เตือนภัย ‘พายุสุริยะ’ จู่โจมโลก วันนี้
ทั่วโลก กำลังเผชิญภัยคุกคามจาก พายุสุริยะ อีกระลอก สหรัฐเตือน จะก่อมวลสารโคโรนาจำนวนมาก ตามแรงกระเพื่อม ส่งแผ่พลังความร้อนพุ่งเข้าสู่โลก ในระหว่างวันที่ 4 - 5 ส.ค.
องค์การบริหารมหาสมุทรและบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐ (NOAA) ประกาศเตือนว่า ในสองสามวันนี้ พายุสุริยะจะปลดปล่อยก้อนมวลสารของโคโรนา (CME) จำนวนมาก ที่มีส่วนสำคัญขับเคลื่อนเปลวสุริยะระดับกลาง นับตั้งแต่ดวงอาทิตย์ได้หันหน้าเข้าหาโลกเมื่อวันที่ 1 ส.ค.ที่ผ่านมา
อันมีส่วนสำคัญจะทำให้พื้นที่จุดดับดวงอาทิตย์ที่ AR3380 ซึ่งเคยสงบลง กลับมาปะทุขึ้นอีกครั้ง
เหตุการณ์ดังกล่าว สร้างความกังวล ทำให้เกิดพายุสุริยะที่รุนแรง ส่งผลต่อดาวเทียมเสียหาย รบกวนคลื่นวิทยุสื่อสาร และอื่นๆ
ในปัจจุบัน มีจุดดับบนดวงอาทิตย์มากถึง 9 จุด ล้วนเป็นบริเวณพื้นที่ที่หันหน้าเข้าหาโลก ซึ่งเพิ่มโอกาสการระเบิดของเปลวสุริยะขึ้นอีก
แสงแฟลร์เหล่านี้ สามารถปลดปล่อยพลาสมาและแสงอาทิตย์ไปยังอวกาศมากขึ้น และนั่นอาจก่อตัวเป็นกลุ่มก้อน CME แม้จะมีพลังงานน้อยกว่า เมื่อเปรียบเทียบเหตุการณ์พายุสุริยะครั้งก่อนๆ
แต่พายุขนาดเล็ก ก็สามารถสร้างความเสียหายได้อย่างมาก โดยเฉพาะระบบการสื่อสารไร้สาย และจีพีเอสหยุดชะงัก รวมไปถึงการสื่อสารด้านการบิน และโดรน
อย่างไรก็ตาม เที่ยวบิน การเดินเรือ และช่องทางการสื่อสารความถี่ต่ำ อาจจะเกิดปัญหาโดนพลังงานคลื่นความร้อนจากพายุสุริยะแทรกรบกวน จึงจำเป็นต้องเตรียมการรับมือไว้
ทั้งนี้ นาซาได้ใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศเอสดีโอ เฝ้าสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์อย่างใกล้ชิดตั้งแต่ ปี 2553 เพื่อรวบรวมข้อมูลเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับดวงอาทิตย์ เพื่อให้นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์พายุสุริยะในอนาคต