สิทธิเกษตรกร UPOV กับข้อตกลงระหว่างประเทศอื่นๆ
เท่าที่ผ่านมา เมื่อกล่าวถึง CPTPP ก็มักจะกล่าวถึง UPOV ว่าจะริดรอนสิทธิเกษตรกร โดยเฉพาะการเก็บเอาผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้ส่วนหนึ่ง
เพื่อใช้เป็นพันธุ์สำหรับการเพาะปลูกในฤดูกาลถัดไป แต่ว่า เท่าที่กล่าวถึงก็จะเป็น UPOV เฉยๆ โดยที่ไม่ระบุว่าเป็น UPOV ปีใด และไม่ครอบคลุมข้อตกลงระหว่างประเทศอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอาจมีข้อกำหนดที่แตกต่างออกไป
Oshima (2012) ได้รวบรวมข้อตกลงต่างๆ ที่ว่าด้วยการปกป้องคุ้มครองพันธุ์พืชตามลำดับ เวลา พร้อมกับชี้ให้เห็นข้อแตกต่าง Okawa, Niino, Shirata and Nagamine (2012) ได้รวบรวมข้อตกลงในลักษณะเดียวกัน แต่พยายามแบ่งให้เห็นระหว่างสิทธิบัตรพันธุ์พืชกับสิทธิเกษตรกร พร้อมกับพยายามชี้ให้เห็นถึงส่วนที่ไม่ชัดเจนหรือคลุมเครืออยู่ อาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า ข้อตกลงต่างๆ จนถึงปัจจุบันนี้ได้ดูแลตอบสนองต่อข้อห่วงใยทั้งของฝ่ายเจ้าของสิทธิบัตรและฝ่ายเกษตรกร ดังที่จะได้บรรยายต่อไป
คำว่า UPOV ที่มักกล่าวถึง หมายถึงข้อตกลงทั้ง 3 ฉบับคือ ปี 1961, 1978 และ1991 ที่มีหลักการเพื่อปกป้องพันธุ์พืชใหม่ เพื่อรับรองสิทธิระหว่างประเทศของผู้พัฒนาสายพันธุ์ แต่ว่ามีเพียง 2 ฉบับหลังเท่านั้นที่มีประเทศร่วมลงนามจำนวนมากเพียงพอ ในปัจจุบันนี้ สมาชิกของ UPOV 78 มี 23 ประเทศและ UPOV 91 มี 45 ประเทศ ข้อตกลงทั้ง 2 ฉบับนี้ให้สิทธิแก่ผู้พัฒนาสายพันธุ์ในรูปของทรัพย์สินทางปัญญาที่มีสิทธิเบ็ดเสร็จเด็ดขาดเป็นระยะเวลาหนึ่ง พันธุ์พืชใหม่จะจดทะเบียนได้ เมื่อแสดงให้เห็นว่ามีความใหม่ แตกต่าง สม่ำเสมอ และ มีเสถียรภาพ สิทธิผู้พัฒนาสายพันธุ์ จะครอบคลุมเหนือกิจการใดๆ ในทางธุรกิจ อันได้แก่ การผลิตพืชพันธุ์ การจ่ายโอน การส่งออกและการนำเข้า ส่วนที่ไม่ได้อยู่ภายใต้ขอบข่ายของสิทธิพันธุ์พืชนี้ได้แก่ การพัฒนาพันธุ์พืช (ที่ไม่ใช่การแตก พันธุ์ย่อย) และ การเพาะปลูกของเกษตรกรเป็นการส่วนบุคคล แต่ว่าจำนวนพันธุ์พืชที่อยู่ภายใต้การปกป้องคุ้มครองของ UPOV 78 มี 24 สายพันธุ์ และ UPOV 91 ครอบคลุมพืชทุกชนิดและ ระยะเวลาคุ้มครองเปลี่ยนจาก 15 ปี ใน UPOV 78 เป็น 20 ปีใน UPOV 91
การเพาะปลูกของเกษตรกรเป็นการส่วนบุคคล มักจะหมายรวมถึงการเก็บผลผลิตไว้ส่วนหนึ่ง เพื่อเป็นพืชพันธุ์สำหรับการเพาะปลูกในฤดูกาลถัดไป แต่ว่า UPOV 78 ไม่ได้กล่าวถึงรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยเฉพาะในแง่ของการแลกเปลี่ยนระหว่างเกษตรกรด้วยกัน ซึ่งหมายถึงว่าทำได้ ดังตัวอย่างของประเทศอินเดียที่เกษตรกรได้มาซึ่งพืชพันธุ์จากวิธีนี้ถึงประมาณ 90% เลยทีเดียว ส่วน UPOV 91 มีข้อกำหนดที่ไม่ให้มีข้อยกเว้นตามใจชอบและที่เป็นการปกป้องผลประโยชน์ของเจ้าของพันธุ์พืช ตัวอย่างเช่น EU กำหนดเป็นหลักการไม่ให้มีการขยายพันธุ์พืช ยกเว้นพืช 21 ชนิดที่เกษตรกรมีหน้าที่จะต้องชำระเงินชดเชยให้แก่เจ้าของพันธุ์พืชในกรณีที่จะขยายพันธุ์พืช แต่ยก เว้นเกษตรกรรายเล็กบางส่วนให้ไม่ต้องทำเช่นนั้น นอกจากนี้ เกษตรกรที่ต้องการขยายพันธุ์จะต้องกระทำในที่นาของตนเองเท่านั้น จะนำไปแลกเปลี่ยนไม่ได้ อย่างไรก็ตาม UPOV 91 ไม่ครอบคลุม กิจการส่วนตัวที่ไม่ได้ทำในเชิงพาณิชย์ ดังนั้น ประเทศที่เกษตรกรยังคงเพาะปลูกพันธุ์พืชโดยการแลก เปลี่ยนจึงหยุดลงเพียง UPOV 78
กำเนิดของ UPOV 78 นำมาซึ่งความพยายามของฝ่ายเกษตรกร ที่ต้องการให้มีข้อตกลง เพื่อปกป้องสิทธิเกษตรกรในลักษณะคล้ายกันบ้าง โดยอ้างว่าพันธุ์พืชเท่าที่มีอยู่ในโลกนี้เป็นผลสืบเนื่องจากการพัฒนา คัดเลือก และ ขยายพันธุ์ของเกษตรกรมาเป็นระยะเวลายาวนาน ไม่ใช่สิ่งที่มีอยู่เองตามธรรมชาติ ผู้พัฒนาสายพันธุ์ในยุคใหม่โดยเฉพาะเชิงพาณิชย์เป็นเพียงผู้ที่มีส่วนเพิ่มเติมเท่านั้น ในปี 1983 ที่ประชุมใหญ่ของ FAQ ได้มีมติที่เรียกว่า International Undertaking on Plant Genetic Resources (IU) แต่ด้วยเหตุที่ยังมีข้อขัดแย้งระหว่างประเทศโดยเฉพาะฝ่ายสหรัฐ มตินี้จึงยังไม่เป็นข้อตกลง/สนธิสัญญา ทั้งนี้เนื่องจากที่ประชุมมีความเห็นว่า Plant Genetic Resources for Food and Agriculture (PGRFA) ถือเป็นทรัพย์สินร่วมกันแห่งมวลมนุษย์ชาติที่ ครอบคลุม 1) พันธุ์พืชที่เพาะปลูกในปัจจุบันนี้และที่พัฒนาขึ้นใหม่ 2) พันธุ์พืชที่ไม่มีการเพาะปลูกแล้ว 3) พันธุ์พืชที่มีแต่ดั้งเดิม 4) พันธุ์พืชตามธรรมชาติที่สายพันธุ์ใกล้เคียงกัน 5) พันธุ์พืชที่อยู่ระหว่าง พัฒนา เนื่องจากพันธุ์พืชใหม่เป็นส่วนหนึ่งของคำจำกัดความข้างต้น ประเทศที่มีธุรกิจพันธุ์พืชจึงไม่เข้าร่วมด้วยเกรงว่าผลประโยชน์จะได้รับผลกระทบ หลังจากนั้น FAO ได้ดำเนินการเพื่อให้ IU มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น จึงมีมติในปี 1989 ว่า การเข้าถึงพันธุ์พืชโดยเสรีไม่ได้หมายความว่า ไม่ต้องชำระราคา และในปี 1991 ให้จัดตั้งกองทุนระกว่างประเทศเกี่ยวกับ PGRFA นอกจากนี้ ยังมีการขยายความคำว่า “สิทธิเกษตรกร” ให้หมายถึงสิทธิเกษตรกรที่มีต่อคุณูปการของเกษตรกรที่มี ในการรักษาทรัพยากร และการปรับปรุง/การใช้ประโยชน์แห่งพันธุกรรมพืชทั้งอดีต ปัจจุบัน และ อนาคต โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่นเดิมหรือท้องถิ่นที่มีการเปลี่ยนแปลงของพันธุ์พืช
ในปี 1992 FAO มองเห็นความจำเป็นที่จะต้องแก้ไข IU ให้สอดคล้องกับโครงสร้างระหว่างประเทศ (โดยเฉพาะ UPOV 1991) ในเชิงของการใช้ประโยชน์และการรักษา PGRFA และนำไปสู่ Convention on Biological Diversity (CBD) ซึ่งรับรองสิทธิแห่งอธิปไตยที่มีต่อทรัพยากรธรรมชาติของแต่ละประเทศ และกำหนดหลักเกณฑ์การปฏิบัติงานที่เป็นรูปธรรมอันเกี่ยวข้องกับการเข้าถึงและการแบ่งปันผลประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งครอบคลุม Prior Informed Consent (PIC) และ Mutually Agreed Terms (MAT) แต่ว่าหลักเกณฑ์นี้ยังไม่มีผลผูกพันจนกระทั่ง พิธีสารนาโกยาในปี 2010 ซึ่งสหรัฐไม่ได้เข้าร่วมตามเคย
ในระหว่างนั้นการดำเนินงานเกี่ยวกับ PGRFA ของ FAO ยังคงมีอยู่ต่อไป โดยได้กำหนดเพิ่ม เติมเรื่อง 1) การจัดตั้งกองทุนระหว่างประเทศ 2) ภูมิปัญญาชาวบ้าน (Traditional Knowledge or TK) และประเพณีปฏิบัติของเกษตรกร 3) การเข้าถึงและการแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่างประเทศ (Access and Benefit Sharing or ABS) ในส่วนของภายในประเทศนั้น ได้ขอให้มี 1) การปกป้องคุ้มครอง ประเพณีปฏิบัติของเกษตรกรอันเกี่ยวกับการเก็บเมล็ดพันธุ์ เช่น การแลกเปลี่ยน 2) การขจัดอุปสรรค ที่มีต่อประเพณีปฏิบัติที่ว่าด้วยระบบทรัพย์สินทางปัญญาและกฏหมายว่าด้วยเมล็ดพันธุ์ 3) การปก ป้องคุ้มครองกลุ่มเกษตรกรและ/หรือท้องถิ่น อันว่าด้วย PGRFA และ TK 4) การจัดตั้งระบบ ปกป้องคุ้มครองเป็นพิเศษต่อผลประโยชน์และการแบ่งปันที่เกิดจากการใช้ PGRFA 5) การผลักดัน การวิจัยพัฒนาขีดความสามารถเกษตรกรว่าด้วย TK 6) การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเกษตรกร/ ชุมชนท้องถิ่นในขั้นตอนของการกำหนดและดำเนินนโยบาย
ที่มา: 大川雅夫 新野孝雄 白田和人 長峰 司 (2012) “農民の権利に係る国際状況と我が国の現状に対する提言”, 育種学研究, 14: 1-8.
大島立大 “育成者の権利 と 農民の権利”, 農林水産省 食糧局 新事業創出課 課長補佐(国際企画班), 平成24年11月22日, ppt, 21p.