เปิดภารกิจมูลนิธิทันตนวัตกรรม 10 ปีแห่งการค้นคว้า ปฏิบัติ และพัฒนา

เปิดภารกิจมูลนิธิทันตนวัตกรรม 10 ปีแห่งการค้นคว้า ปฏิบัติ และพัฒนา

มูลนิธิทันตนวัตกรรมฯ เปิดภารกิจ 3 ด้าน สืบสานพระราชกระแส รัชกาลที่ 9 ดำเนินงานด้าน “ทันตนวัตกรรม” 10 กว่าปีที่ผ่านมาสามารถช่วยเหลือประชาชนผ่านหน่วยทันตกรรมพระราชทานฯ ได้กว่า 5 แสนคน คิดค้นนวัตกรรม ช่วยภาครัฐประหยัดเงินได้มหาศาล

นายวรวุฒิ กุลแก้ว เลขาธิการมูลนิธิทันตนวัตกรรม  ในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดเผยในโอกาสจัดกิจกรรม “มูลนิธิทันตนวัตกรรมฯ พบสื่อมวลชน” ว่าในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมานับตั้งแต่มีการจัดตั้งมูลนิธิฯ ขึ้นเมื่อปี  2552 ได้สนับสนุนการให้บริการผ่านหน่วยทันตกรรมพระราชทานในรัชกาลที่ 9 ไปแล้วประมาณ 500,000 คน  

รวมทั้งมีโครงการที่ทำให้ประชาชนเข้าถึงนวัตกรรมที่ผลิตได้ภายในประเทศ โดยให้เครือข่ายนำไปใช้ช่วยเหลือประชาชน อย่างเช่นโครงการรากฟันเทียมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 9 ได้มากกว่า 30,000 คน     

มูลนิธิทันตนวัตกรรม ในพระบรมราชูปถัมภ์ เดิมเป็นหน่วยงานหนึ่งในหน่วยทันตกรรมพระราชทานในรัชกาลที่ 9 ต่อมามีการจัดตั้งเป็นมูลนิธิฯ  เมื่อปี พ.ศ2552 ตามพระราชกระแสของรัชกาลที่ 9 ที่ว่าทันตแพทย์ไม่ควรจะทำการรักษาอย่างเดียว ควรจะได้มีการคิดค้น พัฒนาวิจัย และพัฒนา เพื่อที่จะผลิต วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ขึ้นมาใช้เองในประเทศด้วย

โดยมี ศาสตราจารย์พิเศษ ทันตแพทย์หญิง ท่านผู้หญิงเพ็ชรา เตชะกัมพุช ผู้อำนวยการหน่วยทันตกรรมพระราชทานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เป็นผู้ดำเนินการ

สำหรับภารกิจของมูลนิธิฯ มี 3 ประการ คือ ภารกิจแรกเป็นฝ่ายเลขานุการของหน่วยทันตกรรมพระราชทานฯ ซึ่งมีหน่วยบริการอยู่ทั้งหมด 8 แห่ง ก็คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยนเรศวร

เปิดภารกิจมูลนิธิทันตนวัตกรรม 10 ปีแห่งการค้นคว้า ปฏิบัติ และพัฒนา เปิดภารกิจมูลนิธิทันตนวัตกรรม 10 ปีแห่งการค้นคว้า ปฏิบัติ และพัฒนา

ท่านผู้หญิงเพ็ชรา เตชะกัมพุช

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา โดยสนับสนุนเรื่องวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือในการออกให้บริการประชาชน ซึ่งแต่ละปีสามารถให้บริการประชาชนได้ประมาณ 50,000 คน ภายใน 10 ปี มียอดรวมประมาณ  500,000 กว่าคน

ภารกิจที่ 2 การวิจัยและพัฒนา เพื่อให้เกิดนวัตกรรมสำหรับนำไปรักษา แก้ไข ฟื้นฟู ป้องกัน ทางทันตกรรมให้กับประชาชน  ปัจจุบันนี้ มีผลิตผลซึ่งเกิดจากการวิจัยและพัฒนาของมูลนิธิฯ 3 กลุ่ม ก็คือ กลุ่มอาหารทางการแพทย์

เช่น เจลลี่โภชนา อาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็งช่องปาก  วุ้นชุ่มปาก หรือนวัตกรรมน้ำลายเทียมชนิดเจลสำหรับผู้ที่มีภาวะปากแห้งน้ำลายน้อยหรือผู้สูงอายุ ผลิตภัณฑ์เหล่านี้เข้าถึงประชาชนผู้ใช้ได้ประมาณ 240,000 คน ในช่วงเวลา 10 กว่าปี ที่ผ่านมา 

กลุ่มเครื่องมือแพทย์มี รากฟันเทียมสำหรับผู้สูญเสียฟัน ฟันเทียมทั้งปาก ซึ่งฟันเทียมประเภทนี้จำเป็นมากสำหรับผู้สูงอายุซึ่งจะต้องได้ใส่ฟันเทียมเพื่อที่จะได้มีฟันเทียมเคี้ยวอาหาร นอกจากนี้ยังมีสารผนึกหลุมร่องฟันเรซิน เอาไว้สำหรับป้องกันฟันผุ กรณีผู้ที่ที่มีปัญหาหลุมร่องฟันซึ่งจะนำไปสู่ปัญหาฟันผุ 

ล่าสุดผลงานที่สำคัญคือ งานวิจัยและพัฒนาผลิตน้ำยาบ้วนปากฆ่าเชื้อในช่องปากจากหญ้าแฝก ตามแนวพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 ซึ่งที่ผ่านมาใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝกในการอนุรักษ์ดินและน้ำเป็นหลัก 

เปิดภารกิจมูลนิธิทันตนวัตกรรม 10 ปีแห่งการค้นคว้า ปฏิบัติ และพัฒนา

ภารกิจส่วนที่ 3 คือร่วมกับภาคีเครือข่ายในการให้บริการกับประชาชน เกิดโครงการต่าง ๆ ที่ทำให้ประชาชนเข้าถึงนวัตกรรม และเทคโนโลยีขั้นสูง เช่น โครงการรากฟันเทียมเฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่ 9 ซึ่งปกติแล้วรากฟันเทียมหนึ่งซี่ราคาแพง แต่ในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา ประชาชนได้รับบริการฟรีไปแล้วประมาณ 30,000 กว่าคน คิดเป็นมูลค่าในการประหยัดเงินได้มหาศาล 

มูลนิธิฯ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากในหลวงรัชกาลที่ 9 พระราชทานสิ่งสำคัญไว้หลายประการ แต่สิ่งสำคัญประการหนึ่งก็คือเรื่องที่มีแนวพระราชกระแสเกี่ยวกับการค้นคว้า ปฏิบัติ พัฒนา  ซึ่งทำให้การดำเนินงานของมูลนิธิฯ มีทิศทางที่ชัดเจน และเนื่องจากในเวลานี้เป็นยุคดิจิทัล เป็นกระแสของโลก 

ในปี 2565 ถึงปี 2570 จึงได้ร่วมมือกับกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ดำเนินการวิจัยและพัฒนาเพื่อเปลี่ยนระบบการให้บริการทันตกรรมเดิมที่เรียกว่า Analog ไปสู่ Digital System เพื่อทำให้ประชาชนนับสิบล้านคนเข้าถึงการให้บริการ รวมทั้งเข้าถึงนวัตกรรม และเทคโนโลยีขั้นสูงที่เกิดจากการวิจัย พัฒนาของมูลนิธิฯ

เปิดภารกิจมูลนิธิทันตนวัตกรรม 10 ปีแห่งการค้นคว้า ปฏิบัติ และพัฒนา
 
“เราให้ความสำคัญกับวิจัยและพัฒนา ซึ่งยังมีหลายเรื่องที่อยู่ระหว่างดำเนินการให้แล้วเสร็จ รวมทั้งเรื่องที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 รับสั่งไว้เป็นพระราชกระแส เป็นรับสั่งสุดท้ายก่อนสวรรคตว่า ผู้สูงอายุอย่างเรามีจำนวนมาก ทันตแพทย์ต้องช่วยดูแล ซึ่งผู้สูงอายุปัจจุบันมีเพิ่มขึ้นถึง 14 ล้านคน

อันนี้ก็เป็นโจทย์สำคัญที่มูลนิธิฯ และภาคีเครือข่ายจะต้องหากรรมวิธีที่จะดำเนินการที่จะทำให้ผู้สูงอายุเหล่านั้นได้รับการดูแลรักษาทางด้านทันตกรรมให้เหมาะสม และมีสภาวะสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้นต่อไป” เลขาธิการมูลนิธิทันตนวัตกรรม ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าว