เร่งพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง

เร่งพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง

6 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขง เร่งพัฒนาเศรษฐกิจ ยกระดับคุณภาพชีวิตรับเออีซี

"อาคม" เผยผลประชุม GMS 6 ประเทศลุ่มน้ำโขง เร่งพัฒนาเศรษฐกิจ โครงสร้างพื้นฐาน ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน รับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หนุนแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระยะ 10 ปี

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่าเมื่อเร็วๆนี้ ได้มีการประชุมระดับรัฐมนตรี 6 ประเทศลุ่มแม่น้าโขง (Greater Mekong Subregion :GMS) ณ นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งตนได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยแทนนายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีประจำแผนงาน GMS ของไทย เนื่องจากติดภารกิจ

โดยเรื่องหลักที่มีการหารือกัน คือ การรับรองให้ความเห็นชอบกรอบแผนการลงทุนในระยะ 10 ปีข้างหน้า ซึ่งเป็นกรอบแผนการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน เนื่องจากประเทศลุ่มแม่น้ำโขง ในหลายๆ ประเทศยังคงให้ความสาคัญเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งประเทศไทยมีส่วนร่วมในแผนงาน ด้านคมนาคมมากที่สุด

โดยเน้นพัฒนาทางหลวงเชื่อมสู่ชายแดน เช่น ทางหลวงมอเตอร์เวย์ บางใหญ่-กาญจนบุรี เป็นต้น หรือการเชื่อมกับประเทศกัมพูชาที่อรัญประเทศ-ปอยเปต โดยทางรถไฟ การพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่งเป็นท่าเรือที่ประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เวียดนาม สปป.ลาว และกัมพูชา ใช้เป็นประตูทางออกของสินค้าสู่ประเทศต่างๆในอาเซียน

@ ดันตั้งสมาคมรถไฟแม่น้ำโขง

นอกจากนี้ ที่ประชุมเห็นชอบ ที่จะทำงานร่วมกันในหลายด้าน คือ 1. การตั้งสมาคมการรถไฟของประเทศลุ่มแม่น้ำโขง (The Greater Mekong Railway Association : GMRA) เพื่อดูแลเรื่องมาตรฐานรถไฟระหว่างประเทศ โดยเฉพาะทางด้านเทคนิคเกี่ยวกับระบบรางและการผ่านแดน เพื่อให้เป็นระบบเดียวกัน หรือสามารถเชื่อมต่อกันได้แม้เป็นคนละระบบ เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนารถไฟในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง และเป็นศูนย์รวมของการหารือเรื่องเทคนิค ระบบ และการลงทุน ซึ่งในอนาคตมีเส้นทางที่กำหนดไว้คือ เส้นทางรถไฟจากคุนหมิงลงไปที่หลวงพระบาง เวียงจันทร์ เชื่อมต่อรถไฟของไทยที่จังหวัดหนองคาย

ส่วนเส้นทางที่เชื่อมระหว่างคุนหมิงมาที่จังหวัดเชียงรายนั้น ยังต้องหารือกันต่อไป โดยเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่จะเชื่อมต่อประเทศจีน นอกจากนั้นจะมีเส้นทางรถไฟเชื่อมระหว่างกรุงเทพฯ - อรัญประเทศ ไปที่พนมเปญ แล้วเชื่อมไปที่โฮจิมิน สู่ฮานอย เวียดนาม ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องตั้งสมาคมเป็นเวทีในการตกลงร่วมกัน

@ เร่งศูนย์ประสานซื้อ-ขายไฟฟ้า

2. ศูนย์ประสานงานการซื้อขายไฟฟ้าระหว่างประเทศสมาชิกในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (The Establishment of the Regional Power Coordination Center : RPCC) เนื่องจากในลุ่มแม่น้ำโขง มีประเทศที่ผลิตไฟฟ้าจาหน่าย เช่น สปป.ลาว ซึ่งมีการลงทุนในการพัฒนาเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำหลายเขื่อน โดยมีไทย เวียดนาม และจีนเป็นผู้ซื้อ ในอนาคต สปป.ลาว จึงอาจจะเป็นต้นทางเรื่องสายส่งไฟฟ้าที่จะทาให้ถึงกันหมด โดยขณะนี้สามารถเชื่อมได้เกือบทั้งหมดแล้ว เพียงแต่ต้องมีศูนย์ประสานการซื้อขายไฟฟ้าและแลกเปลี่ยนข้อมูลการตกลงซื้อขายไฟฟ้า ซึ่งจะมีความต่างกัน เช่น ราคาในช่วงที่ใช้ไฟน้อยกับราคาในช่วงที่ใช้ไฟมาก ควรจะตกลงกันที่ราคาใด โดยขณะนี้เป็นเพียงการตกลงร่วมกัน ยังไม่เริ่มดำเนินการ แต่อย่างใด

นายอาคมยังกล่าวถึงการเปิดสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 4 ที่อำเภอเชียงของ จ.เชียงราย เชื่อมกับเมืองห้วยทรายของ สปป.ลาว ที่มีการเปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อเดือน ธ.ค.ที่ผ่านมาว่า สะพานดังกล่าว ช่วยให้การคมนาคมขนส่งทางบกมีความสมบูรณ์ขึ้น โดยเชื่อมต่อระเบียงเศรษฐกิจเหนือ -ใต้ ซึ่งแต่เดิมนั้นการเดินทางโดยรถยนต์ ที่ผ่านจุดนี้ จะต้องลงแพขนานยนต์ที่แม่น้าโขง เมื่อมีสะพานนี้จึงข้ามสะพานได้อย่างสะดวกสบายมากขึ้น

นอกจากจะมีประโยชน์ในเรื่องของการขนส่งสินค้า ในอนาคตเราจะเห็นนักท่องเที่ยวจากจีนเข้ามาเที่ยวไทยมากขึ้น โดยการเดินทางทางบกเข้ามาแบบครอบครัว หรือแบบคาราวาน ขับรถเข้ามาเที่ยวทางภาคเหนือของไทยมากขึ้น หลังจากในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา มีนักท่องเที่ยวชาวจีนเพิ่มขึ้นถึงปีละ 1 ล้านคนโดยส่วนหนึ่งมาจากแพ็คเกจทัวร์ที่เดินทางมากรุงเทพฯ เชียงใหม่ หรือภูเก็ต

@ ชูยุทธศาสตร์ 3C ยกระดับชีวิต

นอกจากนั้นในการประชุม GMS ครั้งล่าสุดยังมีการหารือเรื่องการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ซึ่งรวมเรียกว่ายุทธศาสตร์ 3C ของลุ่มแม่น้ำโขง ประกอบด้วยเรื่อง การสร้างความเชื่อมโยง (connectivity), การสร้างความสามารถในการแข่งขัน (competitiveness) และ การรวมกลุ่ม (community) เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน โดยอาศัยวัตถุดิบร่วมกัน ผลิตสินค้าอย่างง่าย และผลิตสินค้าไฮเทค โดยประเทศไทยต้องมุ่งไปที่การผลิตสินค้าเทคโนโลยี โดยใช้เทคโนโลยีและการออกแบบมากขึ้น ส่วนสินค้า ที่เราเคยได้เปรียบในเรื่องของต้นทุนแรงงานอาจจะต้องมีการขยายฐานการผลิตไปในประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อทาให้ต้นทุนถูกที่สุด

ทั้งนี้การที่จะได้ต้นทุนถูกที่สุด นอกเหนือจากการเชื่อมโยงด้านการผลิตสินค้าแล้ว ต้องเชื่อมต่อในเรื่องของกฎระเบียบต่างๆ ที่จะให้สินค้าสามารถผ่านประเทศได้อย่างรวดเร็ว ทาให้ลดระยะเวลาการขนส่ง การเชื่อมโยงอีกเรื่องหนึ่งคือ สังคมและวัฒนธรรม ซึ่งสามารถพัฒนาไปสู่การค้า (commercial) ได้ โดยโยงไปสู่เรื่องการท่องเที่ยวในภูมิภาคลุ่มแม่น้าโขงหรือประเทศต่างๆในอาเซียน ซึ่งเป็นเรื่องที่ประเทศต่างๆต้องผลักดันร่วมกันต่อไป

ก่อนหน้านี้ได้มีการวางแนวทางการดำเนินงานภายใต้กรอบ GMS ประกอบด้วย 1. โครงการพัฒนาภายใต้กรอบความร่วมมือ GMS ในปัจจุบันส่วนใหญ่เน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนน ไฟฟ้า ประปา และสะพานข้ามแม่น้ำโขงตามแนวพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจที่สำคัญ 3 แนว คือ แนวเหนือ-ใต้ (North-South Economic Corridors), แนวตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor) และแนวใต้ (Southern Economic Corridor)

ขณะที่ ADB ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนหลักด้านเงินทุนและวิชาการของ GMS โดยการจัดทำโครงการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ อำนวยความสะดวกการค้าและการขนส่ง โดยเน้นการสร้างความเข้มแข็งด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (SPS) การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ระดับประเทศและอนุภูมิภาค GMS เพื่อลดอุปสรรคทางด้านกฎระเบียบ และต้นทุนด้านค่าใช้จ่ายและเวลา การจัดตั้งองค์กร/สถาบันผู้เชี่ยวชาญในการสนับสนุนการอำนวยความสะดวกด้านการขนส่งและการค้า การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันในอนุภูมิภาค

ขณะที่แนวพื้นที่เศรษฐกิจ (Economic Corridor) ใน GMS แบ่งออกเป็น 3 แนว ได้แก่ แนวพื้นที่เศรษฐกิจตะวันออก - ตะวันตก (East West Economic Corridor: EWEC), แนวพื้นที่เศรษฐกิจเหนือ - ใต้ (North South Economic Corridor: NSEC) และแนวพื้นที่เศรษฐกิจตอนใต้ (Southern Economic Corridor)