'ญี่ปุ่น' ใกล้หลุดพ้นภาวะเงินฝืด หลังตัวเลข 'เงินเฟ้อ' ส่งสัญญาณเชิงบวก

'ญี่ปุ่น' ใกล้หลุดพ้นภาวะเงินฝืด หลังตัวเลข 'เงินเฟ้อ' ส่งสัญญาณเชิงบวก

หลังจากติดอยู่ในภาวะเงินฝืดมาเป็นเวลานานกว่า 2 ทศวรรษ ในที่สุดรัฐบาลญี่ปุ่นก็เตรียมประกาศยุติภาวะดังกล่าวอย่างเป็นทางการ หลังจากสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่น โดยเฉพาะ ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ที่ปรับตัวสูงขึ้น

KEY

POINTS

  • เงินเฟ้อญี่ปุ่น เพิ่มขึ้น 2.2% ในเดือนมกราคม 2567 เมื่อเทียบกับปีก่อน
  • ญี่ปุ่นจะหลุดพ้นจากภาวะเงินฝืดที่ฉุดรั้งกิจกรรมทางเศรษฐกิจมานานกว่าสองทศวรรษ
  • รัฐบาลเตรียมประกาศชัดเจน โดยรอพิจารณาตัวชี้วัด ราคาผู้บริโภค ต้นทุนแรงงานต่อหน่วย ในวันที่ 13 มีนาคมนี้

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า รัฐบาลญี่ปุ่นกำลังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาเพื่อประกาศยุติ "ภาวะเงินฝืด" เนื่องจากตัวเลขเงินเฟ้อที่กำลังปรับตัวสูงขึ้นและไม่ได้ติดลบมาสักระยะแล้ว ซึ่งการประกาศยุติภาวะเงินฝืดครั้งนี้ถือเป็น "ก้าวสำคัญ" สำหรับเศรษฐกิจญี่ปุ่น

การประกาศครั้งนี้มีขึ้นจากสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่น โดยเฉพาะดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ที่ปรับตัวสูงขึ้น 

ขณะที่รัฐบาลญี่ปุ่นจะตัดสินใจหลังจากพิจารณาว่า การเจรจาค่าจ้างและการจัดการแรงงานประจำปีที่จะครบกำหนดในวันที่ 13 มีนาคม จะมีความแข็งแกร่งพอที่จะชดเชยการขึ้นราคาได้หรือไม่ และยังพิจารณาแนวโน้มแนวโน้มราคาด้วย

 

 

 

อย่างไรก็ตาม ยังมีประเด็นที่น่ากังวล เช่น อัตราเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับต่ำและภาระหนี้สินของรัฐบาลที่ยังสูง แต่เมื่อดูตัวเลขเงินเฟ้อของญี่ปุ่น พบว่าไม่ได้ติดลบมาสักระยะแล้ว โดยเงินเฟ้อญี่ปุ่น เพิ่มขึ้น 2.2% ในเดือนมกราคม 2567 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

แม้ว่าตอนนี้จะลดลงอยู่ที่ระดับ 2.2% ในเดือนมกราคม 2567 จาก 2.6% ในเดือนก่อนหน้า ซึ่งเป็นระดับตัวเลขต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2565

\'ญี่ปุ่น\' ใกล้หลุดพ้นภาวะเงินฝืด หลังตัวเลข \'เงินเฟ้อ\' ส่งสัญญาณเชิงบวก

 

ข้อมูลดังกล่าวสะท้อนว่า ญี่ปุ่นจะหลุดพ้นจากภาวะเงินฝืดที่ฉุดรั้งกิจกรรมทางเศรษฐกิจมานานกว่าสองทศวรรษ

เมื่อปี 2544 รัฐบาลยอมรับว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นอยู่ในภาวะเงินฝืดเป็นครั้งแรก ทำให้เป็นเวลากว่าสองทศวรรษที่ผ่านมา ญี่ปุ่นต้องดิ้นรนเพื่อทำลายวงจรอันเลวร้ายของผลกำไรของบริษัทที่ลดลง ค่าจ้างที่ตกต่ำ และการบริโภคภาคเอกชนที่อ่อนแอ

อ้างอิง reuters