ฟิลิปปินส์-อินโดฯจ่อผ่อนปรนคุมเข้มโควิด
ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย เตรียมผ่อนปรนมาตรการคุมเข้มโควิด-19 เพื่อป้องกันการระบาด แม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในสองประเทศนี้ยังไม่สามารถเรียกได้ว่าปลอดภัย
เมื่อวันที่ 19 ส.ค.ว่า “แฮร์รี โรก” โฆษกประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ แถลงว่า ประธานาธิบดีโรดริโก ดูเตร์เต แห่งฟิลิปปินส์อนุมัติคำสั่งผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ในเขตพื้นที่กรุงมะนิลา ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 21-31 ส.ค.เป็นต้นไป
อ่านข่าว-ด่วน! ยอด โควิด-19 วันนี้ ติดเชื้อเพิ่ม 14,176 ราย ตาย 228 ราย พบ ATK อีก 2,372 ราย
ขณะนี้ฟิลิปปินส์กำลังต่อสู้กับการแพร่ระบาดระลอกใหม่ของไวรัสโควิด-19 ทำให้มีผู้ป่วยติดเชื้อและเสียชีวิตเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งเพราะไวรัสสายพันธุ์เดลตา ทำให้ระบบสาธารณสุขและบุคลากรทางการแพทย์ต้องทำงานอย่างหนัก
แต่ทางการฟิลิปปินส์คาดการณ์ว่าจะเริ่มผ่อนคลายมาตรการคุมเข้มต่างๆเพื่อควบคุมการระบาดของโรคโควิด-19ตั้งแต่วันพุธ(8ก.ย.)เป็นต้นไปเมื่ออนุญาตให้ธุรกิจกลับมาดำเนินการได้อีกครั้ง แม้ว่าจะมีผู้ป่วยโควิด-19รายวันเพิ่มขึ้นและมีอัตราผู้ติดเชื้่อจากการตรวจโรคเกือบ 30%
ฟิลิปปินส์ รายงานพบผู้ป่วยโควิดในวันจันทร์(6ก.ย.)สูงสุดเป็นประวัติการณ์ 22,415 ราย มีอัตราการตรวจเชื้อเป็นบวก 28.8 % และมีรายงานผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ขั้นต่ำจำนวนกว่า 103 ราย ส่งผลให้จำนวนผู้เสียชีวิตสะสมรวมแล้วกว่า 35,000 ราย
จำนวนผู้ติดเชื้อโควิดที่เพิ่มขึ้นทั่วฟิลิปปินส์ทำให้โรงพยาบาลหลายแห่งมีเตียงไม่เพียงพอต่อการรับผู้ป่วย ทำให้ต้องมีการใช้โบสถ์ทำเป็นโรงพยาบาลสนามชั่วคราว เพื่อระบายความแออัดของคนไข้
ขณะที่เจ้าหน้าที่จำนวนมาก มีความเห็นว่ามาตรการคุมเข้มด้านต่างๆส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้ผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ(จีดีพี)ร่วงลงต่ำสุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่2และจีดีพีหดตัวติดต่อกัน5ไตรมาส
สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า ในช่วงไม่กี่เดือนมานี้ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กลายเป็นศูนย์กลางการระบาดของโรคโควิด-19 สายพันธุ์เดลตา สวนทางกับสถานการณ์เมื่อปีที่แล้วที่มีการควบคุมการระบาดได้ดีกว่าภูมิภาคอื่นๆ
แม้พื้นที่ส่วนใหญ่ในภูมิภาคนี้ยังคงมียอดผู้ติดเชื้อพุ่งขึ้นสูง แต่อินโดนีเซียและไทย ซึ่งเป็นสองประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในภูมิภาค กลับเริ่มผ่อนคลายมาตรการควบคุมการนั่งรับประทานอาหารในร้านและห้างสรรพสินค้าเพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบด้านเศรษฐกิจ
ขณะนี้ อินโดนีเซียมียอดผู้ติดเชื้อใหม่ 10,534 ราย ซึ่งเป็นจำนวนต่ำกว่ายอดผู้ติดเชื้อช่วงกลางเดือนก.ค.ถึงห้าเท่า ในขณะที่ไทยมียอดผู้ติดเชื้อใหม่ 14,802 ราย เมื่อวันพุธ ซึ่งเป็นจำนวนที่ต่ำกว่าช่วงที่มียอดผู้ติดเชื้อสูงสุดเมื่อกลางเดือนส.ค. ประมาณ 37%
“อภิเชค ริมาล” ผู้ประสานงานฉุกเฉินภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกของสหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวรอยเตอร์ว่า องค์กรกังวลเกี่ยวกับการผ่อนคลายมาตรการในขณะที่ทั้งสถานการณ์ในทั้งสองประเทศยังไม่เข้าเงื่อนไขตามที่ดับเบิลยูเอชโอแนะนำ โดยเฉพาะเมื่อมีการระบาดของไวรัสสายพันธุ์เดลตาที่ระบาดได้ง่าย และอัตราการฉีดวัคซีนยังอยู่ในระดับต่ำ อาจทำให้โรคโควิด-19 กลับมาระบาดหนักอีกได้
อินโดนีเซียมีผู้ติดเชื้อแล้วทั้งสิ้นกว่า 4 ล้านราย และมีผู้เสียชีวิตกว่า 133,000 ราย นับตั้งแต่เริ่มมีการระบาดของโรคโควิด-19
ขณะที่ไทยมีผู้ติดเชื้อกว่า 1.2 ล้านราย และมีผู้เสียชีวิต 11,841 ราย และทั้งสองประเทศมีอัตราผู้ฉีดวัคซีนเข็มแรกที่ราว 30 % ในขณะที่อินโดนีเซียมีอัตราผู้ที่ฉีดวัคซีนครบแล้ว 17 % ในขณะที่อัตราของไทยอยู่ทที่ 11 % โดยกรุงจาการ์ตาและกรุงเทพฯ มีอัตราการฉีดวัคซีนที่สูงกว่าภูมิภาคอื่นๆ ในประเทศมาก
ที่กรุงจาการ์ตาและพื้นที่อื่นๆบนเกาะชวาที่มีผู้อยู่อาศัยหนาแน่น ร้านอาหารในห้างสรรพสินค้าสามารถเปิดให้ลูกค้านั่งรับประทานอาหารในร้านได้ 50% ห้างสรรถสินค้าเปิดทำการได้ถึงเวลา 21.00 น. ขณะที่โรงงานสามารถเปิดทำการได้เต็มที่ 100%
ขณะเดียวกัน ที่กรุงเทพฯ และจังหวัดที่มีการระบาดหนักอื่นๆ 28 จังหวัด ร้านอาหารสามารถเปิดให้ลูกค้านั่งรับประทานอาหารในร้านได้ราว 50 – 75 % ร้านอาหารและห้างสรรพสินค้าสามารถเปิดทำการได้ถึงเวลา 20.00 น.
“เดล ฟิชเชอร์” ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบาดอาวุโสที่โรงพยาบาลเนชั่นแนล ยูนิเวอร์ซิตี ฮอสพิทัล( National University Hospital) ของสิงคโปร์ ระบุว่า แม้การผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ดำเนินไปเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ แต่การเร่งฉีดวัคซีนประชาชนก็เป็นเรื่องที่ต้องทำเช่นเดียวกัน