‘ไบเดน’ เยือน ‘ซาอุฯ’ เต็มไปด้วยอุปสรรค
ประธานาธิบดีสหรัฐ เดินทางเยือนซาอุฯ ถูกจับตามองเป็นพิเศษจากหลายฝ่าย และคาดหวังถึงผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศจากการเจรจาครั้งนี้
หลังประธานาธิบดีไบเดนประกาศเยือนซาอุฯ ก็มีกลุ่มผู้ประท้วงบริเวณหน้าสถานทูตวอชิงตัน ออกมาเรียกร้องความยุติธรรมให้กับนายจามาล คาช็อกกี นักข่าวชาวซาอุดิอาระเบีย สัญชาติอเมริกันที่ถูกสังหารภายในสถานกงสุลซาอุฯ ประเทศตุรเคีย ซึ่งกลุ่มผู้ประท้วงไม่พอใจการตัดสินใจของไบเดน ในการเยือนประเทศซาอุดิอาระเบียและเข้าพบเจ้าชายโมฮัมเหม็ด บิน ซัลมานที่ถูกสงสัยว่าเป็นผู้สั่งการสังหารนักข่าวดังกล่าว
คาช็อกกี เป็นนักข่าวที่มากประสบการณ์ ได้ขอลี้ภัยไปอยู่ในสหรัฐหลังถูกเจ้าหน้าที่ซาอุฯ เตือนเกี่ยวกับการวิพากษ์วิจารณ์การทำงานและนโยบายของเจ้าชายโมฮัมเหม็ด บิน ซัลมานอย่างรุนแรง และถูกสังหารเมื่อปี 2561 สหรัฐจึงตกอยู่ในสถานการณ์กลืนไม่เข้าคายไม่ออก ซึ่งขณะนั้นทรัมป์ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอยู่ ได้ส่งทูตเข้าเฝ้ากษัตริย์ซัลมาน อับดุล อาซิส แห่งซาอุฯ และมกุฎราชกุมาร โมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน เพื่อหารือความคลี่คลายคดี ด้านเจ้าชายปฏิเสธอย่างหนักแน่นว่าไม่มีส่วนรู้เห็นใด ๆ กับเรื่องนี้
กลุ่มผู้ประท้วงเรียกร้องให้ไบเดนเจรจาให้นำร่างของคาช็อกกีกลับมา เพื่อทำพิธีทางศาสนาต่อไป เนื่องจากไบเดนเคยนำประเด็นคดีสังหารนักข่าวมาใช้หาเสียงก่อนจะได้รับตำแหน่งประธานาธิบดี
การไปเยือนครั้งนี้ถูกจับตามองเป็นพิเศษ เพราะสร้างความไม่พอใจต่อกลุ่มสิทธิมนุษยชน ถ้าการตัดสินใจเจรจาครั้งนี้สำเร็จ จะทำให้ไบเดนมีต้นทุนทางการเมืองหรือเสียงสนับสนุนในการลงสมัครเลือกตั้งสมัยต่อไป แต่กลุ่มผู้ประท้วงเห็นว่า หากอยากชนะการเลือกตั้ง มีทางเดียวคือ ไขข้อกังวลด้านสิทธิมนุษยชนเกี่ยวกับคดีคาช็อกกีอย่างเป็นรูปธรรม
ด้านกลุ่มผู้ประท้วงเรียกร้องให้ปล่อยนักโทษทางการเมืองโดยพฤตินัยและยกเลิกข้อจำกัดอื่น ๆ ของกลุ่มนักเคลื่อนไหว และให้ไบเดนย้ำต่อสาธารณชนว่าจะนำฆาตรกรสังหารนักข่าวคาช็อกกี มาพิจารณาคดีให้ได้
ทั้งนี้ สหรัฐมีประเด็นยกเลิกสนับสนุนซาอุฯ ทำสงครามกับเยเมน ด้านซาอุฯ ได้ลดบทบาทลง ยอมรับข้อตกลงสงบศึก และเดินหน้าเจรจากับกลุ่มกบฏฮูตีของเยเมน
ไบเดนยกย่องการเปลี่ยนแปลงนี้และจะสร้างความก้าวหน้าในสันติภาพต่อไป ดังนั้น นอกจากการไปเยือนครั้งนี้จะสร้างความสัมพันธ์อันดีแล้ว อาจสร้างผลกระทบทางการเมืองได้เช่นกัน โดยการไปเยือนครั้งนี้ ไบเดนหวังให้ชาติโอเปกผลิตน้ำมันเพิ่ม เพื่อลดราคาน้ำมันลง ซึ่งเป็นปัญหาปากท้องของประชาชนในประเทศ ที่กำลังเผชิญกับภาวะเงินเฟ้อสูง ส่งผลกระทบต่อราคาอาหารและค่าครองชีพแพงขึ้น ซึ่งเป้าหมายนี้เอง ทำให้ประชาชนบางส่วนไม่พอใจที่ไบเดนละเลยหลักสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับคดีของนักข่าวคาช็อกกี
ด้านเดวิด โกลด์วิน หัวหน้าคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านพลังงาน ศูนย์พลังงานโลก สภาแอตแลนติก และอดีตที่ปรึกษาด้านพลังงานกระทรวงการต่างประเทศสมัยประธานาธิบดีบารัก โอบามา คาดว่าไบเดนไม่สามารถเจรจาขอให้ซาอุฯ และชาติโอเปกผลิตน้ำมันเพิ่มได้ เพราะเป็นการร้องขอที่โจ่งแจ้งเกินไป
หากไบเดนเจรจาเรื่องนี้ไม่สำเร็จ แล้วจะมีเรื่องใดที่สามารถทำข้อตกลงกับซาอุฯและกลุ่มประเทศ GCC ได้บ้าง ?
ไบเดนจึงเน้นไปที่การเข้าร่วมประชุมกับกลุ่มประเทศ GCC หรือกลุ่มประเทศคณะมนตรีความร่วมมือแห่งอ่าวอาหรับ ประกอบด้วย 6 ประเทศ ได้แก่ ซาอุดีอาระเบีย คูเวต โอมาน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กาตาร์ และบาห์เรน มากกว่าการเข้าพบมกุฎราชกุมารซาอุฯ โดยการมีเป้าหมายแรกคือ สนันสนุนอิสราเอลให้มีความมั่นคงทางทวิภาคี และร่วมลงนาม “ปฏิญญาเยรูซาเลม” (15 ก.ค.) เพื่อป้องการและปราบปรามความพยายามของอิหร่านในการสร้างอาวุธนิวเคลียร์ เชื่อมความสัมพันธ์อันดีระหว่างอิสราเอลและซาอุฯ รวมทั้งความสัมพันธ์อิสราเอลต่อภูมิภาคอาหรับ โดยเงื่อนไขหลัก คือ สหรัฐจะสนับสนุนระบบป้องกันภัยทางอากาศ เพื่อต่อต้านภัยคุกคามขีปนาวุธจากอิหร่านและพันธมิตร
ซาอุฯ ต้องการอะไร
โจนาธาน แพนิคอฟ อดีตเจ้าหน้าที่สำนักข่าวกรองแห่งชาติ ตอนนี้อยู่กับสภาแอตแลนติก กล่าวว่า ในความจริงแล้ว มกุฎราชกุมาร โมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน ต้องการเริ่มต้นความสัมพันธ์อันดีกับสหรัฐอีกครั้ง ด้วยข้อตกลงความมั่นคงทางทวิภาคี และอยากได้ความชัดเจนจากความตั้งใจจริงของไบเดน
อาลี เชฮับ นักเขียนและนักวิจารณ์ที่มีประวัติสนับสนุนมกุฎราชกุมาร กล่าวว่า ซาอุฯ เห็นว่าการมาเยือนครั้งนี้เป็นการปรับท่าทีใหม่และเป็นการแก้ตัวที่ยอมรับว่า ไม่สามารถละเลยราชอาณาจักรซาอุฯ ได้
ไบเดนพยายามปัดภาพลักษณ์อันน่าประทับใจที่เขาอ้างถึง ความเป็นที่หนึ่งของหลักประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน และกระจ่างว่าสงครามในยุโรปเปลี่ยนมุมของเขาต่อกลยุทธ์สำคัญแห่งภูมิภาค โดยเฉพาะซาอุดิอาระเบีย ซึ่งมีความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นกับรัสเซียและจีน จึงสร้างความกดดันต่อสหรัฐในการพยายามต่อต้านรัสเซีย ที่เป็นพันธมิตรที่ดีต่อซาอุฯ เช่นกัน
ไบเดนพยายามตอบโต้การรุกรานของรัสเซีย และนำพาประเทศไปอยู่ในจุดที่เหมาะสม ต้องแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจกับจีน และสร้างความยั่งยืนให้ภูมิภาคที่สำคัญของโลก เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายนั้น จะต้องเข้าไปมีส่วนร่วมกับประเทศที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในครั้งนี้ ซึ่งประเทศซาอุดิอาระเบียเป็นหนึ่งในนั้น
แต่การไปเยือนอย่างประนีประนอมในครั้งนี้ แทบจะไม่มีความหมายหรือเกี่ยวข้องต่อการเสียชีวิตของนักข่าวคาช็อกกีเลย