โครงสร้างระบบสถาบันการเงินโลก นัยสำคัญเชิงนโยบายสำหรับไทย(1)
โครงสร้างระบบสถาบันการเงินเป็นเรื่องที่น้อยคนนักจะเข้าใจและให้ความสำคัญ
แม้แต่ผู้ที่เรียนเศรษฐศาสตร์ด้วยกันเองไม่ต้องพูดถึงเลยว่ารัฐบาลหรือนักการเมืองจะเข้าใจในเรื่องพวกนี้ดังนั้นเรื่องนี้จึงถูกปล่อยให้หน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงว่ากันไปไม่ว่าหน่วยงานนี้จะไปในทางที่ดีหรือไม่ดีบุคคลภายนอกไม่มีโอกาสรู้ได้แต่ว่าโครงสร้างของระบบสถาบันการเงินมีผลกระทบต่อระบบการเงินของประเทศ หน่วยเศรษฐกิจที่ด้อยโอกาสจะมีโอกาสเข้าถึงสถาบันการเงินหรือไม่เพียงใดกลับไม่เป็นที่สนใจ
การศึกษาโครงสร้างระบบสถาบันการเงินของประเทศอื่น ๆ จึงเป็นช่องทางที่จะได้ทราบถึงระบบสถาบันการเงินที่เป็นข้อดีเพื่อจะได้หันมาพิจารณาระบบสถาบันการเงินของไทยเราบ้างและดูว่ามีโอกาสปรับปรุงประสิทธิภาพได้อย่างไร
Financial Stability Board (FSB) เป็นองค์กรที่ถูกจัดตั้งขึ้นภายหลังการประชุมจี 20 ในปี 2009 โดยมี Bank of International Settlement เป็นเจ้าภาพสนับสนุนองค์กรนี้ได้จัดทำภาพรวมของโครงสร้างระบบสถาบันการเงินของโลกทุกปีตลอดจนความเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา รายงานของ FSB ฉบับที่ใช้ในบทความนี้ลงวันที่ 19 มกราคม 2020 ซึ่งเปิดเผยทั่วไปบนเว็บไซต์
FSB ได้รวบรวมสินทรัพย์ทางการเงิน (Financial assets) ที่ถือโดยสถาบันการเงินของประเทศต่างๆทั่วโลกจำนวน 29 ประเทศแล้วสรุปเป็นข้อมูลดังที่แสดงใน Exhibit 2-1 Total global financial assets ณ. สิ้นปี 2018 มีจำนวน 378.9 ล้านล้านเหรียญสหรัฐอเมริกาที่ถือโดยสถาบันการเงินต่าง ๆ ได้แก่ Central banks (ธนาคารกลาง) Banks (ธนาคาร) Public financial institutions (ธนาคารรัฐ) Insurance (ประกันภัย) Pension funds (กองทุนบำเหน็จบำนาญ) OFIs หรือ Other financial intermediaries (สถาบันการเงินอื่นที่ไม่ใช่ธนาคาร) และ Financial auxiliaries (สถาบันที่ถือสินทรัพย์โดยไม่ได้เป็นเจ้าของ)
สิ่งที่จะชี้ให้เห็นก็คือสัดส่วนสินทรัพย์ทางการเงินที่ถือโดยธนาคารคือ 39.0% และถือโดย OFIs 30.2% ซึ่งหมายความว่าสถาบันการเงิน 2 ประเภทนี้มีความสำคัญที่สุดในระบบสถาบันการเงินของโลกสิ่งที่จะชี้ให้เห็นอีกอย่างหนึ่งคือสินทรัพย์ทางการเงินที่ถือโดย OFIs มีอัตราการขยายตัวต่อปีสูงสุดที่ 9.0% ในช่วง 2012-2017
OFIs ยังสามารถแจกแจงออกเป็นสถาบันการเงินประเภทต่าง ๆ ได้อีกตามที่แสดงใน Exhibit 2-7 ประเภทที่สำคัญที่สุดเห็นจะได้แก่ OIFs หรือ Investment funds other than MMFs & hedge funds ซึ่งมีมากทั้งปริมาณและอัตราการขยายตัวดังแสดงในรูปซ้ายและสามารถแตกย่อยออกเป็น Equity funds, fixed income funds (FIFs) และอื่น ๆ ที่อาจเป็นลูกผสมดังแสดงในรูปขวาสุด สินทรัพย์ทางการเงินพวกนี้คือสิ่งที่บริหารจัดการโดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนในไทยส่วนรูปกลางแสดงแนวโน้มและขนาดของสถาบันการเงินอื่นๆที่มีบทบาทน้อยลงไปสิ่งที่คุ้นเคยในไทยคือFincosหรือบริษัทเงินทุนและ REIT หรือ real estate investment trusts/real estate funds ซึ่งยังมีน้อยในไทย
เมื่อพิจารณาสินทรัพย์ทางการเงินที่ OFIs ในประเทศต่าง ๆ ถืออยู่ตามที่แสดงใน Exhibit 2-6 จะเห็นได้ว่าสหรัฐอเมริกามีส่วนแบ่ง 26% และจีนมีส่วนแบ่ง 10% สื่อตะวันตกมักจะกล่าวถึง shadow banking ของจีน (shadow banking นี้ก็คือ OFIs หรือ other financial intermediariesนั่นเอง) แต่มักจะกล่าวในเชิงเสียหายว่ามีการขยายตัวเร็วซึ่งก็จะเห็นได้จากรูปขวามือของ Exhibit เดียวกันแต่เมื่อเปรียบเทียบกับสหรัฐอเมริกาและอียูแล้วยังถือว่าขนาด OFIs ของจีนยังมีน้อยกว่ามากจึงมีศักยภาพที่ขยายตัวได้เมื่อเทียบจากขนาดของระบบเศรษฐกิจเพียงแต่จะต้องระมัดระวังในเรื่องความมั่นคงของสถาบันการเงินเท่านั้น
ธนาคารกับ OFIs อยู่ในระบบเศรษฐกิจเดียวกันมีความเกี่ยวข้องหรือไม่อย่างไร Exhibit 3-3 รูปซ้ายแสดงการระดมเงินทุนของธนาคารจาก OFIs ตามเส้นกราฟ Bank use of funding from OFIs และการเปิดความเสี่ยงหรือให้กู้ยืมแก่ OFIs ตามเส้นกราฟ Bank exposure to OFIs เส้นกราฟทั้งสองค่อนข้างไปทางเดียวกันรูปขวาแสดงความเกี่ยวข้องกับธนาคารในมุมมองของ OFIs เมื่อเปรียบเทียบรูปทั้งสองแล้วจะเห็นว่าสินทรัพย์ของ OFIs เกี่ยวข้องกับธนาคารในสัดส่วนร้อยละที่สูงกว่าความสัมพันธ์เช่นนี้มีลักษณะเดียวกันกับความสัมพันธ์ระหว่างธนาคารกับบริษัทเงินทุนของไทยในอดีตExhibit 3-8 แสดงการระดมแหล่งเงินทุนของ OFIs จากบริษัทประกันภัยและกองทุนบำเหน็จบำนาญโดยที่แหล่งแรกจะน้อยกว่าแหล่งหลัง