ผู้เชี่ยวชาญชี้ เอเชียอาจเกิด “เอลนีโญ” หวั่นกระทบราคาอาหารโลกต่อเนื่อง

ผู้เชี่ยวชาญชี้ เอเชียอาจเกิด “เอลนีโญ” หวั่นกระทบราคาอาหารโลกต่อเนื่อง

ปรากฏการณ์เอลนีโญ บวกกับความไม่แน่นอนของสงครามในยูเครน และจีน กลับมาเปิดประเทศอีกครั้ง อาจส่งผลให้ราคาอาหารโลกปีนี้ผันผวนต่อเนื่อง

รูเบนส์ มาร์กส์” หัวหน้าประจำภูมิภาคเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จากแอลดีซี ให้สัมภาษณ์ว่า ความไม่แน่นอนของราคาอาหารโลกยังคงอยู่ แม้ราคาอาหารเริ่มลดลงแล้ว หลังรัฐบาลมอสโก ยอมรับข้อตกลงปลดปล่อยการส่งออกธัญพืชของยูเครนที่ลงนามเมื่อเดือนก.ค.2565

เนื่องจากราคาปุ๋ย และน้ำมันดิบผันผวนเพราะสงคราม หนุนให้ต้นทุนการผลิต และการจำหน่ายสินค้าการเกษตรทั้งหมดสูงขึ้น รวมถึงเศรษฐกิจโลกชะลอตัว และจีนเปิดประเทศหลังควบคุมการแพร่ระบาดโควิด มาร์กส์ บอกว่า จะสร้างผลกระทบต่อราคาอาหารโลกอย่างแน่นอน เพราะจีนจะซื้อสินค้ามากขึ้นในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า

จากนั้นจะเกิดเอลนีโญ ปรากฏการณ์ความแห้งแล้ง และการขาดแคลนน้ำในเอเชีย ซึ่งตรงข้ามกับลานีญา ที่ทำให้เกิดฝนตกมากขึ้นในภูมิภาค 

 

ผู้เชี่ยวชาญชี้ เอเชียอาจเกิด “เอลนีโญ” หวั่นกระทบราคาอาหารโลกต่อเนื่อง

องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก เผยเมื่อสัปดาห์ก่อนว่า มีความเป็นไปได้สูงมาก ที่เอลนีโญจะเกิดขึ้นตั้งแต่เดือน มิ.ย.- ส.ค.นี้

มาร์สก์ กล่าวว่า การคาดการณ์ราคาอาหารขึ้นหรือลงเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก แต่เราสามารถคาดเดาได้ว่าราคาอาหารจะเกิดความผันผวนอย่างมากในอนาคต

ทั้งนี้ เอลนีโญ อาจทำให้ผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ เช่น น้ำมันปาล์ม กาแฟ และข้าว ซึ่งเป็นสินค้าที่ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บางแห่งที่เป็นผู้นำด้านการผลิต และส่งออก ส่วนน้ำตาล และธัญพืชเป็นสินค้าส่งออกหลักของอินเดีย

บริษัทแอลดีเอส ยังคงกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยราคาอาหาร อาจเพิ่มสูงในเอเชียระยะยาว เพราะสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง และย้ำว่าภัยพิบัติธรรมชาติอาจเกิดบ่อยมากขึ้น 

 

 

 

 

 

ผู้เชี่ยวชาญชี้ เอเชียอาจเกิด “เอลนีโญ” หวั่นกระทบราคาอาหารโลกต่อเนื่อง

นอกจากนี้ ความพร้อมของที่ดินในการเพาะปลูกเริ่มลดลงเพราะประชากรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในหลายประเทศ การขยายตัวเมืองอย่างรวดเร็วก่อให้เกิดความเสี่ยง เพราะจะเหลือคนทำงานด้านการเกษตรน้อย

จากดัชนีความปลอดภัยอาหารโลกปี 2565 ที่เผยแพร่โดย ดิ อีโคโนมิสต์ อินเทลลิเจนซ์ ยูนิต พบว่า สิงคโปร์เป็นประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพียงแห่งเดียวที่ติดท็อป 40 ประเทศแรกจากทั้งหมด 113 ประเทศ ในการจัดอันดับ ส่วนอินโดนีเซีย และอินเดีย อยู่ในอันดับที่ 63 และ 68 ตามลำดับ

เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว แอลดีซีจึงทำงานร่วมกับหุ้นส่วนเกษตรกรรายย่อยหลายประเทศ เช่น อินโดนีเซีย เวียดนาม และอินเดีย ในโครงการเพื่อความยั่งยืน และเริ่มลงทุนเมล็ดพันธุ์กับบริษัทสตาร์ตอัปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน

 

 

พิสูจน์อักษร....สุรีย์  ศิลาวงษ์