'โซมาเลีย' เล็งจับมือ ‘ไทย’ พัฒนาอุตฯประมง ขุมทรัพย์ล้ำค่าทะเลแอฟริกา

'โซมาเลีย' เล็งจับมือ ‘ไทย’ พัฒนาอุตฯประมง  ขุมทรัพย์ล้ำค่าทะเลแอฟริกา

โซมาเลียเป็นประเทศที่มีแนวชายฝั่งยาวที่สุดในแอฟริกา หรือประมาณ 3,330 กิโลเมตร ในแต่ละปีมีพันธุ์ปลาอพยพหลายล้านตัวมายังพื้นที่แห่งนี้ ทำให้น่านน้ำของโซมาเลียเป็นแหล่งประมงที่ทำกำไรได้มากที่สุดในแอฟริกา

โซมาเลีย มีความสำคัญทางภูมิศาสตร์ในทวีปแอฟริกาที่เอื้อต่อการเชื่อมโยงเศรษฐกิจโลก ซึ่งมีอ่าวเอเดนอยู่ทางเหนือ และมหาสมุทรอินเดียอยู่ทางตะวันออกของประเทศ ขณะนี้สนใจร่วมมือกับประเทศไทย ในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเล

“ ฮัมซะฮ์  อาดัน  ฮาโดว์” ปลัดกระทรวงการต่างประเทศโซมาเลียกล่าวว่า ประธานาธิบดีฮัสซัน ชีค โมฮามุดของโซมาเลีย มีนโยบายมุ่งกระชับความสัมพันธ์ทุกประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น โดยเฉพาะประเทศไทยที่มีประสบการณ์เป็นเลิศในหลายด้าน ที่จะสามารถนำมาสนับสนุนโซมาเลีย ซึ่งกำลังต้องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเศรษฐกิจประเทศ

ขณะนี้โซมาเลียมีแผนพัฒนาไปสู่อุตสาหกรรมอาหารทะเลขนาดใหญ่ เพราะมีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลที่อุดมสมบูรณ์  และพื้นที่แนวชายฝั่งที่มีความสงบสุข

\'โซมาเลีย\' เล็งจับมือ ‘ไทย’ พัฒนาอุตฯประมง  ขุมทรัพย์ล้ำค่าทะเลแอฟริกา

“นับเป็นความโชคดีของชาวโซมาเลียที่มีความสัมพันธ์กับประเทศไทยและคนไทย ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศโซมาเลียทำงานหนักมากเพื่อให้ได้รับความไว้วางใจจากคนที่เราต้องการทำงานด้วย” ฮาโดว์กล่าว 

โซมาเลียเป็นประเทศที่มีแนวชายฝั่งยาวที่สุดในแอฟริกา หรือประมาณ 3,330 กิโลเมตร ในแต่ละปีมีพันธุ์ปลาอพยพหลายล้านตัวมายังพื้นที่แห่งนี้ ทำให้น่านน้ำของโซมาเลียเป็นแหล่งประมงที่ทำกำไรได้มากที่สุดในแอฟริกา 

ปัจจุบัน ภาคการประมงในโซมาเลียยังใช้ประโยชน์ได้ไม่เต็มศักยภาพ เพราะยังจับตาด้วยวิธีดั้งเดิม ซึ่งรายงานการศึกษาของ SATG พบว่า การจับปลาเพื่อบริโภคในครัวเรือนหนึ่งๆ มีระดับต่ำสุดในแอฟริกา หรือเพียง 0.3% ของประชากรโซมาเลียทั้งหมดที่ต่างก็พึ่งพาการประมงเป็นอาชีพหลักในการดำรงชีวิต ขณะที่อุตสาหกรรมประมงอยู่ที่ 2% ของจีดีพีประเทศ โดยมีผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทะเลอยู่ที่ 25,000 - 30,000 ตันต่อปีเท่านั้น
 

ปลาที่ชาวประมงโซมาเลียจับได้กว่า 90% ยังนำไปเพื่อบริโภคในท้องถิ่นเท่านั้น ส่วนปริมาณการส่งออกต่อปีอยู่ที่ประมาณ 15 ล้านตัน และตลาดส่งออกในปัจจุบัน ได้แก่ อิหร่าน เยเมน ประเทศในอ่าวอาหรับ เคนนา และจิบูตี 

\'โซมาเลีย\' เล็งจับมือ ‘ไทย’ พัฒนาอุตฯประมง  ขุมทรัพย์ล้ำค่าทะเลแอฟริกา

รัฐบาลโซมาเลียสนใจการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสม ทั้งการจับปลา แปรรูป และระบบจัดเก็บแช่แข็งปลามาพัฒนาอุตสาหกรรมประมงในประเทศ ตลอดจนการปรับปรุงนโยบายของรัฐบาล กฎระเบียบและคำแนะนำมาตรฐานควบคุมคุณภาพที่เหมาะสมจะช่วยให้การประมงของโซมาเลียเข้าถึงตลาดต่างประเทศได้ 

สนใจพัฒนาทำประมงแบบยั่งยืน

ไทยและโซมาเลียต่างเป็นประเทศติดทะเลและชาวบ้านที่อาศัยติดชายฝั่งมีอาชีพทำการประมงเหมือนกัน แต่พันธุ์และขนาดของปลา รวมไปถึงทรัพยากรทางทะเลอื่นๆ มีความแตกต่างกัน 

ในช่วงที่ผ่านมา เราเปิดโอกาสให้ต่างชาติที่สนใจเข้าไปลงทุนทำธุรกิจประมงในโซมาเลียได้ ส่วนใหญ่เข้ามาจับปลาและส่งกลับไปแปรรูป เช่น ผลิตภัณฑ์ทูน่ากระป๋องหรือปลาแช่แข็งแล้วนำกลับมาขายยังโซมาเลีย ในความเป็นจริงแล้ว เรามุ่งหวังให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศและเสริมสร้างทักษะอาชีพประมงแบบยั่งยืนให้คนท้องถิ่นได้รู้จักวิธีการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหาร เพื่อส่งขายภายในประเทศ ควบคู่ไปกับการรักษาสภาพแวดล้อมทางทะเล

\'โซมาเลีย\' เล็งจับมือ ‘ไทย’ พัฒนาอุตฯประมง  ขุมทรัพย์ล้ำค่าทะเลแอฟริกา

สำหรับการค้าระหว่างไทย – โซมาเลียในปี 2564 มีมูลค่าการค้ารวม 14.91 ล้านดอลลาร์ โดยไทยส่งออกสินค้าไปยังโซมาเลีย 13.50 ล้านดอลลาร์ นําเข้า 1.41 ล้านดอลลาร์ โดยสินค้าส่งออกอันดับแรกของไทยไปโซมาเลีย ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูปมูลค่า 5.43 ล้านดอลลาร์

\'โซมาเลีย\' เล็งจับมือ ‘ไทย’ พัฒนาอุตฯประมง  ขุมทรัพย์ล้ำค่าทะเลแอฟริกา

ปราบโจรสลัด คืนความสงบสู่อ่าวเอเดน 

ส่วนความกังวลต่อสถานการณ์โจรสลัดในอ่าวเอเดนที่จะกระทบต่อความเชื่อมั่นนักลงทุนต่างชาติและการขนส่งทางเรือระหว่างประเทศ ซึ่งปลัดกระทรวงการต่างประเทศโซมาเลียชี้ว่า หากตรวจสอบเหตุการณ์ย้อนหลังไปเกือบ 15 ปีก่อน จะไม่พบเหตุการณ์ในทะเลของเราแม้แต่ครั้งเดียว ดังนั้นผมเชื่อว่า นั่นเป็นเรื่องราวที่ผ่านมาแล้ว และถูกจัดการไปเรียบร้อย 

\'โซมาเลีย\' เล็งจับมือ ‘ไทย’ พัฒนาอุตฯประมง  ขุมทรัพย์ล้ำค่าทะเลแอฟริกา

“ทุกวันนี้ น่านน้ำของเราปลอดภัยมาก และขอย้ำเป็นพื้นที่หนึ่งในโลกและภูมิภาคแอฟริกาที่ปลอดภัยที่สุด โดยผมมั่นใจว่า ความมั่นใจต่อประเทศโซมาเลียเริ่มกลับมา แต่อาจไม่ได้รับการเปิดเผยและบอกต่อเท่าไรนัก” ฮาโดว์กล่าวและเสริมว่า มีหลายประเทศได้ลองเดินทางไปยังประเทศเราเพื่อพิสูจน์และหลายประเทศได้เข้าไปลงทุนในโซมาเลีย 

‘จีน’ ยืนหนึ่งอุตฯประมงโซมาเลีย

ในวันที่ 10 ก.ค.ที่ผ่านมา สมาคมประมงของจีนในประเทศดูไบได้เดินทางไปทำข้อตกลงความร่วมมือด้านทำการประมงกับโซมาเลียเพิ่มเติม ก่อนหน้านี้มีการทำข้อตกลงร่วมกันกับบริษัทจีน 15 แห่ง สิ่งนี้ยืนยันความสงบในน่านน้ำและทะเลนอกชายฝั่งของเรา

สำหรับโซมาเลียและไทยมีความสัมพันธ์ที่ดีกับจีน ซึ่งมีเป้าหมายพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจให้ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น โดยฮาโดว์มั่นใจในความสัมพันธ์ที่ยาวนาน ไม่ใช่เพิ่งเริ่มต้นเมื่อวาน จะมีส่วนสนับสนุนความร่วมมือในทุกระดับ ไม่ใช่รัฐบาลกับรัฐบาล แต่รวมถึงประชาชนกับประชาชนด้วย 

พร้อมร่วมมือกับรัฐบาลใหม่ไทย

ฮาโดว์กล่าวแสดงความยินดีกับประชาชนไทยที่กำลังจะมีรัฐบาลใหม่ เชื่อมั่นว่า นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของไทยจะเป็นผู้นำประเทศที่พาความเจริญก้าวหน้าและสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับต่างชาติ 

ในช่วงที่ผ่านมา รัฐบาลไทยและรัฐบาลโซมาเลียเป็นมิตรประเทศต่อกัน เมื่อไหร่ที่มีแผนความร่วมมือใหม่ๆ เราทั้งสองจะได้ทำงานร่วมกัน ตลอดจนช่วยเหลือกันและกันในเวทีระหว่างประเทศ และย้ำว่า โซมาเลียหวังจะได้เห็นการทำงานใหม่ๆ และมองหาแนวทางที่ได้ร่วมมือกันใกล้ชิดมากขึ้น