SME’s ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารแห่งประเทศไทย มุมมองที่แตกต่าง เศรษฐกิจไทย ปี 2567 (2)

SME’s ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารแห่งประเทศไทย  มุมมองที่แตกต่าง เศรษฐกิจไทย ปี 2567 (2)

มุมมองที่แตกต่างกันระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทยที่มองว่าเศรษฐกิจไทยขยายตัวดีขึ้น กับมุมมองของประชาชนที่มองว่าเศรษฐกิจแย่ลง เป็นข้อถกเถียงกันอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SME ที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งทุนได้

คำแถลงของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ที่ระบุว่า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่สูงกว่าปีก่อน โดยได้รับแรงสนับสนุนต่อเนื่องจากการบริโภคภาคเอกชนและการท่องเที่ยว รวมทั้งมีแรงส่งจากการใช้จ่ายภาครัฐ ที่จะกลับมาเพิ่มขึ้นในช่วงที่เหลือของปี อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มปรับทยอยเพิ่มขึ้น จึงเห็นควรคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.5 ต่อไป เป็นคำแถลงที่ขัดกับความรู้สึกของประชาชนที่มองว่าเศรษฐกิจไทยยังคงยากลำบากแสนสาหัส 

ภาพสะท้อนจากโรงงานที่ปิดตัวที่เพิ่มขึ้นในอัตราเร่ง 57 โรงงานต่อเดือนในปี 2564 เป็น 83 โรงงานต่อเดือน ในปี 2565 และสูงถึง 159 โรงงาต่อเดือน ในปี 2566 เพียงแค่ 5 เดือน ของปี 2567 ปิดไปแล้วถึง 488 โรงาน เป็นปรากฏการที่น่าเป็นห่วง ไม่รวมถึงกิจการอื่น ๆ เช่น ร้านค้า ร้านอาหาร ที่ปิดกิจการประกาศขายทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก

ในไตรมาสที่ 2 ที่กำลังจะสิ้นสุดลง คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะชลอตัวเพิ่มขึ้น สำนักวิจัยเศรษฐกิจทุกสำนัก พร้อมใจปรับลด GDP ในปี 2567 ประมาณ 0.5% เป็น 2.6 %-2.8% จากแรงกดดันของภาระหนี้สินที่เพิ่มขึ้นของประชาชน และรายได้จากการท่องเที่ยวลดลงในช่วง Low season

ปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อ GDP คือการปรับขึ้นของราคาพลังงาน ราคาน้ำมันดีเซลที่กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสนับสนุนลิตรละ 5 บาท ณ วันที่ 14 เมษายน กองทุนมีฐานะการเงินติดลบ 1.04 แสนล้านบาท ใกล้วงเงินขาดทุนที่กฎหมายกำหนดไว้ 1.1 แสนล้านบาท และรัฐบาล ยังไม่ต่ออายุการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลลิตรละ 1 บาท ซึ่งหมดอายตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน 2567 ส่งผลให้ต้องมีการปรับเพิ่มราคาน้ำมันดีเซล 

รวมถึงการที่จะมีการปรับอัตราค่าไฟเพิ่มขึ้น การเพิ่มขึ้นของราคาพลังงาน จะมีผลกระทบเชิงลบต่อราคาสินค้า ราคาสินค้าจะปรับเพิ่มขึ้นจนกระทบกำลังการซื้อของภาคครัวเรือน การบริโภคที่ลดลงจะกระทบฐานะการเงินของทุกภาคธุรกิจ ทำให้ความสามารถในการชำระหนี้ คาดว่า NPL จะเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน

ในไตรมาสแรกของปี 2567 ผลผลิตภาคการเกษตร เผชิญกับภาวะภัยแล้ง หดตัวลงถึง 6.45% ภาคอุตสาหกรรมการผลิตหดตัวถึง 2.85% จากการชลอตัวของการส่งออก และการแข่งขันของสินค้าราคาถูกจากประเทศจีน เป็นปัจจัยที่จะทำให้เศรษฐกิจไทยชลอตัวเพิ่มขึ้น

มุมองที่แตกต่างกันระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทยที่มองว่าเศรษฐกิจไทยขยายตัวดีขึ้น กับมุมมองของประชาชนที่มองว่าเศรษฐกิจแย่ลง เป็นข้อถกเถียงกันอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SME ที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งทุนได้ ต้องปิดกิจการเป็นจำนวนมาก คนจนในประเทศไทยเพิ่มขึ้นทุกปี

ในขณะที่ธนาคารพาณิชย์ 11 ธนาคารพาณิชย์ กำไรในไตรมาสแรกของปี 2567 พุ่ง 6.3 หมื่นล้านบาท เติบโต 24.07% จากไตรมาสก่อน และเพิ่ม 6.11% จากช่วงเดียวกันปีก่อน

เป็นปรากฎการณ์ที่หลายฝ่ายงุนงงสงสัยว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร บนแผ่นดินเดียวกัน และเราควรจะหาทางหลุดจากกับดักนี้ได้อย่างไรเพื่อขับเคลื่อนให้ประเทศก้าวเดินต่อไป เป็นเรื่องที่สำคัญมาก….