เจาะความท้าทาย ’AI’ โจทย์หินธุรกิจยุคดิจิทัล

เจาะความท้าทาย ’AI’ โจทย์หินธุรกิจยุคดิจิทัล

งานวิจัยเผยมีเพียง 23% ของบริษัทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ใช้ AI เปลี่ยนแปลงองค์กรอย่างแท้จริง ระดับความก้าวหน้าของการนำ AI มาใช้มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน

ขณะที่กระแสการนำ AI มาปฏิวัติธุรกิจจะมีความตื่นตัวเป็นอย่างมาก แต่จากการศึกษาของ IDC Data and AI Pulse: Asia Pacific 2024 ซึ่งได้รับการมอบหมายจาก SAS พบว่า มีเพียง 23% ขององค์กรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้นที่สามารถนำ AI มาใช้ในลักษณะที่เป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง

นี่หมายถึงองค์กรที่มีแผนการลงทุนระยะยาวและนำเอา AI มาใช้เพื่อปรับเปลี่ยนตลาดและลูกค้าด้วยการสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ รวมถึงประสบการณ์ด้านผลิตภัณฑ์และการบริการ

คริส มาร์แชลล์ รองประธานฝ่ายข้อมูล การวิเคราะห์ AI ความยั่งยืน และการวิจัยอุตสาหกรรมของ ไอดีซี เอเซียแปซิฟิก  กล่าวว่า เหตุผลหลักที่นำไปสู่ล้มเหลวด้าน AI ในกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามเหล่านี้ ได้แก่ ข้อมูลที่ไม่น่าเชื่อถือหรือคุณภาพของข้อมูลที่ไม่ดี (40%)

รองลงมาคือปัญหาด้านความเป็นส่วนตัว (Privacy) หรือข้อจำกัดด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบ (38%) รวมถึงการไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลเนื่องจากข้อจำกัดทางธุรกิจ (36%)

นอกจากนี้ รายงานยังชี้ให้เห็นถึงความท้าทายที่ผู้ใช้เทคโนโลยีในระยะเริ่มต้นเผชิญ เช่น การขาดบุคลากรที่มีทักษะเฉพาะ (41%) การจัดการต้นทุนในการพัฒนาและนำ AI มาใช้ (30%) และการขาดเกณฑ์การประเมินที่ชัดเจนสำหรับโซลูชัน AI (29%)

จากรายงาน สิงคโปร์มีความโดดเด่นในฐานะผู้นำของภูมิภาคด้านการนำ AI เข้ามาใช้งาน ขณะที่ประเทศไทยและมาเลเซียกำลังกลายเป็นตลาด AI ที่มีศักยภาพ

เจาะความท้าทาย ’AI’ โจทย์หินธุรกิจยุคดิจิทัล สำหรับมีเป้าหมายในการใช้ AI เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน เพิ่มพูนผลกำไร และเน้นหนักในด้านการประหยัดต้นทุน ดังนั้น ทั้งประเทศไทยและมาเลเซียจึงเลือกที่จะใช้แนวทางในการเฝ้าดูการพัฒนาเทคโนโลยี AI และกรณีการใช้งานต่างๆ ก่อนที่จะนำเสนอนโยบาย AI โดยเฉพาะ

พบด้วยว่า ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระดับความพร้อมด้าน AI มีความแตกต่างกัน ขณะที่สิงคโปร์กำลังก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในด้านนี้ ธุรกิจในประเทศไทยและมาเลเซียยังอยู่ในระยะเริ่มต้นถึงระยะกลางของการนำ AI มาใช้

ขณะที่ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงเครื่องมือ AI ที่สร้างเนื้อหาได้และรู้สึกว่าเป็นเรื่องมหัศจรรย์ แต่การนำ AI ไปประยุกต์ใช้จริงในองค์กรนั้น จำเป็นต้องมีพื้นฐานด้านข้อมูลที่แข็งแกร่งและกระบวนการที่มีโครงสร้างชัดเจน เพื่อให้องค์กรสามารถใช้ประโยชน์จาก AI ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความรับผิดชอบ

โดยมีข้อมูลเป็นพื้นฐานสำคัญของ AI หากข้อมูลมีความผิดพลาด ผลลัพธ์ที่ได้จาก AI ก็จะผิดเพี้ยนไปด้วย นี่คือเหตุผลที่เราช่วยให้องค์กรสามารถสร้างข้อมูลที่สะอาดและเชื่อถือได้สำหรับ AI ผ่านความสามารถในการนำเข้าและเตรียมข้อมูลของเรา

การศึกษาดังกล่าวครอบคลุม 3 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ประเทศไทย สิงคโปร์ และมาเลเซีย ครอบคลุมองค์กรขนาดใหญ่จำนวน 101 แห่ง โดยได้ทำการสำรวจผู้บริหารเพื่อศึกษาเกี่ยวกับแนวทางการตัดสินใจลงทุนด้าน AI วิธีการที่ต้องการให้ AI เข้ามาเปลี่ยนแปลงองค์กร ความท้าทายในการนำไปใช้งาน และแนวทางในการจัดการกระบวนการเหล่านี้เพื่อให้ได้ผลลัพธ์จาก AI ที่น่าเชื่อถือ