"ธุรกิจทันตกรรม-ทันตแพทย์" รอดอย่างไร? ในยุคโควิด-19

"ธุรกิจทันตกรรม-ทันตแพทย์" รอดอย่างไร? ในยุคโควิด-19

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้มีการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเวชภัณฑ์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

โดยการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจยา เวชภัณฑ์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ เดือนส.ค. 2564 มีการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจใหม่จำนวน 214 ราย เพิ่มขึ้น 94 ราย คิดเป็น 78.33% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

โดยมูลค่าทุนจดทะเบียนจัดตั้งใหม่ธุรกิจยา เวชภัณฑ์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ เดือนส.ค. 2564 มีมูลค่าทั้งสิ้น 336.34 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.68 ล้านบาท คิดเป็น 2.65% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนการจดทะเบียนเลิกธุรกิจยา เวชภัณฑ์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ เดือนส.ค. 2564 มีจำนวน 19 ราย เพิ่มขึ้น 2 ราย คิดเป็น 11.76%

\"ธุรกิจทันตกรรม-ทันตแพทย์\" รอดอย่างไร? ในยุคโควิด-19

ขณะที่ การจัดตั้งธุรกิจใหม่ 8 เดือนแรกปี 64 หรือตั้งแต่เดือนม.ค. – ส.ค. 2564 มีการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจใหม่สะสมจำนวน 1,333 ราย เพิ่มขึ้น 407 ราย คิดเป็น 43.95% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 926 ราย ในขณะที่จำนวนการจดทะเบียนเลิก 8 เดือนแรกปี 64 มีการจดทะเบียนเลิกสะสม 122 ราย ลดลง 9 ราย คิดเป็น 6.87% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

 

  • จัดตั้งธุรกิจยาเพิ่มขึ้นคิดเป็น 43.95%

“ทศพล ทังสุบุตร” อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กล่าวว่าสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ปริมาณการจัดตั้งในช่วง 8 เดือนแรกเพิ่มขึ้น ถึง 43.95% ซึ่งการจดทะเบียนจัดตั้งที่เพิ่มขึ้นสอดคล้องกับปริมาณความต้องการสินค้าทางเวชภัณฑ์และเภสัชภัณฑ์ที่มีเพิ่มขึ้นจากความจำเป็นที่ต้องใช้ในการป้องกันและรักษาจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และส่งผลให้การจดเลิกในช่วง 8 เดือนแรกลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน เช่นกัน และเมื่อดูภาพรวมการจดทะเบียนจัดตั้งย้อนหลังไป 2 ปี พบว่า ในปี 63 ยอดจัดตั้งเพิ่มจากปี 62 จำนวน 394 ราย คิดเป็น 43.39%

ปัจจุบันมีจำนวนนิติบุคคลที่ยังดำเนินกิจการอยู่ ณ วันที่ 31 ส.ค. 2564 มีทั้งสิ้น 11,964 ราย เพิ่มขึ้น 1,352 ราย คิดเป็น 12.74% เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนส.ค.63 ที่มีอยู่จำนวย10,612 ราย ในส่วนของทุนจดทะเบียนมีมูลค่า 108,392.65 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3,714.75 ล้านบาท คิดเป็น 3.55% เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนส.ค.63 ที่มีทุนจดทะเบียน 104,677 ล้านบาท

\"ธุรกิจทันตกรรม-ทันตแพทย์\" รอดอย่างไร? ในยุคโควิด-19

ขณะที่ “ตลาดทันตกรรม" มีการประเมินเม็ดเงินของตลาดทันตกรรมในเมืองไทยมีสูงถึง 6 พันล้านบาท ซึ่ง 94% จะเป็นมูลค่าตลาดในส่วนของคลินิกทันตกรรมเอกชน ส่วนอีก 6% เป็นในส่วนโรงพยาบาล โดยตลาดของธุรกิจคลินิกทันตกรรมแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ตามจำนวนสถานทำฟัน (Segmentation) ประกอบด้วย 1.ทันตกรรมบูรณะมีส่วนแบ่งทางตลาด 15% 2.ทันตกรรมเพื่อความสวยงามสัดส่วน 19% และ3.ทันตกรรมป้องกันรักษาทั่วไปอีก 66%

 

 

  • "ทันตแพทย์" สจล.เน้นนวัตกรรม-เครื่องมือ

ขณะนี้แม้เกิดสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 ส่งผลให้บริการทันตกรรม ใน “คลินิกทันตกรรม” หรือ “ร้านหมอฟัน” ทุกแห่ง เพราะต้องงดให้บริการหัตถการบางรายการ อาทิ การ อุดฟัน ขูดหินปูน ผ่าฟันคุด รักษารากฟัน แต่ในกลุ่มของคลินิกทันตกรรมต่างๆ ก็ได้ปรับตัว มีการนำเทคโนโลยี และนวัตกรรมมาใช้ในการรักษาฟัน ดูแลฟันให้แก่ผู้มาใช้บริการ จนทำให้ตอนนี้กลายเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ยังสามารถดำเนินการอยู่ได้

รศ.ดร.ทพญ.อารยา พงษ์หาญยุทธ รักษาการคณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เล่าว่าสิ่งที่จะช่วยทันตแพทย์ให้สามารถทำงานได้ตอนนี้ คือมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการให้บริการ โดยเฉพาะหุ่นยนต์ และมีการใช้เทเลเมดิซีน หรือนวัตกรรมที่ทำให้อุปกรณ์ทางการแพทย์สามารถอยู่ในช่องปากได้นานแต่ต้องมีความปลอดภัยต่อผู้มารับบริการ

\"ธุรกิจทันตกรรม-ทันตแพทย์\" รอดอย่างไร? ในยุคโควิด-19

ในประเทศไทยกลับพบว่ากว่า 90% ต้องนำนวัตกรรม เทคโนโลยี เครื่องมือมาจากต่างประเทศ ยิ่งเกิดโควิด-19 ยิ่งเป็นตัวกระตุ้นทำให้การบริการทันตกรรมต้องนำเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้น จึงต้องสร้างทันตแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญทั้งด้านทักษะอาชีพ และมีความรู้ความสามารถด้านวิศวกร ด้านเทคโนโลยี เป็นทันตแพทย์นวัตกร และมีความเป็นผู้ประกอบการ สามารถสร้างอาชีพที่หลากหลาย

ทันตแพทย์ในยุคใหม่ ไม่ใช่ทำหน้าที่ถอนฟัน อุดฟัน รักษาฟันเพียงอย่างเดียว แต่ต้องสามารถผันตัวเองไปประกอบอาชีพได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น นักวิจัย นวัตกรรม ผู้ประกอบการ ผู้บริหารโรงพยาบาล หรือเปิดคลินิกทันตกรรมของตัวเอง พวกเขาจึงจำเป็นที่ต้องมีความรู้ ทักษะหลากหลายรอบด้าน 

\"ธุรกิจทันตกรรม-ทันตแพทย์\" รอดอย่างไร? ในยุคโควิด-19

ที่สำคัญต้องรู้จักคิดค้น และสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ อันนำไปสู่ยกระดับทันตแพทย์ของไทยร่วมด้วย เพื่อสอดคล้องกับนโยบายการยกระดับเข้าสู่ เมดิคัลฮับ (Medical Hub)” หรือ “ศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญของรัฐบาลปัจจุบัน “ทันตแพทย์ยุคใหม่” จึงต้องมีทักษะหลากหลายด้าน และไม่ใช่เพียงเชี่ยวชาญด้านวิชาชีพทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องสามารถใช้ ผลิตเทคโนโลยีนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ในการดำเนินธุรกิจ อาชีพของตนเองร่วมด้วย