เปิดประวัติ “อิบรอฮีม เราะอีซี” ผู้คร่ำหวอดวงการกฎหมาย สู่ปธน.อิหร่านสายแข็ง

เปิดประวัติ “อิบรอฮีม เราะอีซี” ผู้คร่ำหวอดวงการกฎหมาย สู่ปธน.อิหร่านสายแข็ง

เปิดเส้นทางชีวิต "อิบรอฮีม เราะอีซี" จากผู้คร่ำหวอดวงการกฎหมาย สู่การเป็นประธานาธิบดีสายเหยี่ยว และเกือบได้มีโอกาสขึ้นเป็น "ผู้นำสูงสุดของอิหร่าน" แต่เส้นทางนั้นต้องดับไป หลังเขาเสียชีวิตจากอุบัติเหตุฮอตก

เปิด ประวัติ อิบรอฮีม เราะอีซี ประธานาธิบดีอิหร่านสายเหยี่ยว วัย 63 ปี ผู้ที่ได้รับการยอมรับมาอย่างยาวนานว่า สามารถสืบทอดตำแหน่งต่อจาก “อายะตุลลอฮ์ อะลี คาเมเนอี” ผู้นำสูงสุดของอิหร่านได้

จากรายงานของสื่อทางการอิหร่านล่าสุด ระบุ เราะอีซีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุเฮลิคอปเตอร์ตกระหว่างเดินทางไปยังภูมิภาคจอลฟา จ.อาเซอร์ไบจานตะวันออก

เส้นทางการเรียน-การงาน อิบรอฮีม เราะอีซี

เราะอีซีเริ่มศึกษาที่วิทยาลัยศาสนากอม (Qom religious seminary) ในวัย 15 ปี และได้เรียนรู้วิชาต่าง ๆ จากนักวิชาการมุสลิมหลายท่านในสมัยนั้น 

ในช่วงอายุ 20 ต้น ๆ เราะอีซีได้ดำรงตำแหน่งอัยการตามเมืองต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งได้รับตำแหน่งรองอัยการในเตหะรานในเวลาต่อมา

ในปี 2526 เราะอีซีได้สมรสกับ “จามิเลห์ อลาโมโลดา“ ลูกสาวของ ”อาหมัด อะลาโมโลดา” นักวิชาการมุสลิมสายแข็งที่ทำหน้าที่เป็น “อิหม่าม” นำละหมาดทุกวันศุกร์ในเมืองมัชฮัด (Mashhad) และทั้งคู่มีลูกสาวด้วยกัน 2 คน

เราะอีซีเคยมีส่วนร่วมในคณะกรรมการที่กำกับดูแลเกี่ยวกับการประหารชีวิตนักโทษทางการเมืองหลายคดี ซึ่งการดำรงตำแหน่งในด้านนี้ทำให้เขาไม่เป็นที่พอใจต่อฝ่ายค้านอิหร่านเป็นอย่างมาก เพราะคณะกรรมการดังกล่าวมีส่วนเกี่ยวข้องกับการหายตัวไปและการประหารนักโทษทางการเมืองหลายพันคนอย่างลับ ๆ และสหรัฐได้ออกมาตรการคว่ำบาตรเราะอีซีอีกด้วย

ต่อมาในปี 2532 เขาก็ได้ดำรงตำแหน่งอัยการในเตหะราน หลังจาก “อยาตอลเลาะห์ รูฮอลเลาะห์ โคไมนี” ผู้นำสูงสุดคนแรกของอิหร่านเสียชีวิต จากนั้นหน้าที่การงานของเราะอีซีก็ไต่อันดับก้าวหน้าไปด้วยดี ภายใต้การปกครองของคาเมเนอี ผู้นำอิหร่านถัดจากโคไมนี และเป็นผู้นำสูงสุดคนปัจจุบัน 

เขายังได้ดำรงตำแหน่งประธาน Astan Quds Razavi ซึ่งเป็นองค์กรทางศาสนาที่ใหญ่ที่สุดในมัชฮัด เมื่อวันที่ 7 มี.ค. 2559 อีกด้วย

สู่ตำแหน่งประธานาธิบดีอิหร่าน

เราะอีซีลงสมัครชิงประธานาธิบดีครั้งแรกในปี 2560 แข่งกับ “ฮัสซัน รูฮานี” (Hassan Rouhani) ที่กลับมาลงสมัครสมัยที่ 2 ซึ่งอดีตปธน.คนนี้ เคยดูแลเกี่ยวกับการเจรจา “ข้อตกลงนิวเคลียร์” ของอิหร่านกับประเทศมหาอำนาจ ในปี 2558 หรือเรียกว่า “Joint Comprehensive Plan of Action (JCPOA)” และได้จำกัดการดำเนินโครงการนิวเคลียร์ เพื่อแลกกับการผ่อนปรนมาตรการคว่ำบาตร

หลังเราะอีซีแพ้การเลือกตั้งให้กับรูฮานี เขาก็เริ่มวางแผนหาเสียงเลือกตั้งชิงประธานาธิบดีสมัยต่อไป และในเดือน มิ.ย. 2564 รออีซีก็ชนะเลือกตั้งด้วยสัดส่วนคะแนน 62% แต่การเลือกตั้งมีผู้ออกมาใช้สิทธิเพียง 48.8% ของประชากรทั้งหมด หลังจากนักปฏิรูป และนักการเมืองสายกลางหลายคน ถูกขัดขวางไม่ให้ลงสมัครเลือกตั้ง

นับแต่นั้นมา ข้อตกลง JCPOA ก็ตกอยู่ในความโกลาหล หลัง “โดนัลด์ ทรัมป์” อดีตประธานาธิบดีสหรัฐ ถอนสหรัฐออกจากข้อตกลงดังกล่าว และบังคับใช้มาตรการคว่ำบาตรต่ออิหร่านอีกครั้ง ทำให้เศรษฐกิจอิหร่านได้รับผลกระทบหลายด้าน

คอนเนกชั่นเราะอีซี

เราะอีซีถือเป็นบุคคลที่เป็นที่นับถือมากในวงการทางศาสนา และเขาก็มีความสัมพันธ์อันดีต่อโคไมนี ผู้นำสูงสุดของอิหร่านคนก่อน รวมถึงคาเมเนอี ผู้นำสูงสุดของอิหร่านคนปัจจุบัน ที่แต่งตั้งเขาให้ได้รับตำแหน่งอาวุโสหลายตำแหน่งในการเมือง

นอกจากนี้ เราะอีซียังเป็นผู้ที่สามารถรักษาความสัมพันธ์อันดีต่อรัฐบาล กองทัพ และฝ่ายนิติบัญติในทุก ๆ ฝ่าย รวมถึงชนชั้นการปกครองต่าง ๆ ตามระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยที่ทรงอำนาจของอิหร่าน

อย่างไรก็ตาม เขายังคงเป็นผู้นำที่ประชาชนไม่พอใจนัก เนื่องจากปัญหามาตรฐานค่าครองชีพที่ตกต่ำลง ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการคว่ำบาตร และการให้ความสำคัญกับการป้องกันประเทศมากกว่าปัญหาในประเทศ

ปลายปี 2565 ความโกรธของประชาชนปะทุรุนแรงขึ้น หลัง “มาห์ซา อามินี” หญิงชาวอิหร่านวัย 22 ปี ที่ต่อต้านการสวมฮิญาบ เสียชีวิตหลังจากถูกตำรวจศีลธรรมควบคุมตัวข้อหาสวมฮิญาบไม่ถูกต้อง

ประชาชนออกมาประท้วงในอิหร่านเป็นเวลาหลายเดือน โดยมีกลุ่มผู้หญิงจำนวนมากออกมาถอดฮิญาบ เผาฮิญาบ และตัดผมเพื่อประท้วงความไม่เป็นธรรม

ตามข้อมูลขององค์กรเพื่อสิทธิมนุษยชน ระบุว่า การชุมนุมดังกล่าวสิ้นสุดในช่วงกลางปี 2566 หลัง มีประชากรราว 500 ถูกสังหารเมื่อกองกำลังรักษาความปลอดภัยเข้าปราบปรามการชุมนุม และมีคนถูกประหาร 7 ราย จากข้อหาก่อความไม่สงบ

ด้านสหประชาชาติ (ยูเอ็น) สรุปไว้ในเดือน มี.ค. ปีนี้ว่า อิหร่านก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติจากการปราบปราม รวมถึงการสังหาร การทรมาน และการข่มขืน

ผู้นำที่พร้อมปะทะ

เราะอีซี เป็นผู้นำที่ไม่เคยหลบเลี่ยงการเผชิญหน้ากับนานาชาติ

ด้วยความไม่พอใจต่อที่สหรัฐถอนตัวออกจากข้อตกลง JCPOA และผู้ลงนามรายอื่นก็ไม่สามารถรักษาสัญญาในข้อตกลงดังกล่าวได้ ผู้นำสายแข็งคนนี้ จึงประกาศเดินหน้าโครงการนิวเคลียร์ต่อไป แต่ไม่ได้สนใจเกี่ยวกับการทำระเบิด 

เมื่อไม่นานมานี้ เราะอีซีได้พาอิหร่านเข้าสู่ความขัดแย้งกับอิสราเอล และเกิดการปะทะระหว่างสองประเทศ เนื่องจากความไม่พอใจต่อการบุกกาซาอย่างไม่หยุดยั้งของอิสราเอล ซึ่งตอนนี้สงครามดังกล่าวดำเนินมานาน 8 เดือนแล้ว

โดยอิหร่านออกมาประณามการโจมตีประชาชนชาวปาเลสไตน์อย่างโหดร้ายของอิสราเอล เช่นเดียวกับพันธมิตรในภูมิภาค หรือที่เรียกว่า “แก่นแห่งความขัดขืน” (axis of resistance) ที่ออกมาประณามอิสราเอลและพันธมิตรชาติตะวันตก

นอกจากนี้ ยังเกิดเหตุโจมตีสถานกงสุลอิหร่านในกรุงดามัสกัส ประเทศซีเรีย ช่วงต้นเดือน เม.ย. ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 7 ราย รวมถึงผู้บัญชาการหน่วยรบพิเศษคุดส์ และรองผู้บัญชาการหน่วยรบเดียวกัน ซึ่งอิหร่านโทษว่าเป็นฝีมือของอิสราเอล

จากนั้นในวันที่ 15 เม.ย. อิหร่านโต้กลับอิสราเอลด้วยการยิงขีปนาวุธ โดย “แดเนียล ฮาการี” โฆษกกองทัพอิสราเอล เผยว่า อิสราเอลได้สกัดกั้นขีปนาวุธนอกชายแดนมากกว่า 120 ลูก รวมถึงโดรน 170 ลำ และขีปนาวุธร่อนมากกว่า 30 ลูก และเกิดความเสียหายในบางพื้นที่ของอิสราเอล

ทั้งนี้ จากการออกนโยบายต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง และการต้องเผชิญหน้าความขัดแย้งทั้งในและต่างประเทศ เราะอีซีได้พิสูจน์แล้วว่าเขาเป็น “ประธานาธิบดีแห่งความขัดแย้ง”

อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์อันแข็งกร้าวต่อสถาบันอิสราเอลในทุกระดับนั้น ทำให้เราะอีซียังคงเป็นคู่แข่งศึกชิงประธานาธิบดีสมัยที่สองที่แข็งแกร่ง และมีความเป็นไปได้ว่า อาจได้ครองตำแหน่งสูงสุดของแผ่นดิน หรือเป็น “ผู้นำสูงสุดของอิหร่าน

 

 

 

อ้างอิง: Al Jazeera