อาหารอนาคต (Future Food) ยั่งยืน มากกว่าถูกปาก
Where is The Future of Future Food เวิร์กช็อปค้นหาคำตอบที่จะนำไปสู่ระบบนิเวศความยั่งยืนให้กับ อาหารอนาคต ของเมืองไทย นำโดย Tastebud Lab สตาร์ตอัปผู้บุกเบิกอาหารอนาคต กับการระดมไอเดียจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องร่วม
KEY
POINTS
- เวิร์กช็อปโดย Tastebud Lab ค้นหาคำตอบที่จะนำไปสู่ระบบนิเวศความยั่งยืนให้กับอาหารอนาคต Future Food ของเมืองไทย
- สตาร์ตอัปผู้บุกเบิกอาหารอนาคตขยายความ 3 แนวคิดอาหารยั่งยืน คือ Symbiotic growth, Regenerative food system และ AI and Future for food
- รอง ปธ.หอการค้า ชี้แนวทางขับเคลื่อนอาหารอนาคต Future Food ปี 2567 ผลักดันกลุ่มอาหารฟังก์ชันนอล สร้างการยอมรับในผู้บริโภค
Where is The Future of Future Food เวิร์กช็อปค้นหาคำตอบที่จะนำไปสู่ระบบนิเวศความยั่งยืนให้กับ อาหารอนาคตของเมืองไทย นำโดย Tastebud Lab สตาร์ตอัปผู้บุกเบิก อาหารอนาคต กับการระดมไอเดียจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องร่วม
เมื่อเราพูดถึงระบบอาหารยั่งยืน อาจจะไม่ใช่แค่ Reduce และ Reuse เหมือนในอดีตที่ผ่านมา เราจำเป็นต้อง คิดถึงแนวทางการฟื้นฟู Restore-Resilience-Regenerative คิดใหม่ ทําใหม่
โดยไม่ใช่เพียงแค่เรื่องของการผลิตอาหารที่มีคุณค่าสูงหรือการใช้ทรัพยากรทางการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพในจุดจุดเดียวในห่วงโซ่อาหารหรือ food supply chain
แต่ยังเกี่ยวข้องกับการสร้างวงจรที่ทำให้ระบบนี้มีความยั่งยืนต่อเนื่อง และเกี่ยวข้องกับการฟื้นคืนระบบอาหาร โดยต้องหาแนวทางที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างรวดเร็วและทันท่วงที
อาหารอนาคต (Future Food) โจทย์ความยั่งยืน
สันติ อาภากาศ CEO&Co-Founder Bio Buddy และ Tastebud Lab กล่าวว่า ในอนาคตระยะยาว หากยังไม่มีการปรับเปลี่ยนวัฏจักรการผลิตอาหาร เชื่อว่าระบบอาหารจะล่มสลาย
จึงเป็นโจทย์ว่าจะทำอย่างไรให้กลับมาแข็งแรง มั่งคงและยั่งยืนนอกเหนือจากเป้าหมายทางด้าน SDG แล้ว โดยมี 3 แนวคิดคือ Symbiotic growth, Regenerative food system และ AI and Future for food
1. SYMBIOTIC GROWTH การพัฒนาฟื้นคืนควบคู่กับการเติบโตผ่านการพัฒนาเทคโนโลยีอาหารอนาคตควบคู่กับการดึงคุณค่ากับ local wisdom, local ingredient, Permaculture และ Bio Dynamic
Tastebud Lab วางแผนศึกษาแนวทาง ทํางานกับหน่วยงานและแหล่งทุนที่ผลักดันด้านนี้ เพื่อเสนอและผลักดัน FUTURE VISION 2030
2. REGENERATIVE FOOD SYSTEM สร้างระบบอาหารที่มั่นคงยั่งยืน การผลิตอาหารแบบ regenerative บริบทใหม่ในการผลิตอาหาร คือการผลิตอาหารแบบฟื้นฟูวงจรธรรมชาติให้กลับมา หรือการดึงระบบนิเวศที่เคยหายไปหรือถูกกระทบให้กลับคืนมา และนำไปใช้เพื่อการปรับตัวและพัฒนาอย่างเป็นระบบในระบบอาหาร (Food System)
2.1 มุ่งเน้นให้ผู้บริโภคเข้าใจคุณค่าของอาหาร ที่มากกว่าพลังงาน สุขภาพ และ สภานภาพทางสังคม แต่เป็นการร่วมกันเลือกบริโภคอย่างเข้าใจปลายทางของระบบอาหารที่ยั่งยืน ส่งต่อแนวความคิดให้ผู้บริโภคกว่า 5,000 คน โดยคาดการณ์การมูลค่าการบริโภคอาหารแห่งอนาคต (Future Food) รวมมูลค่ากว่า 500 ล้านบาท
สันติ อาภากาศ CEO&Co-Founder Bio Buddy และ Tastebud Lab
2.2 ทำงานร่วมกันกับผู้กําหนดนโยบายและผู้สนับสนุน (Policy Makers / Actors ที่สําคัญในด้านต่างๆ) ผลักดันให้เกิดโปรเจค และ สนับสนุนให้ผู้ที่พัฒนาโปรเจคที่สําคัญนี้ สําเร็จได้อย่างยั่งยืน
Tastebud Lab ดำเนินการร่วมกับกองทุน TED FUND ให้ทุนกับสตาร์ตอัพด้านอาหารอนาคตและบ่มเพาะพัฒนา ผ่านโครงการ Future Food Bootcamp กว่า 30 โครงการ
3. AI & FUTURE OF FOOD การปรับใช้เทคโนโลยีเพื่อระบบอาหารยั่งยืน นําเทคโนโลยีเพื่อลดการสูญเสีย การเพิ่มประสิทธิภาพ การเพิ่มความยั่งยืน การสร้างเศรษกิจหมุนเวียน การฟื้นฟูคุณภาพดิน นํ้า อากาศ อาหาร
หรืออาจจะพูดได้ว่า AI เกิดขึ้นมาเพื่อมาช่วยทั้งระบบอาหาร นอกเหนือจากการช่วยจัดการระบบ supply chain ยังช่วยเพิ่มขีดความสามารถอีกด้วย
Tastebud Lab เสนอแนวทางที่สามารถเกิดขึ้นได้จริงและ เร่งรัดมุ่งเป้า ผลักดัน AI ในด้านอาหารเฉพาะบุคคลและอาหารฟังก์ชั่นซึ่งเป็นตลาดอาหารแห่งอนาคต ที่คาดการณ์มูลค่าตลาดกว่า 161 พันล้านดอลลาร์ในปี 2025 โดยทางบริษัทสร้างความร่วมมือเพื่อพัฒนา ผลึกกำลังผ่านแพลตฟอร์มความร่วมมือ
“เราจะทำให้ระบบอาหารแข็งแรงอย่างยั่งยืนระยะยาวได้ จำเป็นต้องให้คนเข้าใจร่วมกันแล้วมาสนับสนุนการบริโภคที่ยั่งยืน มีการนำเทคโนโลยีที่ทันท่วงทีเข้ามาช่วยก็คือเทคโนโลยี AI โดยมีแพลตฟอร์มทำงานร่วมกันกับกลุ่มคนทำ AI กลุ่มคนทำเทคโนโลยีและ Future food” สันติ กล่าว
แนวทางขับเคลื่อน อาหารอนาคต ปี 67
วิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการหอการค้าไทย และประธานคณะกรรมการอาหารแปรรูปและอาหารแห่งอนาคต กล่าวว่า การขับเคลื่อนอาหารอนาคตในปี 2567 จะโฟกัส 3-4 ประเด็นหลัก
เริ่มจากการสนับสนุนอาหารและเครื่องดื่มสุขภาพหรือกลุ่มฟังก์ชันนอลฟู้ดเข้าสู่ตลาด โดยให้เกิดการยอมรับในผู้บริโภคมากขึ้น โดยกำลังผลักดันให้สามารถโฆษณาประชาสัมพันธ์ข้อมูลของผลิตภัณฑ์ว่าสินค้าที่ผลิตดีต่อระบบการทำงานของร่างกาย จะทำให้การตลาดมีความคล่องตัวมากขึ้น
วิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการหอการค้าไทย
ประเด็นถัดมาเป็นการจัดกลุ่มอาหารอนาคตใหม่ โดยนำ “กลุ่มโปรตีนทางเลือก” เข้ามาเป็นกลุ่มใหม่ เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพบนตลาดและประเทศไทยสามารถทำได้ดี ไม่ว่าจะเป็น โปรตีนจากพืช โปรตีนจากแมลง โปรตีนจากพืชน้ำหรือสาหร่าย โปรตีนจากจุลินทรีย์
โดยจะทำให้เกิดการรับรู้มากขึ้น โดยเฉพาะ “แพลนต์เบสต์มีท” ปีนี้จะมีแคมเปญที่ทำให้ราคาไม่แพงไปกว่าเนื้อจากปศุสัตว์
ส่วนอาหารกลุ่ม novel food ซึ่งตัวเลขการเติบโตวัดได้ยาก จะกระจายไปเป็นส่วนย่อยของกลุ่มต่างๆ ทั้ง 4 กลุ่ม ซึ่งประกอบด้วย อาหารและเครื่องดื่มสุขภาพ อาหารเกษตรอินทรีย์ อาหารทางการแพทย์และอาหารเฉพาะบุคคล และกลุ่มโปรตีนทางเลือก
ปีนี้ยังจะขับเคลื่อนแมลงโปรตีนที่ชื่อ Black Soldier Fly (BSF) โดยจะผลักดันให้เกิดประโยชน์ในสองกลุ่มคือ ผู้ผลิตและแปรรูปอาหารซึ่งจะมีของเหลือจากการผลิตที่จะใช้เป็นแหล่งอาหารให้กับแมลง แทนการกำจัดด้วยวิธีอื่นๆ
เช่น ทำปุ๋ย ในการเพาะเลี้ยง BSF จะใช้เวลา 11 วันก็สามารถนำไปทำโปรตีนได้โดยในระยะแรกจะมุ่งเป้าไปที่ผู้ประกอบการปศุสัตว์ที่จะใช้เป็นวัตถุดิบผลิตอาหารสัตว์ ทั้งนี้ ในเดือน เม.ย.ที่จะถึงนี้จะจัดสัมมนา BSF FORUM
เมนู 𝐷.𝐼.𝑌 𝑃𝑎𝑛𝑖𝑝𝑢𝑟𝑖 ปานิปุริไส้แพลนต์เบส
"ในเรื่องฟังก์ชันนอลฟู้ด การโฆษณาประชาสัมพันธ์จะยกระดับให้เกิดการยอมรับว่ากินแล้วมีประโยชน์จริงๆ ก่อนหน้านี้ทำโฆษณาไม่ได้ เราอยากจะทำให้ได้จึงได้เริ่มหารือกับทาง อย.ซึ่งก็ให้ความสนใจ คาดว่าจะอนุญาตเป็นรายผลิตภัณฑ์
เช่น ขมิ้นชันซึ่งมีการศึกษาวิจัยที่รับรองในคุณสมบัติต่างๆ เมื่อนำมาเป็นส่วนประกอบในอาหารก็สามารถกล่าวอ้างได้ว่า อาหารนั้นจะดีต่อร่างกายอย่างไร เราเริ่มเห็นแสงสว่างแล้ว
ขณะที่วัตถุดิบอื่นๆ เช่น โปรตีนทางเลือกนั้นกำลังจะลงลึกไปที่ BSF นอกจากแพลนต์เบสที่บางตัวไปไกลโดยที่เราไม่ต้องผลักดันมาก เช่น ผลิตภัณฑ์นมจากธัญพืช จะพบว่าปัจจุบันในร้านกาแฟมีให้เลือกหลายตัว"
เทรนด์อาหารปี 67
วิศิษฐ์ยังนำเสนอเทรนด์อาหารปี 2567 จากสภาข้อมูลอาหารนานาชาติที่รวบรวมข้อมูลจากทีมผู้เชี่ยวชาญด้านอาหาร โภชนาการและสุขภาพ ผนวกกับข้อมูลเชิงลึกจากการสำรวจจากผู้บริโภคชาวสหรัฐ พบว่าแนวโน้มความนิยมด้านอาหารในปี 2567 มี 7 ด้านสำคัญ ดังนี้
1.อาหารที่มีผลต่อจิตใจผู้บริโภค เช่น ผู้บริโภคเลือกรับประทานอาหารที่มีธัญพืชมากขึ้น เพราะต้องการแร่ธาตุและวิตามิน ผู้บริโภคเลือกดื่มเครื่องดื่มมัทฉะเพราะมีสารต้านอนุมูลอิสระ หรือเลือกรับประทานอาหารที่ทำมาจาก Plant-based มากขึ้น เพราะผู้บริโภคเห็นว่าดีและมีประโยชน์ต่อทั้งร่างกาย จิตใจและสภาพแวดล้อม
2.อาหารที่ช่วยในเรื่องของการปรับสมดุลในร่างกายพร้อมทั้งให้ความสดชื่น ซึ่งรวมถึงเครื่องดื่มที่ไม่มีคาเฟอีน ที่ช่วยในเรื่องของการนอนหลับได้ดีขึ้น และเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของพรีไบโอติกและโปรไบโอติกเพื่อสุขภาพของลำไส้มากขึ้น
3.โปรตีนจากพืชที่มาในรูปแบบของขนมทานเล่น จากเดิมที่เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสารอาหารและโปรตีนสแน็ค
4.อาหารที่ประกอบด้วยส่วนผสมจากแหล่งวัฒนธรรมที่สาม หรืออาหารที่มีวัตถุดิบและส่วนผสมที่หลากหลาย ผสมผสานวิธีการทำจากต่างสัญชาติหรือวัฒนธรรมเข้าด้วยกัน
5.ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีฉลากชัดเจนส่งต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค ซึ่งเป็นแนวคิดที่นำไปสู่การผลักดันให้มีฉลากสรรพคุณฟังก์ชันนอลฟู้ด
6.AI มีบทบาทต่อผู้บริโภคเกี่ยวกับการเลือกรับประทานอาหาร เช่น ChatGPT สามารถตอบคำถามเกี่ยวกับอาหารและโภชนาการ ช่วยในเรื่องของการวางแผนมื้ออาหาร และปรับปรุงนิสัยการกินของผู้ใช้โปรแกรมได้ และ
7.เทรนด์อาหารบนโซเซียลมีเดีย
𝗙𝘂𝘁𝘂𝗿𝗲 𝗙𝗼𝗼𝗱 𝗜𝗱𝗲𝗮𝘁𝗶𝗼𝗻 𝗪𝗼𝗿𝗸𝘀𝗵𝗼𝗽
เหตุเพราะอาหารไม่ใช่เพียงเรื่องทักษะการปรุงให้ถูกปาก แต่ครอบคลุมกว้างขวางไปถึงวิถีชีวิตกับภูมิปัญญาชุมชน งานวิจัยกับเทคโนโลยีก้าวหน้า คุณภาพชีวิตผู้ผลิตกับการเข้าถึงอาหารของผู้บริโภค และการป้องกันกับการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม
พบกับตัวอย่างเมนู 𝗙𝘂𝘁𝘂𝗿𝗲 𝗙𝗼𝗼𝗱 𝗜𝗱𝗲𝗮𝘁𝗶𝗼𝗻 𝗪𝗼𝗿𝗸𝘀𝗵𝗼𝗽 ที่ตอบโจทย์ข้างต้นนี้
𝑀𝑎𝑛𝑔𝑜 𝑆𝑜𝑢𝑟𝑑𝑜𝑢𝑔ℎ 𝐵𝑖𝑡𝑒 ขนมปังซาวโดวจ์มะม่วงตกเกรดจากยีสต์ธรรมชาติ ที่ช่วยลดปริมาณอาหารเหลือทิ้งจากฟาร์มโลคัลระหว่างกระบวนการเก็บเกี่ยวและขนส่ง กับเนยมะพร้าวพร้อมโรยถั่วทองให้ความรู้สึกเหมือนข้าวเหนียวมะม่วงฉบับติดนมเนย
𝑉𝑎𝑛𝑖𝑙𝑙𝑎 𝐻𝑜𝑛𝑒𝑦 𝑆𝑤𝑖𝑟𝑙 เครื่องดื่มไซรัปมะม่วงหาวมะนาวโห่กับสาหร่ายสไปรูลิน่าซูเปอร์ฟู้ด ผสมน้ำผึ้งบ่มวานิลลาพร้อมหลอดหยดลูกหม่อนเบอร์รีไทย
𝑃𝑙𝑎𝑛𝑡-𝐵𝑎𝑠𝑒𝑑 𝑆ℎ𝑟𝑖𝑚𝑝 𝑆𝑝𝑖𝑐𝑦 𝑆𝑎𝑙𝑎𝑑 ยำที่ใช้กุ้งแพลนต์เบสจากโปรตีนพืชเพื่อลดพื้นที่ปศุสัตว์และก๊าซเรือนกระจก 𝐶ℎ𝑖𝑐𝑘𝑒𝑛 𝑇𝑠𝑢𝑘𝑢𝑛𝑒 ไก่สึคุเนะออร์แกนิกหน้าตาญี่ปุ่นหมักสมุนไพรพื้นบ้านอีสาน
𝐿𝑜𝑡𝑢𝑠 𝑃𝑒𝑡𝑎𝑙𝑠 𝑀𝑖𝑎𝑛𝑔 𝐾ℎ𝑎𝑚 เมี่ยงกลีบบัวกับน้ำจิ้มคั่วปลาครบรส ที่ช่วยเบนความสนใจจากรสเฝื่อน 𝐷.𝐼.𝑌 𝑃𝑎𝑛𝑖𝑝𝑢𝑟𝑖 ปานิปุริไส้แพลนต์เบส 𝑆𝑒𝑠𝑎𝑚𝑖𝑙𝑘 𝑀𝑎𝑛𝑔𝑜 นมงากับไซรัปมะม่วงสุกสำหรับคนแพ้แลตโทสในนมวัว
𝑌𝑜𝑘𝑠𝑜𝑑 𝑃𝑎𝑛𝑑𝑎𝑛 𝐵𝑎𝑙𝑙 อินทนิลไข่ผำกับนมแพลนต์เบสอบควันเทียน 𝑀𝑎-𝐵𝑝𝑒𝑒𝑡 𝑂𝑟𝑎𝑛𝑔𝑒 𝑆𝑜𝑑𝑎 น้ำมะปี๊ดซูเปอร์ฟู้ดอมเปรี้ยว กับน้ำตาลอัดก้อนจากชุมพร