ร้านค้าปลอดภาษีในเมืองหนึ่งในรูปธรรม Shopping Tourism
ประเทศไทยมีแต่ฤดูการท่องเที่ยว แต่ยังไม่มีฤดูกาล'ชอปปิง'
จากข้อมูลของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ระบุว่านักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวประเทศไทยใช้จ่ายเงินวันละกว่า 4,000 บาทต่อคน และใน 4,000 บาท ประกอบด้วยค่าโรงแรม ค่าอาหาร เป็นส่วนใหญ่ ในจำนวนนี้มีค่าชอปปิง 1,200-1,500 บาทเท่านั้น
หากเราสามารถโอกาสเพิ่มโอกาสให้นักท่องเที่ยวมีทางเลือกจับจ่ายใช้สอยมากกว่าที่ควรจะเป็น อย่าคิดว่านักท่องเที่ยวเดินทางมาประเทศไทยเพื่อมาดูวัฒนธรรมหรือปูชนียสถาน หรือดูอะไรก็ตาม เพราะสิ่งเหล่านี้มาดูครั้งเดียวก็เลิกไปดูที่ประเทศอื่นๆ ต่อ แต่สิ่งที่จะจูงใจให้นักท่องเที่ยวมาประเทศไทยมาซ้ำ คือ การชอปปิง หากนักท่องเที่ยวมีเวลาน้อยก็ชอปปิง
Shopping Tourism นโยบายด้านการท่องเที่ยวเชิงชอปปิง
ได้กลายเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญของภาครัฐเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศได้จริง จากหลายประเทศที่นำมาใช้ทั้งในยุโรปและเอเชีย ตั้งแต่อดีต (ฮ่องกง สิงคโปร์ เป็นต้น) จนถึงปัจจุบันไม่เว้นแต่ประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ (จีนหรือญี่ปุ่น) ต่างก็ใช้นโยบายดังกล่าว
ญี่ปุ่นประเทศอุตสาหกรรมที่มีวินัยทางการเงินและการคลังที่เข้มแข็ง ได้นำ Shopping Tourism มาเป็นเครื่องมือในการกระตุ้นเศรษฐกิจ (จากภาวะเศรษฐกิจถดถอยของประเทศ)และได้สร้างความมั่งคั่งให้กับธุรกิจน้อยใหญ่ของประเทศ ด้วยการออกมาตรการต่างๆ เพื่อดึงดูดให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาใช้จ่ายในประเทศให้มากขี้น การงดเว้นค่าวีซ่า การสนับสนุนให้มีร้านค้าปลอดภาษีมูลค่าเพิ่มในเมืองเป็น 20,000 ร้านค้าในอีก 3 ปี ข้างหน้า เป็นต้น และเมื่อวันที่ 12 ม.ค. 2559 กระทรวงท่องเที่ยว ของประเทศญี่ปุ่นได้แถลงว่าถึงสิ้นปี2558 ยอดการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นเป็น 3.5 ล้านล้านเยน สูงว่าปี 2557 กว่า 1 ล้านล้านเยน แสดงให้เห็นว่านโยบายของรัฐบาลญี่ปุ่นในการกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวต่างชาติใช้จ่ายด้านการชอปปิงมากขึ้น มีส่วนสำคัญอย่างมากต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ
อีกตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจนคือ จีน ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ระดับโลก ได้ใช้นโยบาย Shopping Tourism มาหลายปี ดังจะเห็นได้จากการเปิดร้านค้าปลอดอากรในเมืองบนเนื้อที่กว่า 100,000 ตารางเมตรบนเกาะไหหลำ ถือเป็นร้านค้าปลอดอากรที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งเป็นแม่เหล็กดึงดูดนักช้อปจากในประเทศ และทั่วโลกให้บินมาที่เกาะแห่งนี้ และต้นเดือนก.พ.ที่ผ่านมา สำนักงานการท่องเที่ยวของประเทศจีนได้ประกาศภารกิจหลักที่จะต้องทำให้สำเร็จในปีนี้ คือการเพิ่มจำนวนร้านค้าปลอดอากรในเมืองให้มากขึ้น เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาท่องเที่ยวในจีน
นอกจากนั้นสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีแผนที่จะเปิดร้านค้าปลอดอากรในเมืองขนาด 37,000 ตารางเมตร และตั้งเป้าหมายเป็น "ศูนย์กลางการค้าใหม่ในอาเซียน" จะเห็นได้ว่าหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียต่างเห็นศักยภาพ และโอกาสของการนำ Shopping Tourism มาใช้เป็นแกนหลักในการดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจและไม่เฉพาะอุตสาหกรรมค้าปลีกเท่านั้นที่ได้รับประโยชน์โดยตรงอุตสาหกรรมข้างเคียงและอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆ ก็ได้ประโยชน์เป็นลูกโซ่อย่างทั่วถึงเช่นกัน ทั้งภาคการท่องเที่ยว ภาคการผลิต และภาคการบริการ
ร้านค้าปลอดภาษีในเมืองหนึ่งในรูปธรรม Shopping Tourism
ภาครัฐควรต้องผลักดัน Shopping Tourism หรือนโยบายด้านการท่องเที่ยวเชิงชอปปิงอย่างจริงจัง เพื่อเป็นกลไกในขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้ก้าวเดินไปได้ในภาวะที่กำลังซื้อในประเทศยังไม่ฟื้นขึ้นอย่างชัดเจน หนึ่งในรูปธรรมของนโยบายด้านการท่องเที่ยวเชิงชอปปิง ก็คือ การเปิดเสรีร้านค้าปลอดภาษี โดยเฉพาะการเพิ่มจำนวนร้านค้าปลอดภาษีในเมืองให้มากขึ้น ซึ่งจะเป็นทางเลือกให้กับนักท่องเที่ยวต่างชาติในการซื้อสินค้าและยังมีส่วนช่วยกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวต่างชาติได้มีการใช้จ่ายในประเทศให้มากมากขึ้นซึ่งจะส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆ อาทิ โรงแรม ที่พัก สปา ภัตตาคาร ร้านอาหาร ร้านจำหน่ายของที่ระลึก การคมนาคมขนส่งทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ เป็นต้น
ร้านค้าปลอดอากรในเมืองช่องทางสำคัญสินค้า SME
ร้านค้าปลอดอากรในเมืองเป็นประตูการขายให้กับผู้ประกอบการรายย่อย (SME) ได้มีโอกาสขายสินค้าท้องถิ่นและสินค้าแบรนด์ไทยให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติมากขึ้นอีกทั้งร้านค้าปลอดอากรในเมืองจะทำให้เกิดจากการจ้างงานเพิ่มขึ้นในทุกภาคส่วน ทั้งภาคการผลิตและการบริการ ส่งผลให้เกิดการกระจายรายได้ไปสู่ชุมชนต่างๆ ส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศให้มีความชัดเจนด้านการค้าเสรีของธุรกิจร้านค้าปลอดอากรสร้างรายได้ในเชิงภาษีอากรให้แก่ประเทศไทย (ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา/ภาษีเงินได้นิติบุคคล)