Goldman Sachs แจ้งเกิด '7 หุ้นซามูไร' ท้าชน '7 หุ้นนางฟ้า' ดันตลาดหุ้นญี่ปุ่น
Goldman Sachs แจ้งเกิดบริษัทญี่ปุ่น 7 แห่ง ฉายา "Seven Samurai" ซึ่งมีส่วนสำคัญดันตลาดหุ้นญี่ปุ่นพุ่งสูงขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ "Seven Samurai" ได้แก่ Screen Holdings, Advantest, Disco, Tokyo Electron, Toyota Motor, Subaru และ Mitsubishi Corp.
KEY
POINTS
- Goldman Sachs แจ้งเกิดบริษัทญี่ปุ่น 7 แห่ง ฉายา "Seven Samurai" ซึ่งมีส่วนสำคัญดันตลาดหุ้นญี่ปุ่นพุ่งสูงขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้
- "Seven Samurai" ได้แก่ Screen Holdings, Advantest, Disco, Tokyo Electron, Toyota Motor, Subaru และ Mitsubishi Corp.
- คำว่า "ซามูไร 7" ตั้งชื่อกลุ่มบริษัทนี้ตามภาพยนตร์คลาสสิกของ อากิระ คุโรซาวะ ซึ่งได้ถูกนำมาแปลงเป็นภาพยนตร์ในสหรัฐเรื่อง "The Magnificent Seven" ในปี 2559
สำนักข่าวนิเคอิ รายงานว่า โกลด์แมน แซคส์ (Goldman Sachs) ได้เลือกบริษัทญี่ปุ่น 7 แห่งที่มีบทบาทสำคัญในการยกระดับตลาดหุ้นญี่ปุ่นให้ขึ้นสู่จุดสูง โดยเรียกบริษัทเหล่านี้ว่า "Seven Samurai" ท้าชน 7 หุ้นนางฟ้า "Magnificent Seven" ของบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีในสหรัฐ โดยเน้นย้ำถึงบทบาทในการส่งเสริมตลาดหุ้นญี่ปุ่นให้คงอยู่ในระดับสูงสุดในปัจจุบัน
โดยหุ้น "Seven Samurai" ประกอบด้วย
1.บริษัท สกรีน โฮลดิ้งส์ จำกัด(Screen Holdings Co Ltd) เป็นบริษัทจากประเทศญี่ปุ่นที่ดำเนินธุรกิจหลักในการผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์การผลิตเซมิคอนดักเตอร์
2. แอดวานเทสต์ (Advantest) ผู้ผลิตเครื่องมือวัดอิเล็กทรอนิกส์ บริษัทเข้าสู่ธุรกิจการทดสอบเซมิคอนดักเตอร์ในปี พ.ศ. 2515
3.ดิสโก (Disco) ดำเนินธุรกิจหลักในการผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์การผลิตเซมิคอนดักเตอร์และเครื่องมือในการประมวลผลที่มีความแม่นยำ รวมถึงธุรกิจการบำรุงรักษาและบริการ
4.โตเกียวอิเล็คตรอน (Tokyo Electron) หรือ TEL เป็นบริษัทอิเล็กทรอนิกส์และเซมิคอนดักเตอร์ของญี่ปุ่น
5.โตโยต้า มอเตอร์ (Toyota Motor) หนึ่งในผู้ผลิตรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
6. ซูบารุ (Subaru) เป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่
7. มิตซูบิชิ (Mitsubishi Corp.) เป็นบริษัทบูรณาการที่พัฒนาและดำเนินธุรกิจในอุตสาหกรรมต่างๆ รวมถึงการเงินอุตสาหกรรม พลังงาน โลหะ เครื่องจักร เคมีภัณฑ์ สิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิต และธุรกิจด้านสิ่งแวดล้อม
คัดเลือก Seven Samurai
โดย โกลด์แมน แซคส์ ได้รับแรงบัลดานใจในการตั้งชื่อกลุ่ม "Seven Samurai" ตามภาพยนตร์คลาสสิกของ อากิระ คุโรซาวะ Akira Kurosawa ซึ่งได้ถูกนำมาแปลงเป็นภาพยนตร์ในสหรัฐเรื่อง "The Magnificent Seven" ในปี 2559
บริษัทญี่ปุ่นได้รับการคัดเลือกโดยพิจารณาจากการมีหุ้นที่มี"สภาพคล่อง" สูง ซึ่งมีผลการดำเนินงานที่ดีทั้งในปี 2567 และในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา และไม่มีรายงานผลการดำเนินงานหรือผลขาดทุนสุทธิตั้งแต่ปี 2563
สิ่งนี้เกิดขึ้นจากความพยายามของบริษัทญี่ปุ่นในการใช้เงินทุนอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ได้ช่วยกระตุ้นให้ผลประกอบการและผลงานดีขึ้น ซึ่งทำให้ดัชนีหุ้น Nikkei เข้าใกล้ระดับสูงสุดตลอดกาลในรอบ 34 ปี นับตั้งแต่ปี 1989
แม้ว่าในวันอังคารที่ผ่านมา (20 ก.พ.) ดัชนีนิกเกอิปิดตลาดภาคเช้าที่ระดับ 38,188.85 จุด ลดลง 174.76 จุด หรือ -0.46% โดยหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีและหุ้นเซมิคอนดักเตอร์บางตัวดึงตลาดร่วงลง ขณะที่นักลงทุนยังคงขายหุ้นออกมาเพื่อทำกำไรหลังดัชนีนิกเกอิแตะระดับสูงสุดในรอบ 34 ปี
นักวิเคราะห์ของ โกลด์แมน แซคส์ และ Bruce Kirk สะท้อนว่าการเติบโตของ Magnificent Seven ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2020 ในตลาดหุ้นสหรัฐเติบโตขึ้นเพราะยอดขายเป็นหลัก แต่ Seven Samurai ก็เกือบทั้งหมดมีการเติบโตเพิ่มขึ้นจากอัตราส่วนราคาต่อกำไรที่มากขึ้น
อ้างอิง nikkei