วิชาศึกษาทั่วไป การบ่มเพาะคุณค่ามนุษย์ศตวรรษที่ 21(จบ)
ความเดิมจากตอนที่แล้ว ได้กล่าวถึงกรอบแนวคิดวิชาศึกษาทั่วไป 4 ใน 8 ประเด็นย่อย ในการออกแบบการเรียนการสอนให้
สอดคล้องตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 (TQF : HEd) ทั้งการมีคุณธรรม การตระหนักในความเป็นไทย มีโลกทัศน์กว้างไกล และมีทักษะแสวงหาความรู้ตลอดชีวิต
สำหรับประเด็นที่ 5.การมีทักษะการคิดแบบองค์รวม
สถาบันอุดมศึกษาควรสร้างบัณฑิตที่มีความคิดแบบองค์รวม วิชาศึกษาทั่วไปจะต้องสร้างการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (critical thinking) เป็นเหตุเป็นผล(reasoning) คิดเชิงระบบ(systematic thinking) สร้างสรรค์(creativity) ทำงานอย่างอย่างสร้างสรรค์กับผู้อื่น(work creativity with others) กล้าที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่(openness and courage to explore) สร้างนวัตกรรม(creative production & Innovation) มีการริเริ่มสิ่งใหม่(initiative) เกิดไอเดียใหม่ๆ(idea generation) และสามารถนำไอเดียไปต่อยอด(idea design and retreatment)
- มีสำนึกสาธารณะ เป็นพลเมืองที่มีคุณค่าของสังคมไทยและสังคมโลก
สถาบันอุดมศึกษาควรสร้างบัณฑิตที่มีความฉลาดรู้ทางวัฒนธรรมและความเป็นพลเมือง(cultural and civic literacy) เพื่อการรักษาสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืนมีการรับรู้ทางสังคมและวัฒนธรรม(social and cultural awareness) สร้างทั้งความรับผิดชอบและผลงาน (responsibility and productivity) เกิดสำนึกรับผิดชอบและการสะท้อนป้อนกลับที่เป็นประโยชน์(responsiveness and constructive feedback)
สำหรับการเป็นพลเมืองดิจิทัลนั้นสิ่งที่ควรตระหนักคือเรื่องแอพพลิเคชันสำคัญเพื่อการใช้ชีวิตและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นสำหรับพลเมืองดิจิทัล การใช้แอพพลิเคชันเพื่อเสริมสร้างทักษะในการรักษาข้อมูลส่วนตัว(Privacy Management) ทักษะในการจัดสรรเวลาหน้าจอ (Screen Time Management) ทักษะในการรับมือกับการคุกคามทางโลกออนไลน์(Cyberbullying Management) ทักษะในการรักษาความปลอดภัยของตนเองในโลกออนไลน์ (Cybersecurity Management) และทักษะในการใช้เทคโนโลยีอย่างมีจริยธรรม (Digital Empathy) เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นในสังคมออนไลน์
7.มีความฉลาดรู้ทางเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัล
สถาบันอุดมศึกษาควรสร้างบัณฑิตที่มีลักษณะนิสัยความอยากรู้อยากเห็น(curiosity) จนถึงการลงมือสืบค้นจากสารสนเทศ(information discovery) สามารถตีความและวิเคราะห์ข้อมูล(interpretation & analysis) นำสิ่งต่าง ๆที่ได้มาสังเคราะห์และประมวลข้อโต้แย้ง (constructing arguments)ได้ มีลักษณะนิสัยที่ยืดหยุ่น(Flexibility) มีทักษะความร่วมมือ(collaboration) โดยเฉพาะความร่วมมือผ่านทางดิจิทัล (collaborate using digital media) สามารถใช้ดิจิทัลเพิ่มคุณค่าของชีวิตในศตวรรษที่ 21 ดิจิทัลเพื่อความมั่นคงปลอดภัย การบริหารจัดการไฟล์ข้อมูล การสร้างแบบสอบถาม การระดมความคิดเห็น การสร้างความสุขและสนุกกับสื่อดิจิทัล ประโยชน์ของความเป็นจริงเสริม(Augmented Reality หรือ AR) และคุณค่าในชีวิตประจำวัน การนำเสนองานโดยใช้สื่อดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ การแสดงผลงานดิจิทัลเชิงสร้างสรรค์
มีความรู้พื้นฐานระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligent: AI) เทคโนโลยีอัจฉริยะ สมองกลแบบแยกส่วน ระบบประมวลผล การวิเคราะห์ข้อมูล ระบบฐานข้อมูลแบบคราวด์ ระบบการสื่อสารข้อมูล ระบบการตัดสินใจ กระบวนการ วิธีการและการประยุกต์ใช้งานระบบปัญญาประดิษฐ์ การเรียนรู้ตลอดชีวิตโดยใช้ปัญญาประดิษฐ์เป็นฐาน กรณีศึกษาการสร้างชีวิตที่เป็นสุขและสนุกจากแพลทฟอร์มปัญญาประดิษฐ์
8.ใช้ภาษาในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ
สถาบันอุดมศึกษาควรสร้างบัณฑิตที่สามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยในส่วนของการสื่อสาร (communication) เริ่มจากการฟังอย่างมีประสิทธิภาพ (effective listening) ฝึกการสื่อสารโดยใช้สื่อดิจิทัล(communicate using digital media)สามารถสื่อสารได้แม้สิ่งแวดล้อมจะแตกต่างหลากหลาย(communicating in diverse environments) ฝึกการสนทนาและอภิปราย(engaging in conversation & discussion)รวมถึงการนำเสนอ(delivering oral presentation)อย่างมีบุคลิกภาพ(personality)ซึ่งผลลัพธ์การเรียนรู้ต่าง ๆ เหล่านี้จะเสริมสร้างให้บัณฑิตเป็นที่ต้องการของสังคมไทยและสังคมโลกได้อย่างสมบูรณ์ในศตวรรษที่ 21
ผลลัพธ์การเรียนรู้ต่างๆ เหล่านี้จะเสริมสร้างคุณค่าให้ผู้เรียนวิชาศึกษาทั่วไปเป็นที่ต้องการของอุตสาหกรรมรวมทั้งสังคมไทยและสังคมโลกได้อย่างสมบูรณ์เป็นมนุษย์ที่มีคุณค่าในศตวรรษที่ 21
ทั้งหลายทั้งปวงนี้เป็นความจำเป็นเร่งด่วนที่สถาบันอุดมศึกษาจะต้องบูรณาการและสร้างให้เกิดขึ้นโดยเร่งด่วนและรวดเร็ว