ช่องว่างระหว่างวัย อีกหนึ่งภารกิจที่รบ.ประยุทธ์2 ห้ามมองข้าม
คงไม่มีใครปฏิเสธได้ ว่าสังคมไทยทุกวันนี้... “ความแตกต่างทางความคิด”...
โดยเฉพาะทัศนคติมุมมองการเมืองและการปกครอง ระหว่างคนรุ่นใหม่และคนรุ่นเก่า... ดูจะสวนทางและขัดแย้งกันอย่างน่าใจหาย...
ด้วยความจริงที่ ผู้คนในสังคมแต่ละยุคสมัย... ได้รับอิทธิพลจาก “บริบททางสังคม” และ “ทางประวัติศาสตร์” ที่แตกต่าง... เช่น คนในยุคหนึ่งๆ ที่เกิดและเติบโตขึ้นท่ามกลางเหตุการณ์สำคัญ อย่างสงครามโลก หรือ ยุคลัทธิคอมมิวนิสต์แพร่หลาย ... ก็จะมีทัศนคติแตกต่างออกไปจากคนที่เกิดในยุคที่ประเทศมีความมั่งคั่ง
“นวัตกรรม” และ “เทคโนโลยี” ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่ง ที่มีผลกับชีวิตและมีอิทธิพลต่อลักษณะนิสัยของผู้คน เช่น Social Media ณ ปัจจุบัน
ด้วยเหตุนี้... แนวคิดเรื่อง “Generations” ที่ใช้การแบ่งกลุ่มแบบ ‘ช่วงปีเกิด’ คือ แนวคิดใหม่ที่เกิดในช่วงศตวรรษที่ 20 โดย “Karl Mannheim” นักสังคมศาสตร์ชาวฮังกาเรียนตีพิมพ์งานชื่อ “The Problem of Generations” ในปี 1923...
สำหรับสังคมไทย... เรามีการจัดกลุ่ม “Generation” หรือที่เรียกสั้นว่า “GEN” ไว้ดังนี้คือ
ดังที่กล่าว... ด้วยประสบการณ์ชีวิตที่ไม่เหมือนกันของแต่ละ GEN... ส่งผลให้ความคิดและพฤติกรรมนั้นแตกต่างกันไป ตัวอย่างเช่น เด็กในวัย“GEN Z” หรือปลาย “GEN Y” ซึ่งอายุราว 18-23 ปี... คือเด็กที่เกิดพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกรอบด้าน... เรียนรู้รูปแบบการดำเนินชีวิตในสังคมแบบดิจิทัล... เสพสื่อสาระและบันเทิงต่างๆ ผ่านโลกไร้สายและสังคมออนไลน์... ซึ่งทำให้เขาเปิดกว้างทางความคิดและวัฒนธรรมที่แตกต่างมากขึ้น... มีความอดทนต่ำ... ต้องการคำอธิบายมากขึ้น และต้องมีเหตุผลที่ชัดเจน...
ด้วยลักษณะดังกล่าว จึงไม่น่าแปลกใจที่... คนรุ่นใหม่ GEN Z และปลาย GEN Y นี้... จึงมักเรียกตนเอง (แบบที่คิดว่าเท่แต่มีความเข้าใจต่ำ) ว่า “Liberal” หรือ “เสรีนิยม”
เด็กกลุ่มนี้ส่วนมากมักอ้างถึงวาทกรรม (ไปจำมา) เรื่องปรัชญาการเมืองหรือมุมมองทางโลกซึ่งตั้งอยู่บนความคิดเสรีภาพและความเสมอภาค... แต่ด้วยประสบการณ์ที่เดียงสาจึงมองสังคมเพียงไม่กี่มิติและลืมนึกถึงบริบทอื่นๆ เช่นเรื่องจริยธรรมและความมั่นคงของประเทศชาติ...
ส่วนผู้ใหญ่กลุ่ม “Baby Boomer” ซึ่งเกิดมาในยุคบ้านเมืองเริ่มสงบสุขหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2... และได้ผ่านช่วงยุคลัทธิคอมมิวนิสต์กำลังแพร่หลายในประเทศ ก็ถูกจัดกลุ่มลักษณะนิสัยที่เป็นพวก...คนจริงจังและเคร่งครัดต่อขนบธรรมเนียมประเพณี... สู้งานอดทน... ภักดีต่อองค์กร... ให้ความสำคัญต่อหน้าที่ของพลเมือง... และมักถูกจัดเป็นพวก “อนุรักษนิยม” หรือ “Conservative”…
นี้คือความแตกต่างอย่างสุดขั้วของสอง GEN นี้...
ช่องว่างระหว่างวัยนี้ถือเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่“รัฐบาล” ไม่ควรมองข้าม…
ผู้ใหญ่… ผู้มากประสบการณ์ชีวิต… และผ่านร้อนผ่านหนาวมาก่อน มีหน้าที่ทำความเข้าใจว่าคนเรามีค่านิยมในชีวิตที่แตกต่าง… ถูกหล่อหลอมมาไม่เหมือนกัน
และการที่มีทัศนคติที่แตกต่างของ “คนรุ่นใหม่” ก็ไม่ได้หมายความว่าเขาไม่ใช่เด็กไม่ดีเสมอไป…
ในด้านความมั่นคง… “รัฐบาล” คงต้องใช้ “ศาสตร์และศิลป์” มากหน่อยงานนี้ เพื่อสื่อสาร… ทำความเข้าใจ… ปลูกฝังความคิด และล้างค่านิยมผิดๆ จากวาทกรรมสวยหรูออกไป