ต้องมีเงินเท่าไหร่ ถึงจะใช้ชีวิตเกษียณที่ประเทศอื่นได้
สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกๆท่าน วันนี้เราจะลองมาสำรวจโลกกัน แต่จะเป็นการลองดูว่า ถ้าเราจะไปใช้ชีวิตหลังเกษียณในแต่ละประเทศเราจะต้องมีเงินหลังเกษียณเท่าไหร่
ก่อนจะตอบคำถามนี้ได้ เราต้องตอบคำถามแรกก่อนว่า ค่าใช้จ่ายต่อเดือน หลังเกษียณในแต่ละประเทศควรเป็นเท่าไหร่
เพื่อตอบคำถามนี้ในรูปแบบที่ง่ายๆ เราจะใช้ต่อเลขทางเศรษฐกิจมหภาคที่เรียกว่า GDP per capita หรือรายได้เฉลี่ยต่อหัว พูดง่ายๆ คือ รายได้ที่ประชาชนในแต่ละประเทศทำได้เฉลี่ยต่อคนนั่นเอง เราจะใช้ตัวเลขที่ได้นี้เป็นฐานในการคิดค่าใช้จ่ายหลังเกษียณ
เช่นในประเทศไทย ตัวเลขรายได้เฉลี่ยต่อหัวปี 2021 อยู่ที่ 7,066.19 บาท หรือ ประมาณเท่ากับ 240,250 บาทต่อปี (ที่อัตราแลกเปลี่ยนเท่ากับ 34 บาทต่อ1 ดอลลาร์) หรือคิดเป็นประมาณเดือนละ 20,020 บาท
ในขณะที่ตัวเลขรายได้เฉลี่ยต่อหัวของสหรัฐ ปี 2021 อยู่ที่ 70,248.60 หรือประมาณ 2,388,452.40 บาทที่อัตราแลกเปลี่ยนเดียวกัน หรือประมาณเดือนละ 199,037.70 บาท จะเห็นได้ว่าเราพอจะเปรียบเทียบตัวเลขเงินที่ต้องใช้ในแต่ละประเทศ
โดยอิงจากตัว รายได้เฉลี่ยต่อหัว แต่จากงานวิจัยพบว่า คนเรามักจะใช้เงินในช่วงหลังเกษียณน้อยกว่า ที่เคยใช้จ่ายในช่วงทำงาน นอกจากนั้นรายได้เฉลี่ยต่อหัวยังเป็นแค่ค่าเฉลี่ยทั้งประเทศ ซึ่งค่าใช้จ่ายอาจแตกต่างกันไปสำหรับแต่ละคน ขึ้นอยู่กับรสนิยม สังคม ถิ่นที่อยู่ (กรุงเทพและเมืองหลักกับต่างจังหวัด) เป็นต้น ดังนั้นจึงต้องมีค่าทวีคูณ เพื่อใช้ปรับค่าให้เหมาะกับแต่ละบุคคล
ค่าใช้จ่ายต่อคน = รายได้เฉลี่ยต่อหัว* ตัวทวีคูณ
เมื่อได้ค่าใช้จ่ายต่อคนแล้ว เราสามารถนำมาคำนวณหาเงินที่ต้องมีสำหรับการเกษียณในแต่ละประเทศได้ โดยหลายคนแนะนำให้เอาจำนวนปีที่ต้องการอยู่หลังเกษียณมาคูณ แต่ในชีวิตจริงเราควรนำเงินเกษียณของเราไปลงทุนต่อ แม้ว่าควรจะเสี่ยงน้อยลงแต่ก็ตาม ซึ่งทำให้การคำนวณมีความยุ่งยากเพิ่มขึ้น ดังนั้นเพื่อทำให้การคำนวณไม่ซับซ้อน เราจึงลองหาความสัมพันธ์ของสูตรการเกษียณลง
จากสูตร
Retirement Fund = Yearly Expense * [ { 1 – (1 + r) ^ - n } / r ]
โดยที่
Retirement Fund = เงินเกษียณที่ต้องมี
Yearly Expense = ค่าใช้จ่ายหลังเกษียณต่อปี
= รายได้เฉลี่ยต่อหัว* ตัวทวีคูณ
R = ดอกเบี้ยที่ได้จากการนำเงินเกษียณไปลงทุน
จากสูตรดังกล่าวเราลองมาหาค่าของพจน์หลังของค่าใช้จ่ายหลังเกษียณต่อปี ซึ่งจะขอเรียกว่า ตัวคูณเกษียณ โดยกำหนดให้จำนวนปีหลังเกษียณเท่ากับ 30 ปี และทำการคำนวณหาตัวคูณเงินเกษียณ ดังกล่าวตามค่าของดอกเบี้ยจากการลงทุน ซึ่งอาจแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ จะได้ตัวคูณเกษียณ ดังนี้
จะเห็นได้ว่าค่าตัวคูณเกษียณจะลดลงหากอัตราดอกเบี้ยที่เรานำเงินเกษียณไปลงทุนต่อเพิ่มขึ้น ซึ่งก็เป็นไปตามตรรกที่ควรจะเป็น แต่หากเราจะนำตัวเลขไปใช้แบบง่ายๆ การลงทุนหลังเกษียณน่าจะให้ผลตอบแทนประมาณ 3% ดังนั้นตัวคูณเกษียณก็จะเท่ากับ 19.6 หรือปัดเป็นกลมๆจะเท่ากับ 20 นั่นหมายความว่าต่อจากนี้ไปถ้าเรารู้ว่าเราอยากใช้เงินหลังเกษียณเท่าไหร เราสามารถนำ 20 ไปคูณก็จะได้มูลค่าเงินเกษียณที่ต้องเตรียมเอาไว้ได้เลย
เมื่อได้วิธีคิดดังกล่าวเราลองมาดูตัวเลขเงินเกษียณที่ต้องมีหากเราต้องการไปใช้ชีวิตหลังเกษียณในประเทศต่างๆดังนี้
จากตารางช่องสุดท้ายเป็นตัวเลขเงินเกษียณที่ต้องมี โดยเราได้ใส่ค่าทวีคูณของไทยที่ 1.5 ,สปป.ลาว 2 ,สหรัฐ สิงคโปร์ อังกฤษที่ 0.7 ซึ่งแม้ว่าปรับค่าทวีคูณแล้วจะเห็ฯได้ว่าการใช้ชีวิตหลังเกษียณที่ 3 ประเทศหลังเราจะต้องเตรียมเงินหลังเกษียณเอาไว้ค่อนข้างสูง เช่น 33 ล้านบาทหรือประมาณ 1 ล้านดอลลาร์ สรอ
บทความนี้น่าจะมีประโยชน์ 2 ประการคือการทำให้การคำนวณหาเงินที่ต้องมีหลังเกษียณทำได้ง่ายขึ้น และได้แนวคิดกว้างๆสำหรับการเกษียณในแต่ละประเทศ
ท้ายสุดนี้ผมก็ขออวยพรให้ผู้อ่านทุกๆท่านมีความสุขโชคดีในการลงทุนครับ