgriculture Drone Competition2024 รอบคัดเลือกใน 5 ภูมิภาคได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชน ได้แก่ บริษัท คาโอ อินดัสเตรียล (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ยารา (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท อีซี่ 2018 จำกัด (NAcDrone) ที่มีเป้าหมายเดียวกันคือส่งเสริมการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างโอกาสการเข้าถึงและพัฒนาทักษะดิจิทัลแก่กลุ่มชุมชน เกษตรกร และช่างชุมชน เพื่อร่วมเป็นกําลังสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศสู่เศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลต่อไป