ยอดขายรถยนต์ พฤษภาคม ฟื้นเล็กน้อย โต 0.5% ปิกอัพยังอ่วม
ยอดขายรถยนต์อยู่ในช่วงชะลอตัว ยอดสะสมเดือน มกราคม-เมษายน ติดลบ 6.1% ขณะที่เดือนเมษายนก็ติดลบ 6.1% เช่นกัน และหลายฝ่ายประเมินว่าทิศทางยังชะลอตัวต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามล่าสุด เดือนพฤษภาคม พบว่า เติบโตเล็กน้อย โดยได้แรงส่งจากรถยนต์นั่ง
ศุภกร รัตนวราหะ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ระบุว่า ยอดขายรถยนต์เดือนพฤษภาคม 2566 มีจำนวนทั้งสิ้น 65,088 คัน เพิ่มขึ้น 0.5% จากเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา
การเติบโตของตลาดมาจากการที่ตลาดรถยนต์นั่งยังคงขยายตัวในอัตราส่วนที่สูง ด้วยยอดขาย 25,985 คัน เติบโต 29.4%
ขณะที่รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ (รวมปิกอัพ) ชะลอตัวต่อเนื่องด้วยบยอด 39,103 คัน ลดลง 12.4% โดยรถปิกอัพ 1 ตัน มียอด 27,323 คัน ลดลง 19.2%
การชะลองของตลาดรถปิกอัพ เป็นผลมาจากการชะลอการตัดสินใจซื้ออย่างต่อเนื่องของภาคธุรกิจ และประชาชน ที่รอความชัดเจนทางด้านนโยบายเศรษฐกิจของภาครัฐ
ขณะที่ตลาดรถยนต์นั่งโดยเฉพาะ ECO Car มีอัตราการเติบโตที่ดีอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากผู้บริโภคต้องการการเดินทางที่เป็นส่วนตัวหลังการแพร่ระบาดของโควิด
ส่วนคาดการณ์ตลาดรถยนต์เดือนมิถุนายน ยังมีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่อง จากความผันผวนทางเศรษฐกิจ รวมทั้งความมั่นใจของผู้บริโภคที่ยังไม่ดีขึ้น และความเข้มงวดของสถาบันการเงินที่กังวลต่อกำลังซื้อของผู้บริโภค
ส่งผลโดยตรงต่อความสามารถในการผ่อนชำระ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ที่ต้องการความคล่องตัวทางเศรษฐกิจเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญ
อันดับยอดขายในตลาดรวมเดือนพฤษภาคม 2566
- โตโยต้า 21,296 คัน ลดลง 4.0% ส่วนแบ่งตลาด 32.7%
- อีซูซุ 13,281 คัน ลดลง 15.6% ส่วนแบ่งตลาด 20.4%
- ฮอนด้า 6,697 คัน เพิ่มขึ้น 33.0 % ส่วนแบ่งตลาด 10.3%
ตลาดรถยนต์นั่ง 25,985 คัน เพิ่มขึ้น 29.4%
- โตโยต้า 8,266 คัน เพิ่มขึ้น 43.2% ส่วนแบ่งตลาด 31.8%
- ฮอนด้า 4,415 คัน เพิ่มขึ้น38.4% ส่วนแบ่งตลาด 17.0%
- มิตซูบิชิ 1,506 คันลดลง 27.5 % ส่วนแบ่งตลาด 5.8%
ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ (รวมปิกอัพ) 39,103 คัน ลดลง 12.4%
- อีซูซุ 13,281 คัน ลดลง 15.6.% ส่วนแบ่งตลาด 34.0%
- โตโยต้า 13,030 คัน ลดลง 20.6% ส่วนแบ่งตลาด 33.3%
- ฟอร์ด 2,993 คัน เพิ่มขึ้น 32.1% ส่วนแบ่งตลาด 7.7%
รถปิกอัพ 1 ตัน 22,427 คัน ลดลง 23.3%
อีซูซุ 10,055 คัน ลดลง 22.0% ส่วนแบ่งตลาด 44.8%
โตโยต้า 8,637 คัน ลดลง 27.2% ส่วนแบ่งตลาด 38.5%
ฟอร์ด 2,286 คัน เพิ่มขึ้น 24.8 % ส่วนแบ่งตลาด 10.2%
รถพีพีวี 4,896 คัน
- อีซูซุ 2,076 คัน
- โตโยต้า 1,568 คัน
- ฟอร์ด 707 คัน