มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ของ ธปท. เหมาะสมกับสถานการณ์เศรษฐกิจไทยปัจจุบันหรือไม่? (3)

มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ของ ธปท. เหมาะสมกับสถานการณ์เศรษฐกิจไทยปัจจุบันหรือไม่? (3)

วิกฤติปี 2567 มีความยุ่งยาก ซับซ้อนมากว่าปี 2540 มากมาย

น.ส.สุวรรณี เจษฎา ศักดิ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน และ น.ส.อัจจนา ล่ำซำ ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายตรวจสอบแบบจำลองและวิเคราะห์ความเสี่ยงสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้รายงานผลการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ไทย 6 เดือนแรกของปี 2567 ว่าระบบธนาคารพาณิชย์มีความมั่นคงและมีเสถียรภาพ โดยมีเงินกองทุนเงินสำรอง และสภาพคล่องอยู่ในระดับสูง สินเชื่อระบบธนาคารพาณิชย์(รวมเครือ) ไตรมาส 2 ปี 2567 ขยายตัวชะลอลงที่ 0.3% จากระยะเดียวกันของปีก่อน สินเชื่อธุรกิจโดยรวมทรงตัว 

ขณะที่สินเชื่อเอสเอ็มอีหดตัวต่อเนื่อง และสินเชื่ออุปโภคบริโภคขยายตัวชะลอลงตามความเสี่ยงด้านเครดิตที่ปรับสูงขึ้น ตรงข้ามกับยอดคงค้างสินเชื่อด้อยคุณภาพหรือเอนพีแอลที่ปรับตัวสูงขึ้น

อย่างไรก็ตาม ยังมีลูกหนี้ที่เข้าไม่ถึง เพราะธนาคารบางแห่งมีเกณฑ์ว่าคนที่จะปรับโครงสร้างหนี้ต้องเป็นหนี้เสียหรือเอ็นพีแอลก่อน รวมถึงมีเกณฑ์แล้วว่าจะไม่ปล่อยกู้ให้กับคนทำคี่่อายุเกิน 65 ปี เพราะถือว่าไม่มีรายได้ ซึ่งทางแบงก์ชาติให้ทางสถาบันการเงินทำการผ่อนเกณฑ์ เพื่อจะได้ช่วยให้ลูกหนี้หลุดจากการเป็นเอ็นพีแอล และป้องกันการเป็เอ็นพีแอล

โดยให้สามารถเข้าไปช่วยผู้ประกอบการที่ธะุรกิจเริ่มมีผลกำไรขาดทุน แม้ว่าจะยังสามารถชำระหนี้ได้อยู่ และรายย่อยที่เริ่มไม่เพิ่มขึ้นทุกประเภภทสามารถจ่ายหนี้ได้ โดยไม่ต้องรอให้เข้าเกณฑ์เอ็นพีแอล เพื่อให้มีสภาพคล่องในการหมุนเวียนและนำไปสร้างรายได้ใหม่ ๆ

สอดคล้องกับข้อมูลที่ผมได้นำเสนอมาแล้ว คือหนี้เสียของ สินเชื่ออุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้นทุกประภท โดยหนี้เสียของสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นจากกลุ่มที่ซื้อบ้านต่ำกว่า 5 ล้านบาท รวมสินเชื่อบัตรเครดิต เพิ่มขึ้นจากกลุ่มเปราะบางรายได้ต่ำกว่า 3 หมื่นบาทต่อเดือน ซึ่งเป็นกลุ่มเดิม ๆ ที่เคยช่วยเหลือมาก่อนกลับมาเป็นเอ็นพีแอลใหม่ กลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจ

ฟื้นตัวไม่ทั่วถึง และหนี้เสียจากการเช่าซื้อรถยนต์ เพราะราคารถมือสองปรับตัวลงแรง โดยปีที่ผ่านมาราคารถมือ 2 ลดถึง 50% แม้ปีนี้จะเริ่มนิ่งแล้วแต่ราคายังต่ำอยู่ ยอดคงค้าง NPL อยู่ที่ 5.40 แสนล้านบาท คิดเป็น 2.84% ของยอดสินเชื่อรวม

สิ่งที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดคือสัดส่วนสินเชื่อที่มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของความเสี่ยงด้านเครดิตต่อสินเชื่อรวม(Significant increase in credit risk :SICR) หรือ stage 2 ลูกหนี้ที่ค้างชำระต้นเงิน หรือดอกเบี้ยเป็นระยะเวลารวมกันเกินกว่า 1 เดือน นับแต่วันถึงกำหนดชำระ แต่ไม่เกิน 3 เดือน นับแต่วันถึงกำหนดชำระ อยู่ที่ 6.50% เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน จากสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่และสินเชื่ออุปโภคบริโภค จากประสบการณ์ในการอำนวยสินเชื่อในธนาคารพาณิชย์หลายสิบปี มีลูกหนี้น้อยรายที่่จะกลับมาเป็นลูกหนี้ใน Stage 1 ยิ่งภาวะเศรษฐกิจไม่ดี ลูกหนี้กลุ่มนี้จะเปลี่ยนเป็นลูกหนี้ Stage 3 คือเป็นลูกหนี้เอ็นพีแอล คาดว่าในไตรมาสที่ 3 เอ็นพีแอลจะเพิ่มสูงขึ้น 

สอดคล้องกับการประมาณการของบริษัท ทริส เรทติ้ง ที่ระบุว่าสินเชื่อของกลุ่มธนาคารพาณิชย์จะเติบโตต่ำกว่า 2% ในปี 2567 จากการที่หลายธนาคารต่างเพิ่มความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ ให้กับกลุ่มลูกค้าที่มีความสามารถในการชำระหนี้ลดลง ได้แก่ กลุ่ม SME และรายย่อย โดยเฉพาะสินเชื่อรถยนต์และสินเชื่อบ้าน ขณะที่สินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัลยังเผชิญปัญหาหนี้เสียและการเติบโตที่เชื่องช้า โดยมีอัตราส่วนสินเชื่อที่เป็น NPL เฉลี่ยเกิน 10%

ในขณะที่ภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันยังมองไม่เห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ มองไปทางไหนก็เต็มไปด้วยปัญหา การเบิกจ่ายงบประมาณที่ล่าช้า การจัดตั้งรัฐบาลเข้ามารับผิดชอบแก้ไขปัญหาทางด้านเศรษฐกิจที่ใช้เวลามาก ทีมเศรษฐกิจที่จะเข้ามาแก้ไขวิกฤติก็ขาดประสบการณ์

มาตรการของธนาคารแห่งประเทศไทยเหมือนให้ยาแก้ปวดในการช่วยเหลือลูกหนี้ ผมพึ่งได้ฟังวิสัยทัศน์ของผู้นำทางจิตวิญญาณของรัฐบาลพูดถึงการ Haircut ซึ่งธนาคารพาณิชย์หลายธนาคารได้ใช้เป็นแนวทางในการช่วยเหลือลูกหนี้ 

ทำอย่างไรถึงจะกระตุ้นธนาคารพาณิชย์ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่จะต้องรักษาผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น ช่วยเหลือลูกหนี้แล้วไม่ส่งผลกระทบในทางลบต่อผลการประกอบการ เป็นเรื่องที่ผู้เกี่ยวของต้องสุมหัวระดมสมองในการช่วยเหลือลูกหนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการ Haircut มาตรการพักชำระหนี้ หรือที่เรียกว่า Debt Moratorium วิกฤติปี 2567 มีความยุ่งยาก ซับซ้อนมากว่าปี 2540 มากมาย….