โอกาส 'EV ไทย' ตลาดยุโรป ในมุมมอง 'เอ็มจี''  ผู้บุกเบิกตลาด mass EV

โอกาส 'EV ไทย' ตลาดยุโรป ในมุมมอง 'เอ็มจี''  ผู้บุกเบิกตลาด mass EV

รถยนต์พลังงานไฟฟ้า หรือ อีวี เข้ามามีบทบาทหลายปีก่อนหน้านี้ แต่เข้าสู่ยุคการขยายตัวอย่างจริงจังในปี 2562 เมื่อเอ็มจี ตัดสินใจเปิดตลาด “MG ZS EV” ในระดับราคาที่เข้าถึงได้ง่ายขึ้น จากนี้ อีวี ก็ขยายตัวมาตลอด และเพิ่มบทบาทจากการขาย มาสู่ยุคของการผลิต และเป้าหมายส่งออก

การเปิดตลาด MG ZS EV ส่งผลให้ตลาดอีวีที่เคยมียอดขายในหลักร้อยคันต้นๆ กระโดดขึ้นสู่หลักพันในปี 2562 และเติบโต 2 เท่าตัวในปีต่อมา และหลังจากนั้นเอ็มจี ก็เดินหน้าตลาดนี้อย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันเป็นผู้จำหน่าย อีวี ที่หลากหลายที่สุดในตลาด ไม่ว่าจะเป็น MG ZS EV, MG EP, MG ES, MG 4 Electric, MG 4 XPOWER หรือว่า MG MAXUS 9

และในเวลาเดียวกัน ก็เริ่มมีผู้เล่นรายใหม่ตามเข้ามาอย่างต่อเนื่องถึงปัจจุบัน และทำให้ตลาด อีวี ขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันมีสัดส่วนการขายประมาณ 10% ของตลาดรถยนต์โดยรวม และยังส่งผลให้ไทยก้าวขึ้นเป็นตลาดอีวีที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน ด้วยสัดส่วนการขายมากกว่า 70%

แต่นอกเหนือจากการเป็นตลาดที่ใหญ่ และเติบโตรวดเร็ว สิ่งที่กำลังเป็นที่จับตามอง ก็คือ โอกาสในการทีไทยจะเป็นฐานการผลิต อีวี เพื่อการส่งออก และที่สำคัญก็คือ โอกาสขยายการส่งออกไปยังตลาดกลุ่มยุโรป 

สุโรจน์ แสงสนิท รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอสเอไอซี มอเตอร์-ซีพี จำกัด  และนายกสมาคมยานยนต์ยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT) แสดงความคิดเห็นในเวทีสัมมนา "ASEAN AUTOMOTIVE FOR TOMORROW" ในงาน "ASEAN ECONOMIC OUTLOOK 2025 THE RISE OF ASEAN A RENEWING OPPORTUNITY" จัดโดย “กรุงเทพธุรกิจ” ว่ามีผู้ประกอบการอีวีเข้ามาลงทุนในไทยจำนวนมาก ปัจจุบันมี 7 โรงงาน และต้นปี 2568 จะเพิ่มอีก 1 โรงงาน 

ซึ่งแน่นอนการมีโรงงานผลิตในไทยจำนวนมากเช่นนี้ ผู้ประกอบการต่างๆ คงไม่ได้มองแค่การผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศเท่านั้น แต่ทุกคนมองไปที่การส่งออก ซึ่งก็ส่งผลดีต่อเนื่องต่อประเทศไทย ทั้งธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เช่น ชิ้นส่วนประกอบ แรงงาน และภาพรวมการส่งออกของประเทศ 

ทั้งนี้ปัจจุบัน อุตสาหกรรมรถยนต์ของไทยมีบทบาทที่โดดเด่นในเวทีโลกอยู่แล้ว ด้วยการส่งออกรถยนต์ไปจำหน่ายมากกว่า 100 ประเทศ โดยเฉลี่ยแต่ละปีมีปริมาณส่งออกมากกว่า 1 ล้านคัน แต่ที่น่าสนใจคือ ตลาดใหญ่อย่างยุโรป มีสัดส่วนส่งออกแค่ประมาณ 7% เท่านั้น 

โอกาส \'EV ไทย\' ตลาดยุโรป ในมุมมอง \'เอ็มจี\'\'  ผู้บุกเบิกตลาด mass EV

แต่การมาของอีวีจะเป็นโอกาสให้ไทยสามารถเพิ่มการส่งออกไปยังภูมิภาคนี้ได้มากขึ้นจากปัญหาการค้าระหว่างยุโรปกับจีนที่เป็นผู้ส่งออก อีวี ไปจีนเป็นอันดับ 1 ในเวลานี้ 

แต่เมื่อยุโรปมีมาตรการด้านภาษีที่จะปรับเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้ผลิตต่างๆ ของจีนเริ่มมองการส่งออกจากแหล่งอื่นๆ แทน และไทยซึ่งเป็นฐานการผลิตสำคัญก็มีโอกาสที่จะได้ประโยชน์ในส่วนนี้

“วิกฤติของเขาจะเป็นโอกาสของเรา ทีนี้ก็อยู่ที่ว่าเราจะทำอย่างไรจึงจะได้ประโยชน์จากส้มหล่นให้มากที่สุด” 

ทั้งนี้เมื่อมองในภาพรวม เชื่อว่าไทยจะได้ประโยชน์กับโอกาสในครั้งนี้ ทั้งเรื่องภาคการลงทุน การจ้างงาน และอุตสหกรรมชิ้นส่วน ซึ่งจะมาจากทั้ง 2 ส่วนคือ ลูกค้า และแนวนโยบายของไทย 

ในส่วนลูกค้า แน่นอนว่ายุโรปจะต้องพิจารณาว่า อีวี ที่ส่งเข้าไปจำหน่ายเป็นรถที่ผลิตในไทย ไม่ใช่รถจีนที่นำชิ้นส่วนเข้ามาขันน็อตในไทยเท่านั้น แต่จะเป็น “รถเชื้อชาติจีน สัญชาติไทย”

ส่วนผลประโยชน์ที่จะได้จากแนวนโยบายคือจะมีการดึงดูดการลงทุนอย่างไร ซึ่งเบื้องต้นเชื่อว่าการเข้ามาลงทุนของโรงงานผลิตจะมีส่วนดึงดูดการลงทุนด้านอื่นๆ ตามมา แต่ขณะเดียวกันก็ต้องส่งเสริมในแนวทางที่ให้ไทยได้ประโยชน์สูงสุด เช่น การร่วมทุนกับกลุ่มธุรกิจท้องถิ่น

“เราต้องเตรียมการสำหรับการย้ายฐานมาไทย เช่น การส่งเสริมให้เกิดการร่วมทุน หรือ การใช้ชิ้นในประเทศให้มากที่สุด เช่น การให้สิทธิพิเศษ ถ้าใช้ชิ้นส่วนในประเทศมากกว่าก็ได้สิทธิพิเศษเช่นภาษีที่มากกว่า เป็นต้น” 

โอกาส \'EV ไทย\' ตลาดยุโรป ในมุมมอง \'เอ็มจี\'\'  ผู้บุกเบิกตลาด mass EV

แนวทางนี้จะส่งผลให้อุตสาหกรรมชิ้นส่วนเทียร์ 2 เทียร์ 3 ได้รับประโยชน์ ประเทศมีรายได้มากขึ้น เศรษฐกิจดีขึ้น และก็ยังจะส่งผลให้ภาวะหนี้ครัวเรือนที่กำลังเป็นปัญหาในขณะนี้ลดลงด้วยเช่นกัน 

ทั้งนี้มองว่า การลงทุนผลิตอีวีในไทยจะก่อให้เกิดประโยชน์หลายอย่าง เพราะมีหลายสิ่งที่ต้องพัฒนาขึ้นใหม่ รวมถึงในอนาคตอาจจะมีความต้องการทั้งด้านการวิจัยและพัฒนา หรือ แล็บทดสอบต่างๆ เพิ่มขึ้น

“บางคนอาจจะมองว่า ที่ผ่านมาการที่หลายๆ บริษัทประกาศใช้ไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์พวงมาลัยขวา เป็นเรื่องง่ายสำหรับบริษัทแม่ที่มีการผลิตรถพวงมาลัยซ้ายเป็นหลัก เพราะเป็นแค่การย้ายพวงมาลัยเท่านั้น แต่ความเป็นจริงๆ แล้วระหว่างพวงมาซ้ายกับพวงมาลัยขวา ต้องมีการออกแบบใหม่ (redesign) มากกว่า 50% ซึ่งนั่นหมายถึงต้องมีการลงทุนเพิ่มเติม”

ทั้งนี้เป้าหมายเดิมคือการเป็นฐานการผลิตพวงมาลัยขวา กับเป้าหมายใหม่ส่งออกไปยูโรป ทำให้ต้องมีการผลิตพวงมาลัยซ้าย จะเป็นการเพิ่มโอกาสให้กับประเทศไทยมากขึ้น 

และสำหรับเอ็มจี ซึ่งปัจจุบันเริ่มต้นผลิต MG4 ELECTRIC ในไทยแล้ว ก็ดำเนินการผลิตทั้ง 2 รูปแบบ โดยพวงมาลัยซ้ายเริ่มต้นส่งออกไปยังเวียดนามแล้วในขณะนี้ 

โอกาส \'EV ไทย\' ตลาดยุโรป ในมุมมอง \'เอ็มจี\'\'  ผู้บุกเบิกตลาด mass EV

สุโรจน์กล่าวว่า ปัจจุบันตลาดรถยนต์มีความหลากหลาย แต่อีวีก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่จะขยายตลาด โดยเฉพาะตลาดที่มีเป้าหมายไปสู่การสร้างพลังงานสะอาด หรือว่าลดโลกร้อน ซึ่งอีวีจะเป็นสิ่งที่ทำให้ลดอุณหภูมิโลกได้ชัดเจนที่สุด ทำให้เป็นที่ต้องการเพิ่มขึ้นในอนาคตในหลายๆ ตลาด และผลักดันเป้าหมายการเป็นฐานการผลิตอีวีของไทยอย่างแน่นอน