แผนการฟื้นตัวของสหรัฐฯ ในยุครัฐบาล Biden
เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2564 ที่ผ่านมา นายโจ ไบเดนได้เข้าร่วมพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาอย่างเป็นทางการ
โดยในเดือนมกราคมนี้ นอกจากสหรัฐฯ จะได้ประธานาธิบดีคนใหม่แล้วนั้น ยังได้รัฐสภาเสียงมากกลุ่มใหม่จากการเลือกตั้ง Georgia Run-Offs อีกเช่นเดียวกัน ส่งผลให้ปัจจุบันรัฐบาลสหรัฐฯ จึงเข้าสู่ Blue Wave อย่างเต็มตัว โดยมีประธานาธิบดีไบเดนนำ White House และมีพรรคเดโมแครตเป็นเสียงส่วนมากของทั้งวุฒิสภา (House of Senates) และสภาผู้แทนราษฎร (House of Representatives) โดยการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้นักวิเคราะห์ต่างมองว่ามีนัยสำคัญต่อ sentiment ตลาดด้านบวก โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรม Clean Energy (พลังงานสะอาด) และ Health Care (การแพทย์) และยังมีผลดีต่อมุมมองการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยรวมอีกด้วย
สำหรับผู้ที่ติดตามการเมืองสหรัฐฯ อย่างใกล้ชิด จะคุ้นเคยกับนโยบายของไบเดน – แฮริส ที่เน้นสนับสนุนการเติบโตอย่างยั่งยืนและอุตสาหกรรมพลังงานสะอาดกันอยู่แล้ว ดังนั้นจึงไม่แปลกที่การได้รับเลือกตั้งของไบเดนจะเป็นผลบวกต่ออุตสาหกรรมนี้ ซึ่งการผลักดันนโยบายนี้เริ่มเป็นรูปธรรมชัดเจนขึ้น เมื่อหนึ่งในคำสั่งแรกของประธานาธิบดีไบเดน นั้นคือการกลับไปเข้าร่วม Paris Agreement ซึ่งคือข้อตกลงระหว่างประเทศทั่วโลกเรื่องการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (climate change) และอุณหภูมิที่พุ่งขึ้นสูงของโลกอีกครั้ง อุตสาหกรรมพลังงานสะอาดซึ่งเป็นตัวผลักดันการสร้างพลังงานโดยลดมลภาวะจึงเป็นอุตสาหกรรมที่จะได้รับผลบวกจากนโยบายด้าน climate change โดยตรง
อีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่ได้รับความสนับสนุนเต็มที่จากรัฐบาลไบเดน คือ อุตสาหกรรมการแพทย์ (Health Care) ซึ่งภายในไม่กี่วันหลังจากที่ไบเดนรับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ อย่างเป็นทางการ ทาง White House ได้ออกคำสั่ง (Executive Orders) ออกมา 10 ฉบับ โดยส่วนมากให้ความสำคัญเกี่ยวกับการหยุดการแพร่ระบาด และการให้ความสนับสนุนงานวิจัยการรักษาโรค COVID-19 การจัดตั้งศูนย์ฉีดวัคซีน การจัดตั้งศูนย์ Testing และการใช้ Defense Production Act เพื่อสนับสนุนอุปสงค์ของอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีความจำเป็นต่อการควบคุมโรคระบาด เช่นการผลิตหน้ากาก รวมไปถึงการผลิตอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำ Testing ซึ่งอุตสาหกรรมที่ได้รับผลบวกโดยตรงมากที่สุดจึงเป็นกลุ่ม Medical Devices และ Biotech ในอุตสาหกรรม Health Care
นอกจากนี้ ประธานาธิบดีไบเดนยังประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ "American Rescue Plan" ชุดใหม่มูลค่า 1.9 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งในรายละเอียดจะครอบคลุมตั้งแต่การยืดระยะเวลาการจ่ายเงินชดเชยการว่างงาน การช่วยเหลือประชาชนเรื่องหนี้สินค่าเช่าบ้านและการเลื่อนการชำระหนี้ รวมไปถึงการออกงบช่วยเหลือบริษัทขนาดเล็ก เพิ่มจากโครงการ Paycheck Protection Program (PPP) จากการกระตุ้นในปีที่แล้ว รวมถึงประเด็นอื่น ๆ อีกมากมาย โดย sentiment ตลาดโดยรวมมองว่า การกระตุ้นในครั้งนี้หากออกมาได้ภายในเวลาที่ทันการณ์ จะสามารถสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในปีนี้ได้
นอกจากภาพรวมเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว sentiment ตลาดยังได้แรงสนับสนุนจากการเปลี่ยนรัฐบาล และยังมีผลบวกต่อตลาดเอเชียโดยเฉพาะในมุมของการออกนโยบาย เช่น นโยบายด้านต่างประเทศและการค้า นโยบายการคลัง และนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม โดยเมื่อเทียบกับในสมัยของทรัมป์ซึ่งมีการออกนโยบายแนว protectionism (นโยบายที่กีดกันทางการค้า) หรือการออก Executive Orders อื่น ๆ ที่ยากแก่การคาดเดาของตลาด ซึ่งสร้างความไม่แน่นอนก่อให้เกิดความผันผวนในตลาดสูงในวาระของทรัมป์ใน 4 ปีที่ผ่านมา การเปลี่ยนแปลงของรัฐบาลในครั้งนี้โดยรวมจึงเป็นผลดีต่อตลาดและสภาวะเศรฐกิจ
ปัจจุบัน บลจ. ไทยพาณิชย์ ได้มีนำเสนอกองทุนที่ลงทุนในสหรัฐฯ อย่างหลากหลาย โดยนักลงทุนสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการหาโอกาสเติบโตไปพร้อม ๆ กันกับการฟื้นตัวของสหรัฐฯ ในปีนี้ได้ อาทิเช่น กองทุนที่เน้นลงทุนในบริษัทกลางถึงใหญ่ที่มีแนวโน้มการเติบโตสูง กองทุนที่เน้นลงทุนในบริษัทขนาดเล็กถึงกลาง กองทุนที่มีนโยบายการลงทุนทั้งตลาดแบบ passive หรือในมุมอุตสาหกรรมที่ได้รับแรงสนับสนุนด้านบวก รวมถึงกองทุนที่เน้นลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรม Health Care เป็นต้น
ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยง และควรขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากผู้ประกอบธุรกิจก่อนทำการลงทุนก่อนตัดสินใจลงทุน สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและรับหนังสือชี้ชวนได้ทุกวันทำการ ได้ที่ SCBAM Call Center โทร.02-777-7777 กด 0 กด 6 หรือผู้สนับสนุนการขายทุกราย