‘วอร์เรน บัฟเฟตต์’ วางแผนหลังตาย ซ่อนประโยชน์มูลนิธิประจำตระกูล

‘วอร์เรน บัฟเฟตต์’ วางแผนหลังตาย ซ่อนประโยชน์มูลนิธิประจำตระกูล

ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่งคั่งที่ไม่เท่าเทียมชี้ “วอร์เรน บัฟเฟตต์” วางแผนหลังการตาย บริจาคเงินเข้ามูลนิธิที่ดูแลโดยลูกๆ ของเขา หวังเลี่ยงภาษี และสร้างภาพให้เป็น “ผู้ใจบุญ”

KEY

POINTS

Key Pionts 

  • ทรัพย์สินของ วอร์เรน บัฟเฟตต์ ถูกบริจาค ให้กับมูลนิธิที่ดูแลโดยลูกๆ ของเขาทั้งสามคน หลังบัฟเฟตต์เสียชีวิตแล้ว
  • ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่งคั่งที่ไม่เท่าเทียมมองว่า บัฟเฟตต์ กำลังหลีกเลี่ยงเสียภาษี โดยการบริจาคทรัพย์สินของตนเองเข้ามูลนิธิฯ 
  • สิ่งนี้ กำลังบิดเบือนหลักการประชาธิปไตยในสหรัฐ

วอร์เรน บัฟเฟตต์ มหาเศรษฐีนักลงทุนวัย 94 ปี ผู้ใช้ชีวิตเรียบง่าย และพยายามหลีกเลี่ยงเข้าไปยุ่งเกี่ยวการเมือง ซึ่งตอนนี้เขาได้บริจาคเงินมากกว่าครึ่งหนึ่งของทรัพย์สินที่มีอยู่ทั้งหมดผ่านการกุศล ให้กับมูลนิธิทั้ง 4 แห่ง ซึ่งคนในตระกูลบัฟเฟตต์ดูแลอยู่ อีกทั้งสัญญาว่าส่วนที่เหลือจะบริจาคตามมา

“บัฟเฟตต์ ผู้บริหารบริษัทเบิร์กเชียร์ แฮร์ธาเวย์ จัดการเรื่องภาษี และวางแผนให้ลูกๆ ของเขาใช้อิทธิพลมหาศาลหลังที่บัฟเฟตต์จากไปแล้ว” ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคั่งที่ไม่เท่าเทียมกล่าวกับเว็บไซต์บิสสิเนส อินไซเดอร์

คลักซ์ คอลลิน ผู้อำนวยการโครงการความไม่เท่าเทียมของสถาบันนโยบายศึกษาของสหรัฐ และเป็นผู้เขียนหนังสือ “The Wealth Hoarders: How Billionaires Spend Millions to Hide Trillions” ได้ตั้งคำถามว่า ทำไมทรัพย์สินมูลค่า 1 แสนล้านดอลลาร์ถึงเป็นอันตราย แม้แต่บัฟเฟตต์ก็ไม่อาจหลุดพ้นจากความรับผิดชอบนี้

ปัจจุบันมีมหาเศรษฐีนับสิบคนที่มีทรัพย์สินมากกว่า 1 แสนล้านดอลลาร์ แล้วคุณจะจัดการกับเรื่องนี้อย่างไร

การรวมศูนย์ความมั่งคั่งสะท้อนความล้มเหลวของระบบ ซึ่งระบบสังคมทุนนิยมและประชาธิปไตยที่ควรจะเป็น ต้องหยุดการรวมศูนย์ความมั่งคั่งและอำนาจ เพื่อป้องกันการบิดเบือนหลักการประชาธิปไตย

นโยบายด้านภาษี ค่าจ้าง และอื่นๆ ได้ส่งเสริมให้ความมั่งคั่งไหลไปสู่กลุ่มคนระดับสูง แทนที่จะกระจายความมั่งคั่งไปยังประชาชนส่วนใหญ่ ผ่านค่าจ้างที่สูงขึ้น หรือการจ่ายภาษีตามสัดส่วนที่ยุติธรรม

คุณคิดอย่างไรกับ วอร์เรน บัฟเฟตต์ ผู้ใช้ชีวิตเรียบง่าย และประกาศบริจาคทรัพย์สินทั้งหมดของเขา

บัฟเฟตต์ไม่ใช่คนประเภทบริโภคสินค้าที่อวดสถานะความร่ำรวย (conspicuous consumer) แม้แต่เครื่องบินเจ็ทส่วนตัวของเขายังตั้งชื่อ “Indefensible”

ส่วนตัวแล้ว บัฟเฟตต์ไม่ค่อยใช้อิทธิพลอำนาจที่แข็งกร้าวในที่สาธารณะ ดังนั้นคุณจึงไม่ค่อยเห็นบัฟเฟตต์อยู่ในลิสต์รายชื่อผู้บริจาคเงินรายใหญ่ทางการเมือง ซึ่งบัฟเฟตต์และบิล เกตส์ ได้ริเริ่มโครงการ The Giving Pledge หรือสัญญาว่าจะให้ เพื่อกระตุ้นให้มหาเศรษฐีคนอื่นๆ ได้บริจาคทรัพย์สินส่วนใหญ่ของตนเองเพื่อการกุศล

“หากแต่ทรัพย์สินส่วนใหญ่ของบัฟเฟตต์ บริจาคให้กับมูลนิธิของครอบครัวที่ได้รับการยกเว้นภาษี ซึ่งดูแลโดยลูกๆทั้งสามของเขา แทนที่จะต้องเสียภาษีมรดก หรือภาษีจากการทำกำไร” คอลลินกล่าวว่า

หากมองบวก บัฟเฟตต์ไม่ได้สร้างอาณาจักรแห่งความมั่งคั่ง แต่การที่เขาได้สิทธิประโยชน์จากการยกเว้นภาษี จะทำให้ลูกๆของเขาเป็นผู้ใจบุญ หลังที่บัฟเฟตต์เสียชีวิตแล้ว

ตอนนี้คุณจะเห็นว่า บัฟเฟตต์ได้มอบหุ้นเบิร์กเชียร์มูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ให้กับมูลนิธิการกุศลที่ดูแลโดยลูกๆของเขา และบัฟเฟตต์ยังตั้งใจจะมอบทรัพย์สินที่เหลือเกือบทั้งหมด 140,000 ล้านดอลลาร์ให้กับมูลนิธิของเขาอีก โดยเมื่อเขาเสียชีวิตแล้ว ลูกๆทั้งสามจะเป็นผู้ดูแลทรัพย์สินตามที่ได้รับการเสนอชื่อ และจะตกลงกันว่าเงินจำนวนนี้จะถูกนำไปใช้อย่างไร

คุณจะจัดการปัญหาความมั่งคั่งที่ไม่เท่าเทียม ในระดับมหาเศรษฐีที่มีทรัพย์สินรวมมากกว่าแสนล้านดอลลาร์อย่างไร

สิ่งที่ควรเกิดขึ้นในสังคม ควรปรับใช้นโยบายสาธารณะหลายด้าน เพื่อป้องกันการรวมสูงความมั่งคั่งที่บิดเบือนหลักการประชาธิปไตย โดยคอลลินแนะนำว่า

1. ปรับปรุงมาตรการจ่ายภาษีความมั่งคั่งรายปีแบบก้าวหน้า  ตามอัตราที่สูงขึ้นตามมูลค่าความมั่งคั่งเกิน 1 พันล้านดอลลาร์

2. มาตรการจ่ายเงินภาษีมรดก โดยจัดเก็บภาษีจากการโอนทรัพย์สินเมื่อเสียชีวิต หากต้องการให้ภาษีนี้มีประสิทธิภาพขึ้น รัฐต้องปราบปรามผู้ซ่อนประโยชน์จากทรัพย์จำนวนมหาศาล

3. กำหนดเพดานการหักลดหย่อนภาษีเพื่อการกุศล ทั้งนี้เพื่อไม่ให้คนรวย อย่างบัฟเฟตต์เลือกไม่จ่ายภาษีทั้งหมด

ก่อนหน้านี้สำนักข่าวเอพีรายงานว่า บัฟเฟตต์ได้ยื่นเอกสารต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์สหรัฐ (SEC) เมื่อเดือน พ.ย. 2565 ระบุว่า บัฟเฟตต์ได้มอบหุ้นคลาส B จำนวน 1.5 ล้านหุ้น ในกลุ่มบริษัทโอมาฮา ให้กับ มูลนิธิซูซาน ทอมป์สัน บัฟเฟตต์ ซึ่งตั้งตามชื่อภรรยาคนแรก

นอกจากนี้ยังมอบหุ้นคลาส B จำนวน 3 แสนหุ้น ให้กับมูลนิธิอีกสามแห่งที่ดำเนินการโดยลูกๆของบัฟเฟตต์ ได้แก่ มูลนิธิเชอร์วู้ด มูลนิธิฮาร์วาด จี.บัฟเฟตต์ และมูลนิธิโนโว ซึ่งการบริจาคครั้งนี้นับเป็นครั้งใหญ่แรกตั้งแต่ได้ทำการบริจาค โดยก่อนหน้าเมื่อเดือน มิ.ย.ปีเดียวกัน บัฟเฟตต์ ได้มอบหุ้นคลาส B จำนวน 11 ล้านหุ้น ให้กับ มูลนิธิเกตส์ และได้มอบหุ้นคลาส B อีก 11 ล้านหุ้นให้มูลนิธิซูซาน ทอมป์สัน และบริจาคอีก 770,218 หุ้นให้กับมูลนิธิของลูกๆ เขาทั้งสามคน

 

 

อ้างอิง : BusinessInsider , AP