อัปเดตทดลองผลึกเหลวในอวกาศ เจอกัน ก.พ.ปีหน้าบนสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) 

อัปเดตทดลองผลึกเหลวในอวกาศ เจอกัน ก.พ.ปีหน้าบนสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) 

อัปเดตความคืบหน้าโครงการ Thailand Liquid Crystals in Space (TLC) หรือการทดลองผลึกเหลวในอวกาศ หลังการลงนามความมือระหว่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กับองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือ NASA เมื่อเดือน มิ.ย.2564

KEY

POINTS

  • TLC  หรือการทดลองผลึกเหลวในอวกาศ เป็นความมือระหว่าง ม.เกษตรฯ กับ NASA เมื่อ มิ.ย.64 กำหนดออกเดินทางขึ้นไปทดลองบน ISS  ก.พ.2568 รวมระยะเวลา 3 เดือน
  • TLC มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ได้มาซึ่งเทคโนโลยี Liquid Crystal Display (LCD) ขั้นสูงกว่าที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน เช่น มีความเร็วสูง กินไฟต่ำและความคมชัดดีเยี่ยม 
  • TLC  จะเป็นตัวอย่างให้ประชาชน เยาวชน นักวิทยาศาสตร์ได้มองให้ไกลขึ้นจากพื้นโลก  มองไกลไปถึงนอกโลก เด็ก ๆ รุ่นใหม่จะได้ประโยชน์มากจากการทำวิจัยด้านอวกาศ 

TLC กำหนดออกเดินทางขึ้นไปทดลองบนสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) โดยจรวด SpaceX-32 ในเดือน ก.พ.2568 โดยมีแผนการทดลองเป็นเวลา 3 เดือน นักบินอวกาศจะเป็นผู้ทำการทดลองให้ ขณะที่ทีมนักวิจัยไทยจะควบคุมการทดลองที่สถานีควบคุมในเมือง Houston

ความพิเศษของโครงการคือ เป็น MOU แรกระหว่าง NASA กับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สำหรับการทดลองอวกาศ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ GISTDA เป็นจำนวนรวมกว่า 90 ล้านบาท

อัปเดตทดลองผลึกเหลวในอวกาศ เจอกัน ก.พ.ปีหน้าบนสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) 

รศ.ดร.ณัฐพร ฉัตรแถม อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ ม.เกษตรฯ, หัวหน้าโครงการ กล่าวว่า TLC มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ได้มาซึ่งเทคโนโลยี Liquid Crystal Display (LCD) ขั้นสูงกว่าที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

การทดลองในอวกาศจะกำจัดผลของแรงโน้มถ่วงของโลกไปได้ ซึ่งจะลดปริมาณจุดบกพร่องภายในผลึกเหลวลงไปได้อย่างมีนัยสำคัญ เช่น ฟองอากาศ ดังนั้น ผลึกเหลวในอวกาศจะตอบสนองต่อสนามไฟฟ้าได้ดี

อนาคต LCD  ประสิทธิภาพสูง

การพัฒนานี้จะทำให้ได้หน้าจอ LCD ที่มีความเร็วสูง ใช้ปริมาณไฟต่ำและมีความคมชัดดีเยี่ยม สามารถพัฒนาต่อยอดให้สามารถสร้างบนพื้นโลกในสภาวะใกล้เคียงกับอวกาศได้ในอนาคต

นาซามีแผนที่จะนำเทคโนโลยี LCD นี้ไปใช้กับหมวกของชุดนักบินอวกาศ และพัฒนาเป็นกระจกอัจฉริยะใช้กับหน้าต่างกระสวยอวกาศ ที่สามารถทนความร้อนและรังสีได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง

ทั้งนี้ LCD ใช้เป็นหน้าจอโทรศัพท์มือถือ จอรับภาพต่างๆ ปัจจุบันอุตสาหกรรมผลิตจอภาพ LCD มีมูลค่าประมาณ 1.5 แสนล้านดอลลาร์ต่อปี และมีแนวโน้มจะโตถึง 1.4 ล้านล้านดอลลาร์ในปี 2572 จึงนับเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในประชากรโลกทุกระดับชั้น

อัปเดตทดลองผลึกเหลวในอวกาศ เจอกัน ก.พ.ปีหน้าบนสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) 

“การทำโครงการอวกาศเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาและความทุ่มเทมาก เป็นการทำงานที่ต้องมีผู้สนับสนุนจากหลายภาคส่วนทั้งจากมหาวิทยาลัย องค์กรทุน หน่วยงานด้านอวกาศทั้งในประเทศและต่างประเทศ และความร่วมมือจากภาคเอกชน”

โครงการทดลองในอวกาศเป็นเทคโนโลยีที่มีความละเอียดสูง ดังนั้น กระบวนการทดสอบเพย์โหลดเพื่อขึ้นสู่อวกาศจึงมีความละเอียดมากในแต่ละขั้นตอนของกระบวนการทดสอบมาตรฐานความปลอดภัย โดยแต่ละครั้งของการประเมินจะมีวิศวกรจากนาซากว่า 40 คนมาร่วมในการประเมินโครงการ 

ดังนั้น ในทุกๆ ขั้นตอนการทำงาน ทางทีมวิจัยและทีมที่ปรึกษาโครงการจากบริษัท Nanoracks จึงต้องทำงานกันอย่างหนักเพื่อให้เพย์โหลดสำเร็จตามแผนที่วางไว้ ปัจจุบันอุปกรณ์เพย์โหลดสำหรับการศึกษาผลึกเหลวบนสถานีอวกาศนานาชาติได้ดำเนินการไปกว่า 60%

อัปเดตทดลองผลึกเหลวในอวกาศ เจอกัน ก.พ.ปีหน้าบนสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) 

ปูทางวิจัยไทยไปนอกโลก

ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า TLC จะเป็นแรงขับเคลื่อนให้นักวิจัยเริ่มการวิจัยขั้นสูงไปยังนอกโลกมากขึ้น ซึ่งในอดีตมี GISTDA แห่งเดียวที่พยายามพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ

พร้อมกันนี้ยังเป็นการเปิดมุมมองทางด้านอวกาศให้เกิดนวัตกรรมจากอวกาศ ซึ่งนวัตกรรมจากโครงการนี้มีถึง 7 ชิ้น เช่น ระบบให้ความร้อนแบบโปร่งแสง โครงการนี้จะทำให้ชื่อเสียงของประเทศดีขึ้น

 “ผมดีใจมากที่เห็นความร่วมมือของหลายหน่วยงานที่ทำให้โครงการนี้เกิดขึ้น อาเซียนกำลังรอดูว่าโครงการที่เราทำกับนาซาจะได้ผลอย่างไร และเขาก็อยากจะร่วมมือกับนาซาเหมือนกับเรา จึงถือว่าเราเป็นผู้นำร่องให้กับภูมิภาคนี้”

โครงการ TLC นี้ซึ่งมีที่มาจาก MOU ระหว่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และองค์การ NASA ที่ลงนามไปเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2564 เพื่อการศึกษาผลึกเหลวในอวกาศ จะเป็นตัวอย่างให้ประชาชน เยาวชน นักวิทยาศาสตร์ได้มองให้ไกลขึ้นจากพื้นโลก  มองไกลไปถึงนอกโลก เด็ก ๆ รุ่นใหม่จะได้ประโยชน์มากจากการทำวิจัยด้านอวกาศ 

ประเทศไทยเองมีนโยบายที่ชัดเจนโดยเฉพาะรัฐบาลไทยให้ความสำคัญด้านนี้มาก  โครงการนี้จะเป็นแรงขับเคลื่อนให้นักวิจัยเริ่มการวิจัยขั้นสูงไปยังนอกโลกมากขึ้น  ซึ่งประเทศไทยในอดีตเรายังมีน้อย มี GISTDA แห่งเดียวที่พยายามพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ  

ข้อดีของโครงการนี้คือประชาชนเยาวชนได้เห็นตัวอย่างในการมองให้ลึกขึ้นจากเดิมอยู่แต่ในโลกก็มองไปนอกโลกด้วย

อัปเดตทดลองผลึกเหลวในอวกาศ เจอกัน ก.พ.ปีหน้าบนสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) 

ศ.ดร.สมปอง คล้ายหนองสรวง ผู้อำนวยการ บพค. ได้แสดงแนวคิดทางรูปธรรมในการที่จะทำให้ประเทศไทยและคนไทยเข้าถึงกิจการทางด้านอวกาศว่า โอกาสใหม่ๆ ของคนไทยอยู่ในทุกพื้นที่ พื้นที่ในอวกาศก็เป็นพื้นที่ที่เราเข้าถึงได้

คนไทยสามารถพูดกับคนทั่วโลกได้ในภาษาหรือมาตรฐานระดับโลกได้ โดยเฉพาะการทำงานร่วมกับนาซา บพค.สนับสนุนการเรียนรู้ การวิจัยและนวัตกรรมทั้งในระดับโรงเรียนและระดับที่สูงขึ้น

ขณะที่ TLC เป็นโครงการใหญ่ภายใต้ National Agenda คือการสร้างและพัฒนากำลังคนของประเทศโดยอาศัยเศรษฐกิจอวกาศ เป็นจุดคานงัดในการสร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจ จะก่อให้เกิดอาชีพใหม่เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจแบบใหม่

นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เปิดการประชุมความก้าวหน้าของโครงการศึกษาผลึกเหลวในอวกาศ (Thailand Liquid Crystals in Space (TLC)) กล่าวว่า

อัปเดตทดลองผลึกเหลวในอวกาศ เจอกัน ก.พ.ปีหน้าบนสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) 

การมารวมตัวกันครั้งนี้ เพื่อสร้างหมุดหมายสำคัญในการเดินทางของวิทยาศาสตร์อวกาศและการวิจัยเพื่อประเทศไทย และร่วมหารือเกี่ยวกับความคืบหน้าของโครงการ TLC ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของการสำรวจอวกาศและวิทยาศาสตร์ของประเทศไทย 

ในขณะที่เรากำลังเตรียมพร้อมสำหรับการปล่อยอุปกรณ์เพย์โหลด (payload) สำหรับการศึกษาผลึกเหลวบนสถานีอวกาศนานาชาติอวกาศในปี 2568 โดยโครงการได้ดำเนินไปอย่างราบรื่น ซึ่งเป็นผลจากความทุ่มเท และความเชี่ยวชาญของนักวิทยาศาสตร์ วิศวกร รวมถึงไปถึงบุคลากรผู้เกี่ยวข้องทุกคน

"การทดลองผลึกเหลว (Liquid Crystal) ในอวกาศของโครงการนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ได้มาซึ่งเทคโนโลยีสูงกว่าที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งอาจนำไปสู่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เช่น จอภาพ LCD และอุปกรณ์ชีวการแพทย์ ซึ่งสามารถช่วยเสริมประสิทธิภาพในหลากหลายอุตสาหกรรม

นอกจากนี้ โครงการดังกล่าวยังเป็นแรงบันดาลใจสำหรับเยาวชนในประเทศ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีส่วนร่วมในโครงการสำคัญเพื่อการพัฒนาด้านอวกาศของมวลมนุษยชาติ” น.ส.ศุภมาส กล่าว.