Listen Learn and Reflect

Listen Learn and Reflect

หนึ่งในความสำคัญของการเป็นผู้นำแห่งยุค 4.0 แบบ Positive Autocracy คือการ Listen Learn and Reflect รับฟัง เรียนรู้ และ ตริตรอง

ผ่านไป 3 ปีกว่าของการก้าวออกมาทำงานนอกประเทศ ได้ข้อคิดอะไรบ้าง? สรุปออกมาได้ 4 หมวดด้วยกัน เรื่องส่วนตัว เรื่องภาวะผู้นำ เรื่องคนไทย และเรื่องลูก

ข้อคิดสำหรับผู้นำสมอง

หมวดเรื่องส่วนตัว

Shifted my Environment ผมย้ายมาทำงานที่เคแอลเพราะต้องการเปลี่ยนแปลง เป็นการขยับ Environment ใน BASE Model เพราะผมไม่ใช่นักตั้งเป้าหมาย ไม่มีวินัยจะผลักดันตัวเอง ขาดความทะเยอทะยานเพื่อความสำเร็จเหนือผู้อื่น หากสิ่งที่มีคือความเข้าใจตัวเอง เพื่อเลือกใช้วิธีการ Lead Change ที่เหมาะสมกับผมที่สุด

Operated in Diversity การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่คือการฝึกทำงานกับคนหลากหลายประเภท หลากหลายความเชื่อ ประเพณี วัฒนธรรม ไม่เพียงที่มาเลเซียแต่หมายถึงทั้งภูมิภาค ASEAN ไปจนถึง Asia กระทั่งเปิดเพลงประกอบการสอนในห้องยังมีคนมากระซิบว่า ไม่เหมาะสม ไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่า สไตล์ของเพลงและเครื่องดนตรี มีผลด้านความเชื่อความนับถือทางศาสนา

Learned to be Simple and Practical ในปีแรก ผมได้รับฟีดแบ็คว่ามีความคิดดี แต่ซับซ้อนเกินไปปฏิบัติลำบาก ฝึกฝนอยู่สามปีกว่า จึงเรียนรู้ว่าสอนลึกแค่ไหนถึงพอดี สอนตื้นแค่ไหนจะน้อยไป บาลานซ์ระหว่าง Logic และ Emotion คือศาสตร์ซึ่งต้องจูนให้ลงตัว ในโปรแกรมที่เพิ่งจบไป ผู้เรียนเขียนว่า This programme has changed my perception on innovation. The best programme that I have ever attended because all the sessions were mind catching. Best of all, all the sessions are so interesting and engaging. Dr Thun has done a splendid job!”

หมวดเรื่องภาวะผู้นำ

Leadership is not Management มีสองข้อคิดหลัก หนึ่ง เราต้องแยกให้ออกระหว่างเรื่องภาวะผู้นำและเรื่องการจัดการ ผู้นำคือการนำตัวเองไปสู่อนาคตอันอยากเห็น การมีผู้ตามเป็นเพียงผลพลอยได้ สอง ผู้นำกับภาวะผู้นำไม่เหมือนกัน ผู้นำหมายถึงบุคคล และมักพ่วงมาด้วยตำแหน่งเหนือคนอื่น ๆ แต่ภาวะผู้นำเป็นสิ่งที่อยู่ข้างใน อย่าให้การที่เราไม่ได้เป็นผู้นำมาจำกัดภาวะผู้นำของตัวเอง

Positive Autocracy ผลการสำรวจในหนังสือเรื่อง Open Source Leadership (2017) โดย Rajeev Peshawaria CEO ของ Iclif Leadership and Governance Centre บอกว่า คนต้องการผู้นำที่เด็ดเดี่ยวกล้าตัดสินใจ มากกว่าผู้นำที่อะไรๆก็ต้องรอถามความคิดเห็นคนอื่น ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างเผด็จการ กับ Positive Autocracy คือ การมีคุณธรรมประจำใจ ความอ่อนน้อมถ่อมตน รับฟัง เรียนรู้ ตริตรอง และพร้อมให้อภัยให้โอกาสผู้ที่ทำงานด้วย

Stay true to your Values & Purpose เมื่อมีภาวะผู้นำแล้ว สิ่งสำคัญคือการปฏิบัติตาม Values and Purpose ของตัวเอง หมั่นไตร่ตรองว่าทุกการตัดสินใจนั้นสอดคล้องกับสิ่งที่เราให้ความสำคัญและเป้าหมายหรือเปล่า บางเรื่องเราก็เซย์เยส แต่หลายๆเรื่องเราก็ต้องเซย์โน ลี กวน ยู อดีตผู้นำของสิงคโปร์บอกว่า When the answer is a no, then it must remain a no. But the person must be told politely. There’s nothing wrong by being polite.”

หมวดเรื่องคนไทย

English English English เมื่อก่อนเคยรู้ว่า ภาษาอังกฤษไม่ใช่จุดแข็งของคนไทย แต่พอออกมาทำงาน Out-of-Thailand ตระหนักเลยว่ามันคือจุดอ่อน การพูดภาษาอังกฤษในโลกปัจจุบันนี้ไม่ใช่แค่ฟัง พูด อ่าน เขียน ตอบนายได้ตอบอีเมลได้ แต่มันคือความสามารถในการ ‘เถียง’ เป็นภาษาอังกฤษ ถ้ายังไม่ถึงจุดนั้น เรายังสู้ อินเดีย มาเลย์ สิงคโปร์ ฯลฯ ไม่ได้

Non-Thai Classroom วิธีฝึกฝนคือเราต้องหยุดเรียนรู้กับคนไทยด้วยภาษาไทยและวิถีแบบไทยๆ อยากเก่งต้องกล้า ผมชื่นชมองค์กรล่าสุดในเมืองไทยที่เพิ่งทำงานด้วยมาก ๆ หลังจากวันแรกสอนภาษาไทย วันที่สองซีอีโอบอกผมว่า สอนภาษาอังกฤษเลยครับอาจารย์ ไม่รู้เรื่องก็เรียนจนกว่าจะรู้ ได้ใจจริง ๆ

Speak Up เถียงทันอย่างเดียวไม่พอ ต้องกล้าเถียงด้วย ความกล้าที่ว่าไม่ใช่เป็นทักษะหรืออารมณ์ แต่เป็นความมั่นใจใน Values and Purpose ของตนเอง เมื่อเรามีแก่นที่แข็งแรงแล้ว ต่อให้ภาษาไม่คล่องอย่างชาติอื่น เราก็สามารถยืนออกความเห็นได้ไม่ต้องกลัวใคร

หมวดเรื่องลูก

Global Citizenship เอาทั้งหมดข้างต้นมารวมกัน นั่นคือสิ่งที่ทั้งผมและเพชรพยายามขัดเกลาให้กับลูกทั้งสอง ถ้าใช้คำพูดของลุงธรณ์ ดร ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ คือ “เรียนรู้จากโลกโดยไม่ลืมรากเหง้า” มีแก่นของความเป็นคนไทย แต่อยู่ที่ไหนก็ได้ในสากล

หากให้ผมนั่งตรงนี้ สิ้นปี 2019 แล้วนึกย้อนไป ก็สรุปได้ประมาณที่เขียนมา

คุณผู้อ่านล่ะครับ ถ้าลอง Listen Learn and Reflect ย้อนไป จะได้อะไรออกมาบ้าง?