กูรูชี้ เฟดดึงนักลงทุนกลับสู่ความเป็นจริง การเทขายหุ้นเป็นเรื่อง “ดี"
กูรูการเงินจากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียมอง การเทขายหุ้นในวอลล์สตรีทนั้นเป็นเรื่อง “ดี” ต่อตลาด เนื่องจากการคาดการณ์อย่างระมัดระวังของธนาคารกลางสหรัฐเกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในอนาคตทำให้ผู้นักลงทุน “มองเห็น ความเป็นจริง”
ซีเอ็นบีซีรายงานวันนี้ (19 ธ.ค.) ว่า เมื่อคืนตามเวลาในไทย ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25 %ในการประชุมครั้งสุดท้ายของปีนี้ ทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ข้ามคืนอยู่ที่ระดับเป้าหมาย 4.25- 4.5% ในขณะเดียวกัน คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ ระบุว่าธนาคารกลางน่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีกเพียง 2 ครั้งในปี 2025 (2568) ซึ่ง น้อยกว่าการปรับลด 4 ครั้งจากการคาดการณ์เมื่อเดือน กันยายน
ดัชนีหลักทั้งสามของวอลล์สตรีทร่วงลงแรง เพราะนักลงทุน กังวลกับแนวโน้นใหม่ของดอกเบี้ยเฟด เนื่องจากเดิมนัก ลงทุนต่างเดิมพันว่าธนาคารกลางจะเดินหน้าลดดอกเบี้ยลง อย่างรวดเร็วเพื่อลดต้นทุนการกู้ยืม “ตลาดอยู่ในสถานการณ์ที่วิ่งขึ้นจนแทบจะหยุดไม่ได้ และนี่ เป็นการดึงพวกเขากลับสู่ความเป็นจริงว่า เราจะไม่ได้เห็น อัตราดอกเบี้ยต่ำอย่างที่นักลงทุนคาดหวังเมื่อเฟดเริ่มผ่อน ปรนนโยบายการเงิน” เจเรมี ซีเกล ศาสตราจารย์ กิตติคุณด้านการเงินของวิทยาลัยธุรกิจวอร์ตันแห่งมหาวิทยา ลัยเพนซิลเวเนียกล่าวกับซีเอ็นบีซี
“ตลาดคาดหวังมากเกินไป ดังนั้นผมจึงไม่แปลกใจกับการ เทขายออก” ซีเกลกล่าว พร้อมเสริมว่าเขาคาดว่าเฟดจะชะลอ การลดอัตราดอกเบี้ยลงในปีหน้าโดยจะลดเพียง 1 หรือ 2 ครั้งเท่านั้น
เขากล่าวว่ายังมี “โอกาสที่จะไม่ลดอัตราดอกเบี้ยด้วย” ในปีหน้า เนื่องจากคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ได้เพิ่มการคาดการณ์เงินเฟ้อในอนาคต
การคาดการณ์ใหม่ของเฟดชี้ว่าดัชนีราคารายจ่ายเพื่อการ บริโภคส่วนบุคคล (PCE) ที่ไม่รวมค่าอาหารและพลังงาน หรือ เงินเฟ้อพื้นฐาน (Core PCE) จะยังคงอยู่ที่ 2.5% จนถึง ปี 2025 ซึ่งยังคงสูงกว่าเงินเฟ้อเป้าหมาย 2% ของธนาคาร กลางอย่างมีนัยสำคัญ
ซีเกลแนะนำว่าคณะกรรมการ FOMC บางคนอาจคำนึงถึง ผลกระทบด้านเงินเฟ้อจากภาษีศุลกากรใหม่ที่ ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีได้ให้คำมั่นว่าจะจัดเก็บ ภาษีศุลกากรเพิ่มเติมกับจีน แคนาดา และเม็กซิโกในวันแรก ของการเข้ารับตำแหน่ง แต่อัตราภาษีศุลกากรจริงอาจไม่ “สูงเท่าที่ตลาดกังวล” ซีเกลกล่าว เนื่องจากทรัมป์น่าจะพยายามหลีกเลี่ยงผลกระทบทางลบต่อตลาดหุ้น
เครื่องมือติดตามเฟด FedWatch ของ CME สะท้อนว่า ผู้ค้าในตลาดเชื่อว่าเฟดจะไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยจนกว่าจะถึง การประชุมในเดือนมิถุนายน โดยมีโอกาส 43.7% ที่จะปรับ ลด 0.25 %ในเวลานั้น
มาร์ก จิอันโนนี หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ประจำสหรัฐ ของ ธนาคาร Barclays ยังคงคาดการณ์ของธนาคารว่าเฟดจะ ปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25 %เพียง 2 ครั้งในปีหน้า ในเดือน มีนาคมและมิถุนายนโดยได้คำนึงถึงผลกระทบจากการขึ้นภาษีศุลกากรแล้ว
จิอันโนนีกล่าวว่าเขาคาดว่าคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) จะกลับมาปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมอีก ครั้งในช่วงกลางปี 2026 (2569) หลังจากแรงกดดันเงินเฟ้อ จากภาษีศุลกากรซาลง
ข้อมูลที่เผยแพร่เมื่อต้นสัปดาห์นี้แสดงให้เห็นว่าอัตราเงินเฟ้อ ของสหรัฐ เพิ่มขึ้นในอัตราต่อปีสูงขึ้นในเดือนพฤศจิกายน โดยดัชนีราคาผู้บริโภค CPI 12 เดือนสูงขึ้น 2.7% และเพิ่ม ขึ้น 0.3% จากเดือนก่อนหน้า หากไม่นับรวมราคาอาหารและ พลังงานที่ผันผวน ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI)เพิ่มขึ้น 3.3% เมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายนปีก่อน
“ทุกคน รวมทั้งเฟดต่างก็รับรู้และประหลาดใจว่าเมื่อดูจาก อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่สูงเทียบกับอัตราเงินเฟ้อแล้ว เศรษฐกิจยังคงแข็งแกร่งได้เช่นนี้” ซีเกลกล่าวเสริม
เฟดได้เข้าสู่ช่วงใหม่ของนโยบายการเงิน ซึ่งก็คือช่วงหยุดพัก แจ็ก แมคอินไทร์ ผู้จัดการพอร์ตโฟลิโอของบริษัทที่ปรึกษา การลงทุน Brandywine Global กล่าว พร้อมเสริมว่า “ยิ่ง ช่วงดังกล่าวดำเนินไปนานเท่าใด ตลาดก็ยิ่งมีแนวโน้มที่จะ ประเมินโอกาส การปรับขึ้นหรือปรับลดอัตราดอกเบี้ยเท่าๆ กัน มากขึ้นเท่านั้น”
“ความไม่แน่นอนของนโยบายจะทำให้ตลาดการเงินผันผวน มากขึ้นในปี 2025” เขากล่าวเสริม