‘โคจิ ซาโตะ’นำทัพโตโยต้า ตะลุยตลาดรถยนต์อีวีโลก

‘โคจิ ซาโตะ’นำทัพโตโยต้า ตะลุยตลาดรถยนต์อีวีโลก

‘โคจิ ซาโตะ’นำทัพโตโยต้า ตะลุยตลาดรถยนต์อีวีโลก ขณะที่"ซาโตะ" ซีอีโอคนใหม่เป็นตัวเลือกที่เหมาะสมเพราะทำงานหนักมากเพื่อเรียนรู้ปรัชญาของบริษัทและตำแหน่งซีอีโอก็ต้องการความเยาว์วัย คนที่มีพลังและมีความแข็งแกร่ง

เมื่อครั้งที่“โคจิ ซาโตะ”ประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่ของโตโยต้า มอเตอร์ ค่ายรถใหญ่สุดของโลกถูกสื่อยิงคำถามใส่ว่า"ตอนนี้เป็นยุคแห่งการเปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญในรอบศตววรษของอุตสาหกรรมยนตรกรรม ค่ายรถใหญ่ที่สุดในโลกอย่างคุณอาจจะรู้สึกว่าเป็นผู้ต้องขังที่ติดอยู่กับความสำเร็จในอดีตหรือเปล่า ซาตะ ตอบว่า"ใช่" แต่คำตอบของเขาเบาจนแทบจับใจความไม่ได้ ท่ามกลางเสียงคำรามของเครื่องยนต์รถแข่งและเสียงเชียร์จากแฟนรอบสนาม 

นั่นเป็นช่วงกลางเดือนธ.ค.ที่สนามแข่งรถแห่งหนึ่งในประเทศไทย ซึ่งซาโตะมักถูกตั้งคำถามว่าเขาจะก้าวขึ้นมานั่งเก้าอี้ประธานของบริษัทโตโยต้า มอเตอร์หรือไม่ ซึ่งผู้ที่ยืนถัดจากเขาไปก็ไม่ใช่ใคร แต่เป็น“อากิโอะ โตโยดะ” ลูกพี่และเป็นทายาทรุ่นที่3 ที่บริหารอาณาจักรยนตรกรรมโตโยต้า  ที่วางแผนก้าวลงจากตำแหน่งในเดือนเม.ย.นี้ หลังจากบริหารบริษัทมานาน 13 ปี

ซาโตะ วัย53 ปี จะเริ่มทำหน้าที่บริหารในเดือนเม.ย. โดยต้องนำพาโตโยต้าให้ก้าวข้ามผ่านช่วงเวลาที่น่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่อดีตผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมผลิตเครื่องจักรเย็บผ้าผลิตรถยนต์คันแรกในปี 2480   

ขณะที่ยุคของเครื่องยนต์สันดาปกำลังจะถูกแทนที่ด้วยรถยนต์ใช้พลังงานรูปแบบใหม่เป็นตัวขับเคลื่อน โตโยต้าจำเป็นต้องดำเนินไปตามแนวทางนี้โดยไม่ทำให้ค่ายรถสูญเสียตำแหน่งแชมป์ที่ทำยอดขายรถได้มากที่สุดในโลก ท่ามกลางสายตาที่จับจ้องและจับตามองอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะเมื่อเกี่ยวข้องกับยานยนต์่ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV) 

 หลังจากมีการประกาศแต่งตั้งซาโตะ “อากิโอะ โตโยดะ” ก็กล่าวด้วยน้ำเสียงภาคภูมิใจว่า “ซาโตะ เป็นตัวเลือกเพราะทำงานหนักมากเพื่อเรียนรู้ปรัชญาของบริษัทและตำแหน่งซีอีโอต้องการความเยาว์วัย คนที่มีพลังหรือมีเรี่ยวแรงกำลัง และความแข็งแกร่ง”

ว่าที่ซีอีโอคนใหม่ของโตโยต้าเริ่มต้นอาชีพที่บริษัทรถยนต์ยักษ์ใหญ่แห่งนี้เมื่อปี 2535 ก่อนจะไต่ขึ้นมาตามโครงสร้างของบริษัทจนได้เป็นหัวหน้าวิศวกรของเล็กซัส อินเตอร์เนชั่นแนลในปี 2559

การก้าวขึ้นมานั่งเก้าอี้ซีอีโอคนใหม่ของโตโยต้ามีขึ้นท่ามกลางกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่า โตโยต้าเป็นค่ายรถยนต์ที่เคลืื่อนไหวช้ามากในเรื่องนี้ หลังจากบริษัทมีปัญหาต่างๆกับรถยนต์อเนกประสงค์ (เอสยูวี) bZ4X ขนาด 5 ที่นั่ง ที่เป็นรถโมเดล BEV รุ่นแรกที่ผลิตจำนวนมาก จนทำให้บริษัทต้องเรียกคืนเมื่อปีที่แล้ว ส่วนเรื่องที่น่าปวดใจอีกเรื่องเกิดขึ้นในรัฐแคลิฟอร์เนีย ของสหรัฐคือการที่เทสลาสามารถทำยอดขายได้แซงหน้าโตโยต้าในบางเซคเมนท์ของตลาดที่สำคัญ

“เป็นเรื่องยากที่จะปรับเปลี่ยนจากเครื่องยนต์สันดาปไปใช้เครื่องยนต์ไฟฟ้าเมื่อธุรกิจของคุณเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมยนตรกรรมโลก”ซันชิโร ฟูคาโอะ จากสถาบันวิจัยอิโตชู ให้ความเห็น  

‘โคจิ ซาโตะ’นำทัพโตโยต้า ตะลุยตลาดรถยนต์อีวีโลก  

แรงขับเคลื่อนรถ BEV กำลังเติบโต เนื่องจากรัฐบาลประเทศต่างๆในยุโรปและสหรัฐกำลังเคลื่อนไหวเพื่อห้ามรถยนต์ใช้เครื่องยนต์สันดาปวิ่งบนท้อง รวมถึงรถไฮบริดในช่วง 10-15 ปีข้างหน้า ขณะที่การเปลี่ยนผ่านไปสู่รถ BEV และซอฟต์แวร์ยานยนต์สำหรับรถยนต์ไร้คนขับเป็นการเปิดทางให้แก่ค่ายรถหน้าใหม่ๆได้เข้ามาเล่นในสนามแข่งนี้ด้วย  ซึ่งในมุมมองของบรรดาผู้เชี่ยวชาญเห็นว่า เพื่อคงความสามารถด้านการแข่งขันให้ได้ โตโยต้าต้องลงทุนลงแรงในทั้งสองมิติ

“สิ่งสำคัญที่สุดในตอนนี้สำหรับโตโยต้าคือต้องเร่งพัฒนารถ BEV มากกว่านี้ ”ซันชิโร ฟูกาโอะ นักวิจัยอาวุโสจากสถาบันวิจัยอิโตชู กล่าว     

เมื่อปีที่แล้ว โตโยต้าทำยอดขายรถยนต์ทั่วโลกได้มากที่สุดติดต่อกันสามปี โดยทำยอดขายได้เกือบ 10.5 ล้านคัน และสามารถทำยอดขายได้แซงหน้ายอดขายรถของโฟล์คสวาเก้น กรุ๊ป สัญชาติเยอรมนีที่ทำได้ 8.3 ล้านคัน โดยอันดับของโตโยต้าในตลาดใหญ่ๆค่อนข้างสูง อาทิ ในญี่ปุ่น สหรัฐ และยุโรป ถือว่าอันดับดีกว่าบรรดาค่ายรถคู่แข่ง โดยเฉพาะในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19  ช่วงที่ทั่วโลกเจอปัญหาเซมิคอนดักเตอร์ขาดแคลน และต้นทุนวัตถุดิบสูงจนส่งผลกระทบอย่างมากต่ออุตสาหกรรมรถยนต์  

ล่าสุด เมื่อวันพฤหัสบดี(30 มี.ค.)  โตโยต้า มอเตอร์ รายงานว่า ยอดขายรถยนต์ทั่วโลกในเดือนก.พ.พุ่งขึ้น 10.3% เมื่อเทียบเป็นรายปี แตะที่ระดับ 773,271 คัน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ขณะที่ยอดขายภายในประเทศดีดตัวขึ้น เนื่องจากปัญหาขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์เริ่มบรรเทาลง

ยอดขายรถยนต์ในญี่ปุ่น ซึ่งรวมถึงรถยนต์ขนาดเล็ก พุ่งขึ้น 53.2% แตะที่ 155,840 คันในเดือนก.พ. หลังจากร่วงลงอย่างหนักในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว เป็นผลมาจากปัญหาขาดแคลนชิ้นส่วนรถยนต์และผลกระทบจากการใช้มาตรการที่เข้มงวดเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

ยอดขายรถยนต์ในต่างประเทศ ปรับตัวขึ้น 3.0% แตะที่ 617,431 คัน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ขณะที่ยอดขายในจีนเพิ่มขึ้น 0.9% โดยได้แรงหนุนจากการเปิดตัวรถยนต์โตโยต้ารุ่นใหม่ ๆ

ส่วนการผลิตยนต์ภายในประเทศ ปรับตัวขึ้น 11.2% แตะที่ 281,521 คัน ซึ่งเป็นปัจจัยหนุนยอดการผลิตรถยนต์ทั่วโลกของโตโยต้าพุ่งขึ้น 2% แตะที่ 755,839 คัน ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นติดต่อกันเดือนที่ 2

อย่างไรก็ดี การผลิตรถยนต์ในต่างประเทศของโตโยต้า ลดลง 2.7% แตะที่ 474,318 คัน เนื่องจากการผลิตรถยนต์ในจีนร่วงลง 14.1% อันเป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

เดือนก.พ.ที่ผ่านมา โตโยต้าได้ปรับลดเป้าหมายการผลิตรถยนต์ทั่วโลกสำหรับปีงบการเงินที่สิ้นสุดในเดือนมี.ค. 2566 ลงสู่ระดับ 9.1 ล้านคัน จากตัวเลขคาดการณ์เดิมที่ระดับ 9.2 ล้านคัน โดยระบุถึงผลกระทบของปัญหาขาดแคลนชิป

‘โคจิ ซาโตะ’นำทัพโตโยต้า ตะลุยตลาดรถยนต์อีวีโลก