‘รัสเซีย-ยูเครน’ วิกฤติซ้อนโควิด ท้าทายประเทศไทย

‘รัสเซีย-ยูเครน’ วิกฤติซ้อนโควิด  ท้าทายประเทศไทย

"สถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน" ไม่เพียงส่งผลต่อความมั่นคงระดับภูมิภาค แต่เมื่อหลายประเทศประกาศมาตรการคว่ำบาตรรัสเซีย และตามมาด้วยตอบโต้ระหว่างกันได้สร้างผลกระทบไปทั่วโลก ท่ามกลางความพยายามที่ต้องการฟื้นประเทศ หลังเผชิญวิกฤติโควิด-19

เชิดชาย ใช้ไววิทย์” อธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์กรุงเทพธุรกิจว่า การเปลี่ยนแปลงบริบทโลกภายนอกเกิดขึ้นรวดเร็ว และคาดว่าจะมีประเด็นใหม่ๆ ผุดขึ้นมาอีกที่อาจทำให้ไม่เป็นตามแผนทั้งหมดที่ไทยวางไว้ในการจัดประชุมผู้นำกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปค) ภายใต้แนวคิดหลัก “เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยง สู่สมดุลย์” ที่จะมีขึ้นในเดือน พ.ย.2565

เชิดชาย เล่าว่า ในการพูดคุยกับสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปค (เอแบค) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งช่วยขับเคลื่อนการประชุมผู้นำเอเปค เราต่างตระหนักดีในอีก 2 - 3 เดือนข้างหน้า ประเด็นที่ไทยผลักดันอาจล้าสมัย และนับตั้งแต่ไทยรับตำแหน่งประเทศเจ้าภาพจัดการจัดประชุมเอเปคเมื่อปลายปีก่อน ไล่เลียงถึงการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปคครั้งที่ 1 เมื่อปลายเดือนก.พ.ที่ผ่านมา ไทยวางเป้าหมายประชุมเอเปคอยู่บนหัวข้อสนทนาความพยายามฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก หลังการระบาดใหญ่โควิด-19

แต่เมื่อเกิดสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครนเมื่อวันที่ 24 ก.พ.2565 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในบริบทโลก โดยเฉพาะผลพวงจากมาตรการคว่ำบาตรต่างๆ ได้ส่งแรงกระเพื้อมต่อห่วงโซ่อุปทานโลก วิกฤติพลังงาน  ราคาน้ำมันที่พุ่งทะยานสูงขึ้นกว่า 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล นอกจากนี้ยังมีวิกฤติความมั่นคงทางอาหาร หากดูจากตัวเลขส่งออกสินค้าธัญพืชของรัสเซียกับยูเครนรวมกัน พบว่า มีจำนวนมากกว่า 30% ของการบริโภคทั่วโลก 

เมื่อหลายประเทศได้ประกาศมาตรการคว่ำบาตรระงับการนำเข้าสินค้าบริโภคจากรัสเซีย แน่นอนย่อมส่งผลกระทบต่อรัสเซีย และยังส่งทอดต่อไปยังคนทั่วโลกที่ไม่สามารถเข้าถึงอาหารบางประเภทได้ปกติ นี่เป็นวิกฤติซ้อนวิกฤติ เดิมมีการแพร่ระบาดโควิด-19 และผลกระทบจากสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครนกำลังเป็นเรื่องใกล้ตัว 

 

‘รัสเซีย-ยูเครน’ วิกฤติซ้อนโควิด  ท้าทายประเทศไทย

 

‘รัสเซีย-ยูเครน’ วิกฤติซ้อนโควิด  ท้าทายประเทศไทย

ดังนั้นเอเปค ในฐานะเป็นแหล่งบ่มเพาะทางความคิด ก็ต้องตอบสนองสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงนี้ทันที

ไทยในฐานะเจ้าภาพเอเปคปีนี้  ยังคงมุ่งเน้นการเชื่อมโยงในทุกมิติ ตามที่การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปคครั้งที่ 1 ได้มีการจัดตั้ง “คณะทำงานพิเศษ ว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการเดินทาง” (APEC Safe Passage Taskforce) และสนับสนุนให้เกิดการค้าการลงทุนที่ยั่งยืน รวมถึงการจัดสรรทรัพยากรเศรษฐกิจให้สมดุล โดยที่ไทยได้ชูแนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (BCG) เพื่อช่วยขับเคลื่อนประเด็นหลักในการประชุมเอเปคครั้งนี้

ไทยมุ่งมั่นผลักดันการเชื่อมโยงการเดินทาง ทั้งการจัดทำพอร์ทัล  (APEC Information Portal for Safe Passage Across the Region) เพื่อแลกเปลี่ยนและอัพเดทข้อมูลมาตรการเข้าเมืองระหว่างสมาชิก 21 เขตเศรษฐกิจได้เห็นภาพที่ตรงกัน และการเร่งพิจารณาฐานข้อมูลและมอบกุญแจดิจิทัล (Public key infrastructure) ให้แต่ละเขตเศรษฐกิจที่เข้าร่วมโครงการสามารถตรวจสอบเอกสารใบรับรองวัคซีนข้อมูลรายละเอียดผู้เดินทางได้อย่างรวดเร็ว โดยข้อเสนอทั้งหมดนี้คาดว่าจะดำเนินการได้ภายในปีนี้ 

 

‘รัสเซีย-ยูเครน’ วิกฤติซ้อนโควิด  ท้าทายประเทศไทย

‘รัสเซีย-ยูเครน’ วิกฤติซ้อนโควิด  ท้าทายประเทศไทย

แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย  เพราะถ้าย้อนกลับไปปี 2563 ซึ่งเป็นปีแรกการระบาดโควิด-19 แนวคิดฟื้นการเดินทางยังเป็นศูนย์ เพราะโลกยังไม่มีวัคซีน  ถัดมาปี 2564 ทั่วโลกเริ่มรณรงค์การฉีดวัคซีนแล้ว จึงปลุกความคิดเชื่อมโยงการเดินทางที่น่าจะเป็นเรื่องง่าย  แต่ความเป็นจริงกลับเป็นเรื่องท้าทาย  เพราะแต่ละประเทศมีระบบรับรองวัคซีนไม่เหมือนกัน เช่น  วัคซีนในประเทศหนึ่งอาจไม่ได้ถูกรับรองในอีกประเทศหนึ่ง  ทำให้การเดินทางไปต่างประเทศ  ต้องขอเอกสารจำนวนมาก ไม่ได้รับความอำนวยสะดวกเท่าที่ควรจะเป็น

"เพราะวันนี้สิ่งที่ไม่ได้อยู่ในสคริปที่ไทยเตรียมไว้กำลังกลายมาเป็นเรื่องที่ไม่อาจมองข้ามได้  โดยเฉพาะเอเปคจะมีบทบาทดูแลห่วงโซ่อุปทานโลก  การจัดการพลังงาน  การควบคุมต้นทุนราคาน้ำมันได้อย่างไร  แม้ไทยไม่ใช่สมาชิกกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) แต่สมาชิกความร่วมมือเอเปค มีประเทศผู้เล่นสำคัญๆ ของโลกและยังเป็นสมาชิกโอเปกด้วย" อธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศกล่าว

ปัจจุบัน ประชากรในเอเปคมีรวมกันมากกว่า 2,900 ล้านคน หรือประมาณ 1 ใน 3 ของโลก และมีผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) รวมกันกว่า 53 ล้านล้านดอลลาร์ หลังเกิดสถานการณ์ระบาดโควิด-19  มีประชากรเอเปคที่กำลังถอยหลังเข้าสู่เส้นความยากจนแบบสุดขั้วจำนวน 4.3 ล้านคน และตำแหน่งงานในเอเปคหายไปเกือบ 10 ล้านตำแหน่งจากวิกฤติโลกในช่วงที่ผ่านมา 

 

‘รัสเซีย-ยูเครน’ วิกฤติซ้อนโควิด  ท้าทายประเทศไทย

กระบวนการหลังจากนี้ไปจนถึง พ.ย. 2565 ยังมีเรื่องราวอีกมากมายที่เอเปคต้องโฟกัสที่ไม่มีแค่เรื่องโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบชีวิตความเป็นอยู่ประชาชนในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งทำให้รายได้ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกหายไปประมาณ 19 - 23 ล้านบาท แค่เฉพาะประเทศไทยประมาณหนึ่งแสนล้านบาท

เชิดชาย กล่าวในตอนท้ายว่า เอเปคกำลังเห็นประเด็นสำคัญๆ ที่เป็นผลพวงจากสถานการณ์ในภูมิภาคที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แบบที่ไม่เคยเกิดมาก่อนในประวัติศาสตร์ร่วมสมัยของเรา ขณะที่ไทยพร้อมการจัดประชุมผู้นำเอเปคในอีก 7 เดือนข้างหน้า แต่ในทางการเมืองระหว่างประเทศเป็นช่วงเวลาที่ยาวนานและไม่อาจคาดการณ์ได้ว่าจะมีสถานการณ์ใดแทรกซ้อนขึ้น ถึงอย่างไร มองเป็นเรื่องท้าทายที่เอเปคต้องร่วมมือกัน