ตลาดรถ 11 เดือน เฉียด 7 แสนคัน
คาดมาตรการเยียวยา ฟื้นฟูเศรษฐกิจ ดันเศรษฐกิจ ตลาดรถพ้นวิกฤติ
สุรศักดิ์ สุทองวัน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่ายอดขายรถยนต์เดือนพฤศจิกายน 2563 รวมทั้งสิ้น 79,177 คัน เพิ่มขึ้น 2.7% จากเดือนเดียวกันปีที่แล้ว ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 25,437 คัน ลดลง 7.2% รถเพื่อการพาณิชย์ (รวมปิกอัพ) 53,740 คัน เพิ่มขึ้น 8.2% โดยรถปิกอัพ มีจำนวน 42,763 คัน เพิ่มขึ้น 6.8%
ภาพรวมตลาดที่มีทิศทางที่ดีขึ้น เนื่องจากสถานการณ์ต่างๆ ในประเทศกำลังไปในทิศทางที่ดีขึ้น รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐที่มีอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ โครงการ “คนละครึ่ง” และราคาพืชผลทางการเกษตรหลายรายการปรับตัวดีขึ้น ส่งผลให้ กำลังซื้อของผู้บริโภคในหลายจังหวัดปรับตัวดีขึ้น
ส่วนยอดขายสะสมเดือน มกราคม-พฤศจิกายน มีจำนวน 688,057 คัน ลดลง 24.7% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว โดยรถยนต์นั่งลดลง 34.5% รถเพื่อการพาณิชย์ (รวมปิกอัพ) ลดลง 18.3% ซึ่งเป็นผลกระทบมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส โควิด-19 ตั้งแต่ต้นปี และไม่ได้ส่งผลกระทบแต่ประเทศไทยเท่านั้น แต่ส่งผลไปทั่วโลก
อย่างไรก็ตามภาครัฐ ยังคงออกมาตรการเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจในด้านต่างๆ เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายของภาคประชาชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนรวมถึงเศรษฐกิจไทยให้สามารถผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปได้
นอกจากนี้ การที่ผู้ประกอบการต่างๆ กระตุ้นตลาดทั้งการมีข้อเสนอพิเศษ การนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่หรือรุ่นปรับปรุง่ในงานมหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 37 ก็ส่งผลให้มีจูงใจให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น เห็นได้จากตลาดรถยนต์ในเดือนธันวาคมมีทิศทางที่ดีขึ้น
สำหรับยอดขายเพือนพฤศจิกายน 3 อันดับแรกในกลุุ่มต่างๆ ประกอบด้วย
1. ตลาดรวม 79,177 คัน เพิ่มขึ้น 2.7%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 28,279 คัน เพิ่มขึ้น 4.0% ส่วนแบ่งตลาด 35.7%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 17,577 คัน เพิ่มขึ้น 20.2% ส่วนแบ่งตลาด 22.2%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 8,908 คัน เพิ่มขึ้น 0.2% ส่วนแบ่งตลาด 11.3%
2. รถยนต์นั่ง 25,437 คัน ลดลง 7.2%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 7,420 คัน ลดลง 23.6% ส่วนแบ่งตลาด 29.2%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 7,376 คัน เพิ่มขึ้น 9.3% ส่วนแบ่งตลาด 29.0%
อันดับที่ 3 มาสด้า 2,746 คัน ลดลง 6.7% ส่วนแบ่งตลาด 10.8%
3. รถเพื่อการพาณิชย์ (รวมปิกอัพ) ปริมาณการขาย 53,740 คัน เพิ่มขึ้น 8.2%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 20,859 คัน เพิ่มขึ้น 19.3% ส่วนแบ่งตลาด 38.8%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 17,577 คัน เพิ่มขึ้น 20.2% ส่วนแบ่งตลาด 32.7%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 3,727 คัน เพิ่มขึ้น 5.5% ส่วนแบ่งตลาด 6.9%
4. รถปิกอัพ รวม พีพีวี 42,763 คัน เพิ่มขึ้น 6.8%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 17,305 คัน เพิ่มขึ้น 10.7% ส่วนแบ่งตลาด 40.5%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 16,578 คัน เพิ่มขึ้น 24.0% ส่วนแบ่งตลาด 38.8%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 3,727 คัน เพิ่มขึ้น 5.5% ส่วนแบ่งตลาด 8.7%
โดยรถพีพีวี มียอด 5,318 คัน แบ่งเป็น โตโยต้า 2,766 คัน - อีซูซุ 1,108 คัน - มิตซูบิชิ 838 คัน - ฟอร์ด 465 คัน – นิสสัน 141 คัน
5. รถปิกอัพ 37,445 คัน เพิ่มขึ้น 3.3%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 15,470 คัน เพิ่มขึ้น 21.5% ส่วนแบ่งตลาด 41.3%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 14,539 คัน เพิ่มขึ้น 3.5% ส่วนแบ่งตลาด 38.8%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 2,889 คัน เพิ่มขึ้น 6.7% ส่วนแบ่งตลาด 7.7%
ยอดขายสะสม เดือนมกราคม-พฤศจิกายน
1. ตลาดรวม 688,057 คัน ลดลง 24.7%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 211,119 คัน ลดลง 30.3% ส่วนแบ่งตลาด 30.7%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 158,277 คัน เพิ่มขึ้น 3.8% ส่วนแบ่งตลาด 23.0%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 82,966 คัน ลดลง 28.7% ส่วนแบ่งตลาด 12.1%
2. รถยนต์นั่ง 236,659 คัน ลดลง 34.5%
อันดับที่ 1 ฮอนด้า 69,041 คัน ลดลง 22.7% ส่วนแบ่งตลาด 29.2%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 59,341 คัน ลดลง 44.9% ส่วนแบ่งตลาด 25.1%
อันดับที่ 3 นิสสัน 24,666 คัน ลดลง 25.7% ส่วนแบ่งตลาด 10.4%
3. รถเพื่อการพาณิชย์ (รวมปิกอัพ) ปริมาณการขาย 451,398 คัน ลดลง 18.3%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 158,277 คัน เพิ่มขึ้น 3.8% ส่วนแบ่งตลาด 35.1%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 151,778 คัน ลดลง 22.3% ส่วนแบ่งตลาด 33.6%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 31,541 คัน ลดลง 29.5% ส่วนแบ่งตลาด 7.0%
4. รถปิกอัพ และพีพีวี 357,947 คัน ลดลง 19.9%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 146,901 คัน เพิ่มขึ้น 6.1% ส่วนแบ่งตลาด 41.0%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 129,512 คัน ลดลง 25.8% ส่วนแบ่งตลาด 36.2%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 31,541 คัน ลดลง 29.5% ส่วนแบ่งตลาด 8.8%
โดยรถพีพีวี มียอด 37,064 คัน แบ่งเป็น โตโยต้า 17,033 คัน – มิตซูบิชิ 8,224 คัน – อีซูซุ 5,333 คัน – ฟอร์ด 4,487 คัน – นิสสัน 1,315 คัน –เชฟโรเลต 672 คัน
5. รถปิกอัพ 320,883 คัน ลดลง 18.2%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 141,568 คัน เพิ่มขึ้น 9.1% ส่วนแบ่งตลาด 44.1%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 112,479 คัน ลดลง 25.3% ส่วนแบ่งตลาด 35.1%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 23,317 คัน ลดลง 28.3% ส่วนแบ่งตลาด 7.3%