'ดีป้า' เร่งเครื่องบิ๊กดาต้าภาคการเกษตร คาดปั้นเม็ดเงินกว่า 20,000 ล้านบ.

'ดีป้า' เร่งเครื่องบิ๊กดาต้าภาคการเกษตร คาดปั้นเม็ดเงินกว่า 20,000 ล้านบ.

กระทรวงดีอี – ดีป้า หนุนเปลี่ยนผ่านการทำเกษตรแบบดั้งเดิมสู่เกษตรทันสมัยด้วยเทคโนโลยีผ่านโดรน เชื่อช่วยลดต้นทุน เพิ่มรายได้ สร้างงานสร้างอาชีพ ซึ่งสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้มากกว่า 20,000 ล้านบาท หวังรวบรวมข้อมูลเป็นบิ๊กดาต้า เพิ่มองค์ความรู้ด้านอีคอมเมิร์ซ

นายพรรณธนู วรรณกางซ้าย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (กระทรวงดีอี) กล่าวว่า ที่ผ่านมา กระทรวงดีอีมุ่งขับเคลื่อนแผนการดำเนินงาน The Growth Engine of Thailand ซึ่งประกอบด้วย 3 เครื่องยนต์สำคัญ ประกอบด้วย การเพิ่มขีดความสามารถด้านดิจิทัลในการสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขันของประเทศ (Thailand Competitiveness) การสร้างความมั่นคงและปลอดภัยของเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล (Safety & Security) และการเพิ่มศักยภาพทุนมนุษย์ด้านดิจิทัลของประเทศ (Human Capital) เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล โดยมุ่งส่งเสริมให้เกิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาคเกษตรกรรม ซึ่งถือเป็นเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ

ดังนั้น การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในภาคการเกษตรจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุน การเพาะปลูก นำไปสู่การเพิ่มรายได้ครัวเรือน ลดความเหลื่อมล้ำ ส่งผลให้เกษตรกรและชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ อีกทั้งเป็นการเพิ่มขีดความสามารถด้านดิจิทัลเพื่อสร้างข้อได้เปรียบด้านการแข่งขันของประเทศ 

ซึ่งโดรนเพื่อการเกษตรถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการยกระดับการทำเกษตรแบบดั้งเดิมสู่เกษตรทันสมัย ภายใต้หลักการ‘ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้’ ด้วยการนำเทคโนโลยีเพื่อการเกษตร (Agri-Tech) มาใช้พัฒนาภาคเกษตรกรรม ช่วยให้เกษตรกรปรับตัวได้ทันกับการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคดิจิทัล \'ดีป้า\' เร่งเครื่องบิ๊กดาต้าภาคการเกษตร คาดปั้นเม็ดเงินกว่า 20,000 ล้านบ.

ด้านณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลหรือ ดีป้า กล่าวว่า การจัดงาน OTOD THE SERIES จะเป็นการนำเสนอผลการดำเนินโครงการ
1 ตำบล 1 ดิจิทัล (ONE TAMBON ONE DIGITAL: OTOD) (ชุมชนโดรนใจ) ที่ กระทรวงดีอีโดย ดีป้า มุ่งส่งเสริมกลไกการสร้างระบบนิเวศดิจิทัล โดยเปลี่ยนผ่านการทำเกษตรแบบดั้งเดิมสู่เกษตรทันสมัยด้วยเทคโนโลยีโดรนเพื่อการเกษตร พร้อมยกระดับเกษตรกรและกลุ่มชุมชนทั่วประเทศ โดยเริ่มดำเนินโครงการตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2566 ด้วยความร่วมมือจากเครือข่ายพันธมิตรทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ผ่านการจัดกิจกรรมต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง

ณัฐพล กล่าวต่อว่า การดำเนินโครงการตลอด 1 ปีที่ผ่านมา OTOD (ชุมชนโดรนใจ)สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลใน 3 ด้าน ประกอบด้วย

1.โครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล (Digital Infrastructure) เพื่อรองรับการเติบโตของระบบนิเวศโดรนเพื่อการเกษตร ประกอบด้วย ศูนย์พัฒนาทักษะการบิน การออกใบอนุญาตบิน และการพัฒนาเทคโนโลยีโดรนเพื่อการเกษตร 5 แห่งทั่วประเทศ Academy and Licensing Platform หรือระบบการขอใบอนุญาตต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโดรนเพื่อการเกษตร

โดยมีหลักสูตรการฝึกอบรมอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินควบคุมจากภายนอกที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย รวมถึงมาตรฐานโดรนเพื่อการเกษตรสัญชาติไทย โดยการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพผ่านการรับรองภายใต้เครื่องหมาย Made in Thailand (MiT) ของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และdSURE ของ ดีป้า \'ดีป้า\' เร่งเครื่องบิ๊กดาต้าภาคการเกษตร คาดปั้นเม็ดเงินกว่า 20,000 ล้านบ.

2.ระบบนิเวศดิจิทัล (Digital Ecosystem) ประกอบด้วยการส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีโดรนเพื่อการเกษตร เพื่อลดต้นทุน เพิ่มรายได้ให้เกษตรกรใน 5 ภูมิภาคทั่วประเทศ ส่งเสริมให้เกิดศูนย์ซ่อมโดรนเพื่อการเกษตร จำนวน 50 ศูนย์ซ่อม และยกระดับช่างชุมชนสู่ช่างซ่อมโดรนเพื่อการเกษตร อีกทั้งสร้างเครือข่ายเกษตรกรผู้ใช้โดรนเพื่อการเกษตร 500 ชุมชน รวมถึงจัดการแข่งขันบินและควบคุมโดรนเพื่อการเกษตร และการแข่งขันซ่อมบำรุงโดรนเพื่อการเกษตรระดับประเทศ ครั้งที่ 1 ประจำปี 2567 ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในรายการ Thailand Agriculture Drone Competition 2024

3.การพัฒนากำลังคนดิจิทัลสู่เกษตรกรดิจิทัล(Digital Manpower) ประกอบด้วย ช่างซ่อมบำรุงโดรนเกษตร 100 คน โดยสามารถยกระดับทักษะได้ตามเป้าหมาย ขณะที่นักบินโดรนเกษตร 1,000 คน สามารถพัฒนาทักษะได้กว่า 1,500 คน ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ อีกทั้งสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกร 10,000 ครัวเรือน พร้อมสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจมากกว่า 20,000 ล้านบาท \'ดีป้า\' เร่งเครื่องบิ๊กดาต้าภาคการเกษตร คาดปั้นเม็ดเงินกว่า 20,000 ล้านบ. “นอกจากนี้ ดีป้า ยังพร้อมเดินหน้าต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมให้กลุ่มชุมชนและเกษตรกรประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอื่น ๆ ผ่านโครงการสำคัญ ไม่ว่าจะเป็น OTOD (SMART LIVING) โดยการส่งเสริมให้เกิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อความปลอดภัย และเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อมใน 45 ชุมชน 8 จังหวัดซึ่งอยู่ระหว่างเตรียมเปิดรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ และ OTOD (DIGITAL DURIAN)โดยการส่งเสริมให้เกษตรกรชาวสวนทุเรียนประยุกต์ใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อจดบันทึกข้อมูลติดตามย้อนกลับการเพาะปลูกทุเรียนกว่า 6,000 ครัวเรือน“

เขา กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ดีป้ายังจะรวบรวมข้อมูลเป็นบิ๊กดาต้าด้านการเกษตร ซึ่งเปิดรับสมัครผู้สนใจเข้าร่วมโครงการแล้ว นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มองค์ความรู้ด้านอีคอมเมิร์ซ การยื่นขอรับรองมาตรฐานและข้อกำหนดของการผลิตทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม (GAP) ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนและภาคเกษตรกรรมไทย เพื่อมุ่งสู่เศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลต่อไป